กัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำที่สุดใน SEA

กัมพูชาสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเป็นประเทศที่อัตราภาษีต่ำที่สุดในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง Trading Economics เป็นแพลตฟอร์มทางสถิติเศรษฐกิจออนไลน์แสดงให้เห็นว่ากัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลต่ำเป็นอันดับที่สามในภูมิภาครองจากบรูไนและสิงคโปร์ โดยอัตราภาษีนิติบุคคลของกัมพูชาในปัจจุบันอยู่ที่ 20% ซึ่งเท่ากับอัตราภาษีไทยและเวียดนาม โดยสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคอยู่ที่ 17% รองลงมาคือบรูไนอยู่ที่ 18.5% ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศต่างกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่กัมพูชาจะต้องเสนออัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำหรือให้มีการแข่งขันกันเกิดขึ้น ตามรายงานจากภาครัฐ FDI ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงได้รับประโยชน์จากเขตภาษีที่ต่ำโดย FDI เพิ่มขึ้นจาก 62 พันล้านดอลลาร์ในปี 2560 เป็น 77 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 เทียบกับกัมพูชา 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647262/cambodia-has-one-of-the-lowest-corporate-tax-rates-in-sea/

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของนครโฮจิมินห์ เพิ่มขึ้น 7.26%

จากรายงานของสำนักอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของนครโฮจิมินห์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของภาคอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ วิศวกรรมการผลิต อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์พลาสติก และอาหารแปรรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่าสถานการณ์การค้าโลกอยู่ในภาวะการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง รวมไปถึงโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา ที่ล้วนส่งผลต่อการผลิตทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนครโฮจิมินห์ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานเมืองได้ตั้งเป้าหมายในการปฏิรูปการบริหาร รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) และพัฒนาการบริหารสาธารณะให้ดีขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ นวัตกรรม สตาร์ทอัพ และปัญหามลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในทิศทางที่ดีมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hcm-citys-industrial-production-index-up-726-percent-404055.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกไม้ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากรายงานสถิติของสำนักงานบริหารป่าไม้เวียดนาม (Vietnam Administration of Forestry) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ด้วยมูลค่า 7.932 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตลาดส่งออกหลักไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ของเวียดนาม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งประเทศดังกล่าว มีมูลค่ารวมกันเกือบ 6.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.4 ของมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้รวม ในขณะเดียวกัน เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงที่สำคัญกับสหภาพยุโรป ในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา รวมไปถึงข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) และข้อตกลงการคุ้มครองการลงทุนเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVIPA) ซึ่งเมื่อข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จะมีการลดภาษีนำเข้าทั้ง 2 ฝ่ายกว่าร้อยละ 99 ของสินค้านำเข้า และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายใน 7 ปี แต่ว่าบริษัทที่ทำธุรกิจไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้เวียดนาม ต้องได้ใบรับรองที่ออกโดยองค์กร FSC เพื่อที่จะสามารถเข้าตลาดกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้ และตลาดอื่นๆ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/wood-and-forestry-exports-hit-close-to-us8-bil-in-ninemonth-period-404037.vov

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาเพิ่มสูงสุดในอาเซียน

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาได้เพิ่มขึ้นในงอาเซียนในปีนี้ทำให้การส่งออกไปจีนลดลงหลังจากรัฐบาลหยุดการส่งออกข้าวโพดเป็นเวลาเก้าเดือนซึ่งเป็นความพยายามในการควบคุมการค้าผิดกฎหมายที่ชายแดนระหว่างสองประเทศ ไทยนำเข้า 400,000 ตันเทียบกับ 100,000 ตันในปีที่แล้ว การขนส่งไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 – 40,000 ตันในปีนี้จาก 10,000 ตันในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามการถูกห้ามนำเข้าของจีนทำให้พื้นที่เพาะปลูกปีนี้ลดลงเหลือ 323,000 เฮกตาร์จาก 404,000 เฮกเตอร์ รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมการเพาะปลูกและช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งความต้องการจากไทยช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปประเทศอื่น ๆ มีการปรับตัวลดลง แต่ก็ไม่ได้สูญเสียตลาดจีนไปซะทีเดียว เพราะจีนเคยซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของพม่าถึง 80% ปีที่แล้วส่งออกข้าวโพดจำนวน 1.67 ล้านตันไปยังจีน หากรวมการส่งออกที่ผิดกฎหมายอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านตัน ทุกปีเมียนมาผลิตข้าวโพดได้ประมาณ 3.2 ล้านตันจากพื้นที่ 607,000 เฮกเตอร์ โดยเฉพาะในรัฐฉานและเขตสะกาย และเขตมะกเว โดยรัฐฉานมีพื้นที่เพาะปลูกคิดเป็น 46% ของการเพาะปลูกข้าวโพดทั้งประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/asean-demand-myanmar-maize-rises.html

เฟสแรกของคอนโดระดับสูง เอมเมอรัลด์เบย์ จะแล้วเสร็จในปี 65

เฟสแรก ของคอนโดมิเนียมระดับสูง Emerald Bay ติดกับถนนวงแหวน Shukhintha ในเมืองตาคายา จะแล้วเสร็จในปี 65 และแผนจะรวมถึงท่าเรือยอร์ช โครงการนี้มูลค่าก่อสร้างอยู่ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 37 ไร่ เฟสที่ 1 จะรวมห้าโครงสร้างและจะส่งมอบในเดือน มี.ค.65 เฟสที่ 2 ในช่วงสามปีที่ผ่านมาจะรวมการก่อสร้างห้างสรรพสินค้า ปัจจุบันการขายอพาร์ทเมนท์อยู่ในช่วงขาลง แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะย่างกุ้งมีประชากรถึงเจ็ดล้านคน เอมเมอรัลด์เบย์คอนโดมิเนียมระดับสูงสามารถตอบรับกับโครงสร้างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่อาศัยที่มีรสนิยมและกำลังทรัพย์สูง โครงการคอนโดมิเนียมประกอบด้วยศูนย์การค้า ร้านค้า และสระว่ายและมีสวนสาธารณะให้พักผ่อนได้ด้วย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/phase-1-of-emerald-bay-high-class-condominium-to-be-completed-in-2022

กระทุ้งรัฐดันสกุลเงินบาท

ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย ในฐานะประธานกกร. เปิดเผยว่า ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐผลักดันสกุลเงินบาท หรือสกุลเงินท้องถิ่นซื้อขายในอาเซียน หรือเริ่มจากกลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค ลักษณะเดียวกับประเทศสิงคโปร์ แต่ต้องมีการหารือปรับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยให้ได้ ซึ่งปัจจัยจากค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก จึงอยากให้ผลักดันอย่างจริงจังกับการซื้อขายเป็นสกุลเงินบาทเพื่อลดผลกระทบ ได้หารือร่วมกับรมว.การท่องเที่ยวและกีฬาเห็นตรงกันว่าไทยควรลดภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้งใน อย่างไรก็ตาม กกร. มีมติปรับลดประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจในรอบปี เป็นครั้งที่ 4 โดยปรับลดประมาณการจีดีพี ปี 62 ลงเหลือ 2.7-3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9-3.3% การส่งออกคาดติดลบ 2% ถึง 0% จากเดิมคาดติดลบ 1 ถึง 1% และเงินเฟ้อคงอยู่ที่ 0.8-1.2% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแรง เผชิญปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า เบร็กซิต และทิศทางเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลกระทบตรงกับการส่งออก เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเดือน ก.ค. และ ส.ค. บ่งชี้ว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/62 อยู่ในภาวะที่อ่อนแรงอย่างต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรก มีปัจจัยถ่วงหลักจากความเสี่ยงในภาคต่างประเทศ ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว นอกจากนี้อยากให้เร่งผลักดันกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 63 ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อรับมือกับความท้าทาย โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ ซึ่งแม้ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้าน

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 ต.ค. 2562

สปป.ลาว – เกาหลีเป็นพันธมิตรในระบบพลังงานสะอาด

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานระหว่างสปป.ลาว – ​​เกาหลีในหัวข้อ“ ความร่วมมือในภาคพลังงาน” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานสามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศทั้งสองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบพลังงานและอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและการบ่อแร่ กล่าวว่าได้กำหนดเป้าหมายการบัญชีพลังงานทดแทน 30 % ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 68 และมุ่งเน้นความพยายามในการทำความสะอาดระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น ขณะนี้สปป.ลาวและเกาหลีวางแผนที่จะขยายความสัมพันธ์ด้านพลังงานของพวกเขาไปยังระบบพลังงานสะอาดและอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ เช่น ระบบการกักเก็บพลังงาน สมาร์ทกริดและรถพลังงานไฟฟ้า รัฐบาลเกาหลีได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าจาก 7% เป็น 20% ภายในปี 73

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-korea-partner-clean-energy-systems-105365

ธนาคารแห่งสปป.ลาวเสนอโอกาสการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ใหม่

จากเว็บไซต์ของธนาคารกลางสปป.ลาว พันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 31 ต.ค.โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับเงินกองทุนของธนาคาร ซึ่งสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้ที่ฝ่ายปฏิบัติการธนาคารและสาขาของธนาคารในแขวงอุดมไซ หลวงพระบาง เซียนขวาง สะหวันนะเขตและแขวงจำปาศักดิ์ BCEL ธนาคารเพื่อการพัฒนาสปป.ลาวและธนาคารส่งเสริมการเกษตรจะเข้าร่วมกับธนาคารกลางในการขายพันธบัตรออมทรัพย์ BOL เพื่อดึงดูดผู้ซื้อ BOL เสนอดอกเบี้ยร้อยละ 5 สำหรับพันธบัตรอายุ 1 ปีดอกเบี้ยร้อยละ 6 สำหรับพันธบัตรอายุ 3 ปีและดอกเบี้ยร้อยละ 7 สำหรับพันธบัตรอายุ 5 ปี การขายพันธบัตรมี 3 ประเภทที่มูลค่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐและ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ รายละเอียดเพิ่มเติมของพันธบัตรและผลตอบแทนการลงทุนที่คาดหวังมีอยู่ในเว็บไซต์ของธนาคารชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอโอกาสการลงทุนใหม่แก่นักลงทุนในท้องถิ่นและผลตอบแทนการลงทุนที่น่าดึงดูด นอกจากนี้ยังเป็นความตั้งใจของธนาคารที่จะปลูกฝังนิสัยการลงทุนและการออมในประเทศ 

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/bank-lao-offers-new-savings-bond-investment-opportunity-105363