SSCA สนามบินปอยเปตของกัมพูชายังอยู่ระหว่างการศึกษา

งานเกี่ยวกับโครงการสนามบินปอยเปตยังไม่เริ่มแม้รัฐบาลจะอนุญาตให้มีการพัฒนามาแล้วปีกว่าก็ตาม โดยการตรวจสอบกับสำนักเลขาธิการการบินพลเรือน (SSCA) เปิดเผยว่านักลงทุนที่ได้รับอนุญาตให้พัฒนาสนามบินแห่งแรกของจังหวัดยังไม่เริ่มดำเนินการ ซึ่งการลงทุนสนามบินปอยเปต (PAI) ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้กลับมาดำเนินการในสนามบินเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว โดยผู้ว่าการปอยเปตกล่าวกับสื่อท้องถิ่นก่อนหน้านี้ว่าสนามบินปอยเปตแห่งใหม่จะถูกสร้างบนพื้นที่ 300 เฮกตาร์ในชุมชนนิมิธของปอยเปตห่างจากตัวเมือง 13 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าโครงการจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐในการก่อสร้าง โดย PAI ได้รับอนุญาตให้สร้างสนามบินในปี 2550 เป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้รับการแก้ไขเนื่องจากเกิดวิกฤตการเงินโลกปี 2551 ซึ่งบริษัทตัดสินใจที่จะรื้อฟื้นโครงการพลังจากเห็นศักยภาพในการพัฒนาของเมืองปอยเปตซึ่งเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญ โดยทางสนามบินถูกออกแบบมาสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และคาดว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของปอยเปตและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งติดอยู่กับประเทศไทย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50649492/ssca-poipet-airport-still-under-study/

ไทยถูกหวยสงครามการค้า 26 รายการขี่ม้าขาวดันส่งออกโค้งสุดท้ายปีนี้

“พาณิชย์” เผยผลวิเคราะห์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนต่อการค้าไทยในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ และรอบใหม่ที่เริ่ม 1 ก.ย.ที่ผ่านมา พบไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ตลาด ซึ่งสินค้าที่ส่งออกได้ดี ทดแทนสินค้าจีนในสหรัฐฯ และทดแทนสินค้าสหรัฐฯในจีน มีกว่า 26 รายการ แนะไทยเร่งส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ให้ได้เพิ่มมากขึ้น เพิ่มยอดส่งออกโค้งสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งผลกระทบจากสงครามการค้า ทำให้สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนลดลงจากสัดส่วน 20.51% ใน 6 เดือนของปีที่ผ่านมาเหลือ 18.02% ในช่วงเดียวกันของปีนี้ โดยสินค้าของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกทดแทนในตลาดสหรัฐฯและจีน ภายใต้มาตรการตอบโต้ที่สหรัฐฯขึ้นภาษีจีน 250,000 ล้านเหรียญ และจีนตอบโต้สหรัฐฯ มูลค่า 110,000 ล้านเหรียญ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว พบว่าสินค้าไทยที่ส่งออกไปทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯเพิ่มขึ้น เช่น ปลานิลแช่แข็ง กุ้งและปลาหมึกแช่แข็ง เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ที่ไม่ใช่น้ำผักและผลไม้) และสินค้าที่ไทยส่งออกไปทดแทนสินค้าสหรัฐฯ ในตลาดจีน เช่น น้ำแอปเปิ้ล น้ำผึ้ง แป้ง ผงที่ทำจากพืช กระดาษแข็ง เครื่องแก้วสำหรับใช้ในครัวเรือนหรือรวมทั้งสองตลาดกว่า 26 รายการ

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1679366

ไทยหล่นดัชนีแข่งขันโลก

คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้ประกาศดัชนีขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกของสภาเศรษฐกิจโลก วัดความสามารถทางการแข่งขันจาก 141 ประเทศทั่วโลก พบว่าในปีนี้ประเทศไทยมีค่าดัชนีความสามารถทางการแข่งขันดีขึ้นจาก 67.5 คะแนนในปีที่ผ่านมา มาที่ 68.1 คะแนนในปีนี้ แม้คะแนนจะดีขึ้น แต่อันดับของไทยก็ลดลง 2 อันดับมาอยู่ที่ 40 จากปีที่ผ่านมาที่อยู่อันดับ 38 เนื่องจากมีประเทศอื่นๆที่ทำคะแนนได้ดีกว่าและขยับแซงหน้าไทย ทำให้อันดับของไทยลดลง ขณะที่ประเทศอื่นๆในอาเซียนพบว่า มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 27 ของโลก หล่นลงมา 2 อันดับ อินโดนีเซีย หล่นลงมา 5 อันดับ รั้งที่ 50 ของโลก ขณะเดียวกันก็ได้ยกให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจสูงที่สุดของโลก แซงหน้าสหรัฐฯจากปีที่แล้ว จากความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลาดแรงงาน และการพัฒนาระบบการเงิน ส่วนรองลงมาประกอบด้วย สหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สวีเดน สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ตามลำดับ ขณะที่เวียดนามพบว่าเป็นประเทศในอาเซียนที่มาแรงที่สุด แซงขึ้นมา 10 อันดับ ขึ้นจากอันดับที่ 77 ของปีก่อนมาอยู่ที่อันดับ 67 ของโลก.

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1679351

รายงาน : บริษัทอาหารและเครื่องดื่มเวียดนาม 10 อันดับแรกในปี 2562

จากรายงานทางการเวียดนาม ณ วันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าบริษัทอาหารและเครื่องดื่มเวียดนามที่มีชื่อเสียง 10 บริษัท โดยบริษัทที่ได้รับการประเมินจะจัดอันดับตามหลักเกณฑ์ 3 หลัก ดังนี้ ความสามารถทางการเงินตามรายงานการบัญชี และความน่าเชื่อถือของการเข้าถึงสื่อ เช่น สื่อโฆษณา เป็นต้น รวมไปถึงผลการสำรวจเกี่ยวกับความพึงพอใจจากการที่ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจผู้บริโภคในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่ผู้บริโภคเลือก ได้แก่ Vissan (อาหารสด), Cai Lan (เครื่องเทศและน้ำมันไว้ทำอาหาร), Heineken (เบียร์และไวน์), Vinamilk (นม) และ Acecook (อาหารกระป๋องและบรรจุภัณฑ์) เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ตามรายงานดังกล่าว ระบุว่าการสื่อสารมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงได้ดีขึ้น และทำการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น แต่ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มเวียดนามส่วนใหญ่ระมัดระวังในการใช้สื่อ เพราะว่าขาดการควบคุมข้อมูล

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7999802-vietnam-report-top-10-food-beverage-companies-in-vietnam-2019.html

“WEF” จัดขีดแข่งขันเวียดนามปี 62 ดีขึ้น ก้าวกระโดด 10 อันดับ

จากรายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum : WEF) เปิดผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ปี 2562 ระบุว่าเวียดนามก้าวมาอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลก สามารถทำคะแนนรวมได้ 61.5 คะแนน จากทั้งหมด 100 คะแนน แสดงให้เห็นว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และพร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางค้าในภูมิภาค ในขณะเดียวกัน เวียดนามอยู่ในความเสี่ยงต่ำที่สุดของด้านการก่อการร้าย และมีเสถียรภาพทางด้านอัตราเงิน ในส่วนของสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองและการค้านั้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเกิดภาวะชะลอตัวทางการค้า นอกจากนี้ ประเทศสิงคโปร์มีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก ได้คะแนน 84.8 คะแนน ซึ่งสามารถล้มแชมป์เก่า คือ สหรัฐอเมริกาได้ และจากรายงานดังกล่าว แนะนำให้สิงคโปร์จำเป็นต้องส่งเสริมผู้ประกอบการ และพัฒนาทักษะเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-up-10-places-in-global-competitiveness-index/161767.vnp

ความเสียหายจากน้ำท่วมในนาข้าวปีนี้ผลกระทบน้อยกว่าปีที่แล้ว

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน (MOALI) ระบุว่าพื้นที่นาข้าวกว่า 600,000 เอเคอร์ถูกน้ำท่วมขังในช่วงฤดูมรสุมในปีนี้ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 130,000 เอเคอร์หรือ 21% ที่ได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ที่เสียหายในปีนี้มีพื้นที่กว่า 30,000 เอเคอร์เหมาะสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดู จากข้อมูลของ MOALI คาดว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะลดลง 700,000 ตัน  การเพาะปลูกข้าวมากกว่า 70% อยู่ในช่วงฤดูมรสุม ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่พะโคและอิรวดี แต่ความเสียหายของปีนี้น้อยกว่าเมื่อปีที่แล้ว ในปี 61 พื้นที่นาข้าวมากกว่า 1,300,000 เอเคอร์ถูกน้ำท่วมเสียหายกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/less-flood-damage-local-paddy-fields-year-moali.html

ปี 61 – 62 เมียนมาส่งออกข้าวถึง 691 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมียนมามีรายรับมากกว่า 691 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 2.29 ล้านตัน ใน 11 เดือนของปี 61-62 โดย 73% ของการส่งออกทั้งหมดผ่านทางทางทะเล การส่งออกข้าว 1.792 ล้านตันไปยัง 65 ประเทศคิดเป็น 559.894 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังส่งออกข้าวหัก 498,000 ตันไปยัง 41 ประเทศและมีรายได้ 132.139 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านการส่งออกข้าวไปยังตลาดอียูและแอฟริกาผ่านทางการค้าทางทะเลและจีนผ่านการค้าชายแดนมูเซเป็นหลัก ปริมาณส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านทำลายสถิติการส่งออกมากที่สุดในรอบห้าสิบปีเพราะมีการเปิดตลาดใหม่มากขึ้น สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) กำลังจัดการกับปัญหาที่ราคาตลาดที่ต่ำในปีนี้ เกษตรกรกำลังเผชิญกับความลำบากในการมีไซโล ระบบอบแห้งข้าวเปลือกและยานพาหนะที่จะใช้บรรทุกข้าว ก่อนหน้านี้มีเพียง 11 บริษัทที่ส่งออกข้าวไปจีนแต่ปัจจุบันมีมากกว่า 40 บริษัท

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-us691-m-from-rice-export-in-2018-19-fy

สปป.ลาวและเวียดนามวางแผนร่วมกันเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

สปป.ลาวและเวียดนามวางแผนที่จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้มากขึ้น ซึ่งสปป.ลาวและเวียดนามวางแผนที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้สำหรับโปรแกรมการท่องเที่ยว และพิจารณาวิธีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและตกลงที่จะตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกผู้เข้าชมที่เว็บไซต์ท่องเที่ยวเพื่อให้แน่ใจว่าเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยกันคือทัวร์กลุ่มที่เดินทางจากสปป.ลาวไปยังเวียดนามและในทางกลับกันการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่โฆษณาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและวิธีดึงดูดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวระบุว่ามีนักท่องเที่ยวมากกว่า 2.2 ล้านคนที่มาเที่ยวสปป.ลาวในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos224.php