ญี่ปุ่นมองหาธุรกิจที่เน้นส่งออกในเมียนมา

ในอุตสาหกรรมท้องถิ่นซึ่งจะผลิตสินค้าและส่งออกไปยังอินเดีย จีน และไทย เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากและติดมีชายแดนติดไทย อินเดีย และจีน โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านและผลิตสินค้าและขายในตลาดท้องถิ่น จากงบประมาณปี 32-33 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 การลงทุนรวมของญี่ปุ่นใน 117 ธุรกิจเกิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้การลงทุนรวม 39 ธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ได้รับอนุญาตมากกว่า 670 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงขณะนี้การลงทุนรวม 150 ธุรกิจมีมูลค่าราว 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นติดอันดับที่ 10 จาก 50 ประเทศที่ลงทุนและติดอันดับ FDI ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา คิดเป็น 36% ของการลงทุนทั้งหมด ซึ่ง FDI รวม 19 ประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา สูงกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/japan-is-eyeing-export-oriented-businesses-in-myanmar

เมียนมาคาดปีหน้าการลงทุนน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น

การประชุมคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชนครั้งที่ 30 กับผู้ประกอบการเมียนมาเมื่อวันที่ 19 ต.ค.62 ที่ผ่านมา กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศคาดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งจะเพิ่มขึ้นในปี 63 เมื่อข้อเสนอได้รับการสำรวจและการผลิต กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน (MOEE) กล่าวกับ The Myanmar Times ว่าการผลิตก๊าซเชิงพาณิชย์จะเริ่มต้นที่การค้นพบครั้งที่ 6 ที่บล็อก Shwe Yee Htun-2 นอกชายฝั่งในปี 66 และสามารถผลิตก๊าซได้ที่บ่อ Shwe Yee Htun-2

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-oil-and-gas-investments-expected-next-year.html

GMAC แนะนำให้สมาชิกเข้าร่วม REX

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศกัมพูชา (GMAC) ขอให้สมาชิกเข้าร่วมระบบรับรองตนเองของผู้ส่งออก (REX) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นรูปแบบของการรับรองตนเองที่อนุญาตให้บริษัทส่งออกที่ไม่มีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าก่อนสิ้นปีที่สหภาพยุโรปจะหยุดรับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ โดยระบบ REX จะอนุญาตให้บริษัทจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศโดยใช่คำสั่งต้นทาง “Form A” ของหนังสือรับรองแหล่งกำเนิด ซึ่งเมื่อเข้าร่วมระบบบริษัทต่างๆจะกลายเป็น “ผู้ส่งออกที่ลงทะเบียน” ซึ่งทำให้สามารถออกหลักฐานแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าของตนเองได้ โดยตั้งแต่ปีที่แล้วกระทรวงพาณิชย์และ GMAC ได้ขอให้ผู้ส่งออกเข้าร่วมระบบซ้ำหลายครั้ง ซึ่งเมื่อถึงกำหนดเวลาทางฝั่ง EU จะไม่รับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์อีกต่อไป เป็นเพราะต้องการให้ผู้ส่งออกทุกรายใช้ระบบ REX เพื่อให้สามารถแหล่งกำเนิดของสินค้าภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50652812/gmac-urges-members-to-join-rex/

ตุรกีช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลในกัมพูชา

ตุรกีได้ตกลงที่จะช่วยให้กัมพูชาพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลที่พึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศ ในระหว่างการเยือนอังการาที่ประเทศตุรกี โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาขอความช่วยเหลือจากตุรกีในการปรับปรุงคุณภาพของอาหารฮาลาลในกัมพูชาและเผยแพร่ความตระหนักในหมู่ชาวกัมพูชา ซึ่งอาหารฮาลาลในกัมพูชายังคงเป็นสิ่งใหม่ โดยต้องการการสนับสนุนและความช่วยเหลือด้านเทคนิคของตุรกีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับข้อกำหนดและการรับรองด้านสุขอนามัย ซึ่งผู้นำทั้งสองประเทศเห็นด้วยที่จะกระชับความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ โดยมีโอกาสมากมายสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมฮาลาลของกัมพูชา ที่มีทั้งวัตถุดิบอยู่มากและบางประเทศมีความสนใจในการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50652813/turkey-to-help-develop-cambodias-halal-industry/

ติดตามนักท่องเที่ยวขาเข้าในสปป.ลาวเพื่อบรรลุเป้าหมายสำหรับปี 62

จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่เดินทางมาพักผ่อนในสปป.ลาวในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นกว่า 3.4 ล้านคนเมื่อเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 11% ของปีที่ผ่านมา ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนเพิ่มขึ้น 26% ประเทศไทย​เพิ่มขึ้น 6% เวียดนามเพิ่มขึ้น 11% สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 22% สหรัฐราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 22% ฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 11% เยอรมันเพิ่มขึ้น 13% ในทางกลับกันสาธารณรัฐเกาหลีลดลง 1% เดนมาร์กลดลง 27% สวิสเซอร์แลนด์ลดลง 18% และฟินแลนด์ลดลง 28% กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว กล่าวว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวสปป.ลาว – ​​จีน และการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้น เจ้าหน้าที่มั่นใจว่าชาวจีนมากกว่า 1 ล้านคนจากทั้งหมด 4.5 ล้านคนจะมาเที่ยว สปป.ลาว ในช่วง 3 เดือนข้างหน้าซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยว แม้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อเดือนที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวเลขเป้าหมายและเจ้าหน้าที่กำลังมองหาวิธีในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลที่มีผู้เข้าชม 4.5 ล้านคนในปี 62 โดยทั่วประเทศจะสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น ปรับปรุงป้ายประชาสัมพันธ์และปรับราคาที่พักตามข้อร้องเรียนเกี่ยวกับต้นทุนที่สูง บางจังหวัดกำลังปรับปรุงคุณภาพของที่ระลึกและให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญบนบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ได้ปรับปรุงบริการที่จุดผ่านแดนและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Tourist_231.php