ห้างเมียนมา ปรับกลยุทธ์เน้นสินค้าผักสดผลไม้ ดึงลูกค้าจากร้านชำ
เมียนมา เป็นหนึ่งประเทศที่การจับจ่ายสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคของผู้คนยังพึ่งพาร้านขายของชำในชุมชนเป็นหลัก เพราะร้านแบบนี้มีกระจายทั่วไป สะดวกสบาย เทียบกับซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าราคาสูงกว่า สาขาน้อยกว่า จะเหมาะกับลูกค้าระดับบนหรือชาวต่างชาติที่ แต่ช่วงหลังมานี้ ซูเปอร์มาร์เก็ตโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างย่างกุ้ง เริ่มหันมาทำการตลาดเพื่อชิงลูกค้าจากร้านชำท้องถิ่นมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ผ่านมา บริษัทซิตี้ มาร์ท โฮลดิ้ง เครือข่ายค้าปลีกใหญ่สุดของประเทศ และผู้ดำเนินการซูเปอร์มาร์เก็ตซิตี้ มาร์ทได้เพิ่มแผนกผักสดและผลไม้สดหลังจากที่ได้ร่วมทุนกับ Sojitz บริษัทเทรดดิ้งจากญี่ปุ่น การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีก ที่ผ่านมาสินค้าประเภทผักผลไม้ที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตไม่เป็นที่นิยมเพราะมีสารตกค้าง ความสดใหม่ และราคาสูง ภายหลังจากที่ระบบโลจิสติกส์ได้รับการพัฒนา พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซิตี้มาร์ทมองเห็นโอกาสจึงลงทุนซื้อกิจการ Uni Vege ฟาร์มในเขตนครย่างกุ้งที่ปลูกผักและจำหน่ายเป็นแพ็ค เป็นฟาร์มไฮโดรโปนิก โดย 80% ของผลผลิตจากฟาร์มส่งให้ซิตี้มาร์ทที่เดียว นอกจากนั้น ทางซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้ยังทำแคมเปญเชิญชวนผู้บริโภคให้ทานผักผลไม้มากขึ้นเพื่อสุขภาพโดยทางห้างตั้งโต๊ะบริการผลไม้หั่นเป็นชิ้น และผักพร้อมทาน ณ บริเวณทางเข้าออกห้างเลยทีเดียว และร่วมทุนกับบริษัทในเครือพรีเมียม ดิสทริบิวชั่น และบริษัททรัสต์ เวนเจอร์ พาร์ทเนอร์โดยในการขยายขนาดฟาร์มให้ใหญ่ขึ้น 3 เท่าตัวในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันยังงจัดหาผักผลไม้โดยจากเกษตรกรที่อยู่นอกย่างกุ้งมามาขายในห้างอีกด้วย โดยอาศัยเครือข่ายขนส่งของ Sojitz และพรีเมียม ดิสทริบิวชั่นซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2015 ส่งผลให้การขนส่งสินค้าของบริษัทเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 100 ตันต่อวัน ดังนั้นซิตี้มาร์ทไม่เพียงมีแต้มต่อเหนือร้านค้าท้องถิ่น หากยังอยู่ในฐานะได้เปรียบ หากต้องรับมือกับคู่แข่งจากต่างชาติที่หวังเข้ามาเจาะตลาดค้าปลีกเมียนมา