กัมพูชาจ่อส่งออกมะพร้าวไปยังปักกิ่งปีนี้

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 เม.ย.) กัมพูชาจัดพิธีลงนามส่งออกมะพร้าวไปยังจีนอย่างเป็นทางการ หลังคาดว่าจะมีการส่งออกมะพร้าวสดชุดแรกภายในปีนี้ ซึ่งพิธีจัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา ร่วมกับ Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ซึ่งกัมพูชาและจีนเคยได้ลงนามในข้อตกลงด้านสุขอนามัยพืชเพื่อส่งออกมะพร้าวสดจากกัมพูชาไปยังจีนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ปัจจุบันกัมพูชามีสวนมะพร้าวจำนวน 13 แห่ง และโรงงานแปรรูป 5 แห่ง ที่ได้รับสิทธิ์ในการส่งออกมะพร้าวโดยตรงไปยังประเทศจีน ด้านรายงานของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และป่าไม้ แสดงให้เห็นว่าในปี 2022 กัมพูชาได้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่รวม 19,998 เฮกตาร์ โดยสามารถเก็บเกี่ยวมะพร้าวได้ 14,225 เฮกตาร์ หรือร้อยละ 71 สำหรับการผลิตมะพร้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 หรือคิดเป็นจำนวน 258,935 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476326/coconut-exports-to-beijing-to-commence-this-year/

กัมพูชา-เกาหลี ร่วมลงนามในข้อตกลงหวังอำนวยความสะดวกด้านแรงงานระหว่างประเทศ

กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพได้ลงนามในข้อตกลงกับหน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้การจัดหาแรงงานชาวกัมพูชาภายใต้ระบบใบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) ของเกาหลี เพื่ออำนวยความราบรื่นด้านการจ้างงานระหว่างประเทศ หลัง Heng Sour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีวศึกษา เข้าพบ Lee Woo Yong หัวหน้าหน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงการจ้างงานและแรงงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (HRDK) ในการประชุมเมื่อวันที่ 19 เม.ย. โดยเกาหลีกำลังกลายเป็นตลาดแรงงานที่น่าสนใจสำหรับแรงงานกัมพูชา ซึ่งโครงการริเริ่มใหม่นี้ร่วมกับเกาหลีจะไม่เพียงมุ่งเน้นไปที่การสรรหาบุคลากรเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างทักษะการจ้างงานของคนงานชาวกัมพูชาในอนาคตร่วมด้วย ด้านระบบใบอนุญาตการจ้างงานของเกาหลี (EPS) อนุญาตให้นายจ้างในเกาหลีที่ไม่สามารถจ้างคนในท้องถิ่น จ้างแรงงานต่างชาติได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งอุตสาหกรรมบางประเภทในเกาหลีที่กำลังเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน ได้แก่ เกษตรกรรม การประมง การก่อสร้าง และการผลิต เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476322/ministry-signs-agreement-with-korea-for-ease-of-overseas-recruitment/

นักการทูตจีนเยือนกัมพูชา พร้อมดันโครงการ BRI

รัฐมนตรีต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างรัฐบาล (ICC) ครั้งที่ 7 ระหว่าง จีน-กัมพูชา ซึ่งมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่วันที่ 21-23 เมษายน นำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธานร่วมในการประชุม ซึ่งการปรากฏตัวของรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการบูรณาการทางด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน เช่นเดียวกับการยึดมั่นในพันธกรณีของจีนในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เผชิญหน้าประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501475828/top-chinese-diplomat-in-kingdom-to-push-bri-projects/

ศุลกากรกัมพูชาตรวจยึดเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย พร้อมเผาทำลายกว่า 7.5 ตัน

กรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เผาทำลายเนื้อสัตว์กว่า 7,595 กิโลกรัม ซึ่งนำเข้าโดยไม่มีเอกสาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อีกทั้งการขนส่งที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้คุณภาพเสียหาย โดยรายละเอียดกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปราบปราม 2 คดี คดีที่ 1 ตรวจยึดและเผาทำลายเนื้อไก่และเครื่องในไก่ราว 395 กิโลกรัม ที่ถูกลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายผ่านทางชายแดน ขณะที่คดีที่ 2 เจ้าหน้าที่สำนักงานสืบสวนและปราบปรามการลักลอบขนสินค้าเข้าเขต 5 ได้ตรวจยึดเครื่องในไก่และขาเป็ดจำนวน 7,200 กิโลกรัม และเผาทำลาย หลังจากปราบปรามและยึดจากผู้ค้า ซึ่งขนส่งโดยรถยนต์โดยสาร 2 คัน เข้ามายังกัมพูชาอย่างผิดกฎหมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476170/more-than-7-5-tonnes-of-damaged-chicken-meat-chicken-parts-and-duck-legs-destroyed/

Royal Railway เร่งนำเข้าหัวรถจักรดีเซลจากญี่ปุ่น เสริมการให้บริการในกัมพูชา

Royal Railway Cambodia (RRC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท Royal Group กำลังเร่งนำเข้าหัวรถจักรดีเซล (DMU) จากญี่ปุ่น เสริมการให้บริการรถไฟในกัมพูชา โดย RRC ได้ทำการสั่งซื้อหัวรถจักรจำนวนทั้งสิ้น 11 คัน และเริ่มมีการขนส่งมายังกัมพูชาแล้ว ซึ่งการนำเข้าหัวรถดังกล่าวถือเป็นการปรับปรุงภาคการขนส่งทางรถไฟของกัมพูชาในแง่ของความปลอดภัย ความเร็ว และประสิทธิภาพ ภายใต้ต้นทุนด้านการขนส่งที่ต่ำลง โดยทั่วไปแล้วหัวรถจักรดีเซลมักจะใช้สำหรับการเดินทางระยะสั้นถึงปานกลาง เพราะเป็นช่วงที่ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุด อีกทั้งยังมีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับหัวรถลากแบบดั้งเดิม สำหรับ RRC จัดการและดำเนินการเครือข่ายรถไฟในประเทศกัมพูชาภายใต้การลงทุนแบบสัมปทาน นับตั้งแต่ปี 2010 ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางรถไฟสายเดิมที่สร้างโดยราชอาณาจักรในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส โดยทางรถไฟสายเหนือมีความยาว 386 กิโลเมตรจากพนมเปญถึงปอยเปต (ชายแดนกัมพูชา-ไทย) และทางรถไฟสายใต้มีความยาวทั้งสิ้น 264 กิโลเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501474759/royal-railway-buys-dmus-from-japan/

กัมพูชา-จีน ร่วมจัดนิทรรศการด้านการท่องเที่ยว ณ นครวัด

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาร่วมกับทางการมณฑลเหอหนานของจีน เตรียมความพร้อมจัดนิทรรศการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกัมพูชา-จีน ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นทางตอนเหนือของอุทยานโบราณคดีอังกอร์กัมพูชา สำหรับเป้าหมายของการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดเสียมราฐและมณฑลเหอหนาน โดยมีการแสดงร่วมกันระหว่างเส้าหลินและโบกาตอร์ ซึ่งเป็นศิลปะด้านการต่อสู้ของทั้ง 2 ประเทศ ด้านกระทรวงฯ มั่นใจว่างานดังกล่าวจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามายังกัมพูชามากขึ้น ควบคู่ไปกับแคมเปญ Visit Siem Reap 2024 และคาดหวังการผลักดันภาคการท่องเที่ยวด้วยโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีและการท่องเที่ยวโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า “The 2024 Cambodia-China People-to-People Exchange Year” ด้าน Sok Soken รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ให้ข้อมูลเสริมว่าในช่วง 2023 กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 5.4 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวคิดเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนประมาณ 540,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501475565/cambodia-china-cultural-tourism-exhibition-to-take-place-at-famed-angkor-complex-next-week/

เศรษฐกิจ CLMV เร่งตัวปี 2567 แต่ยังโตช้ากว่าช่วงก่อนโควิด-19

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

เศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024 ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนให้อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติออกไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ “China +1” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2023) สปป.ลาว 4.7% (จาก 4.5%) เมียนมา 3.0% (จาก 2.5%) และเวียดนาม 6.3% (จาก 5.1%)

อัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศใน CLMV ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อน COVID-19 จากปัจจัยกดดันต่าง ๆ  อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจภูมิภาค CLMV มีความสัมพันธ์สูงทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกัน บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามมีอัตราส่วนหนี้เสีย (Non-performing loans ratio) สูงขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วง COVID-19 สิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะการเงินในประเทศที่ตึงตัวขึ้น อาจกระทบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและการเข้าถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อเนื่อง ในระยะสั้นการค้าโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการขนส่งบริเวณทะเลแดงและคลองปานามาที่แห้งแล้งและอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าส่งออกของภูมิภาค CLMV ได้ ในระยะยาวเศรษฐกิจ CLMV จะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกที่มีแนวโน้มจะกีดกันการค้าและตั้งกำแพงภาษีมากขึ้น

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่เผชิญความเสี่ยงจากระดับหนี้สาธารณะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกตึงตัว ทำให้เงินกีบอ่อนค่ารวดเร็ว ซ้ำเติมภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และทำให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมากและปรับตัวลดลงได้ช้าในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้กดดันศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง โดยสปป.ลาวกำลังดำเนินการรัดเข็มขัดทางการคลัง ควบคู่กับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และการหาแหล่งระดมทุนใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังไว้ ขณะที่เมียนมาเป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญปัจจัยกดดันเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2021 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2023 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศซบเซา ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมีส่วนทำให้อุปสงค์ต่างประเทศอ่อนแอลงมาก ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น การขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เงินจัตอ่อนค่าและเงินเฟ้อเร่งตัว ตลอดจนปัญหาระบบขนส่งและโครงข่ายไฟฟ้าหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังดูเป็นไปได้ยากในระยะสั้น เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ

ค่าเงินของกลุ่มประเทศ CLMV จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าลดลง

ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าประเทศกำลังพัฒนา รวมถึง CLMV มากขึ้น และจะกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเฉพาะประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบางประเทศอาจยังอ่อนค่าต่อ

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV มีแนวโน้มดีขึ้นในปีนี้ หลังจากค่อนข้างซบเซาในปี 2023 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าโลกที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิต และเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ภาวะการเงินโลกและไทยที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงบ้างในปีนี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้บริษัทไทยลงทุนใน CLMV ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจของ CLMV บางประเทศที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ในระยะยาว SCB EIC ยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจ CLMV และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เติบโตสูง และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ จากปัจจัยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อย การมีข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ และแหล่งที่ตั้งที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ติดตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/clmv-outlook-mar24?utm_source=Twitter&utm_medium=Link&utm_campaign=CLMV_OUTLOOK_MAR_2024

 

‘เวียดนาม-กัมพูชา’ ยอดการค้า พุ่ง 25%

จากข้อมูลของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) รายงานว่าเวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของกัมพูชา รองจากประเทศจีน โดยปริมาณการค้าของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มูลค่าที่ 2.32 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเวียดนามยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของกัมพูชาไปยังตลาดเวียดนาม คือ สินค้าการเกษตร อาทิเช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะพร้าวและยางพารา เป็นต้น ในขณะเดียวกัน กัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียมและเหล็กเส้นดิบจากเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501474739/cambodias-trade-with-vietnam-rises-nearly-25/