เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 2/2567 โตสูงกว่าคาด จากการลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายในประเทศแต่แนวโน้มยังเผชิญความเสี่ยงหลายปัจจัย

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าเศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสที่ 2/2567 เติบโตอยู่ที่ระดับ 6.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่า consensus ที่ 5.8% และสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1/2567 ที่ 5.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 2/2567 โตสูงกว่าคาดจากการลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายในประเทศแต่แนวโน้มยังเผชิญความเสี่ยงหลายปัจจัย

  • เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสที่ 2/2567 เติบโตอยู่ที่ระดับ 6.9%YoY สูงกว่า consensus ที่ 5.8% และสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1/2567 ที่ 5.9%YoY โดยมีปัจจัยหนุนจากการบริโภคภาคครัวเรือนและการลงทุนภาครัฐ แต่ก็มีปัจจัยฉุดจากการชะลอตัวของ FDI และการส่งออก
  • ทิศทางเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 คาดว่าจะเติบโตชะลอลงจากครึ่งแรกที่เติบโต 6.42%YoY จากการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอลง ทั้งปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าคาดการณ์เดิมมาอยู่ที่ 6.2% จาก 5.8%
  • ​อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเวียดนามยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงอยู่หลายปัจจัย ได้แก่ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ปัญหาหนี้สินอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามที่ยังไม่คลี่คลาย ทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอง และอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Vietnam-EBR4069-KR-01-07-2024.aspx

การส่งออกชายแดนและผ่านแดน 4 เดือนแรกปี 2024 หดตัว 1.5%YoY คาดทั้งปียังโตต่ำ 0.6%

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

การส่งออกชายแดนและผ่านแดน 4 เดือนแรกปี 2024 หดตัว 1.5%YoY คาดทั้งปียังโตต่ำ 0.6%

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทั้งปี 2024 การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยขยายตัวต่ำที่ 6% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 9.86 แสนล้านบาท แม้มีแรงหนุนจากการฟื้นตัวในตลาดหลัก
  • ในช่วงครึ่งหลังของปี คาดว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนจะปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก 2024 จากผลของฐานสูงที่ทยอยลดลง การส่งออกไปเมียนมากลับมาดีขึ้นจากการเปิดด่าน การส่งออกทุเรียนไปจีน ได้อานิสงส์จากราคาที่ปรับตัวขึ้น รวมถึงการส่งออกสินค้าสำคัญอย่าง HDDs กับยางพารายังดีได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/BorderTrade-CIS3498-FB-27-05-2024.aspx

เศรษฐกิจ CLMV เร่งตัวปี 2567 แต่ยังโตช้ากว่าช่วงก่อนโควิด-19

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

เศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024 ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนให้อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติออกไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ “China +1” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2023) สปป.ลาว 4.7% (จาก 4.5%) เมียนมา 3.0% (จาก 2.5%) และเวียดนาม 6.3% (จาก 5.1%)

อัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศใน CLMV ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อน COVID-19 จากปัจจัยกดดันต่าง ๆ  อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจภูมิภาค CLMV มีความสัมพันธ์สูงทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกัน บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามมีอัตราส่วนหนี้เสีย (Non-performing loans ratio) สูงขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วง COVID-19 สิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะการเงินในประเทศที่ตึงตัวขึ้น อาจกระทบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและการเข้าถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อเนื่อง ในระยะสั้นการค้าโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการขนส่งบริเวณทะเลแดงและคลองปานามาที่แห้งแล้งและอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าส่งออกของภูมิภาค CLMV ได้ ในระยะยาวเศรษฐกิจ CLMV จะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกที่มีแนวโน้มจะกีดกันการค้าและตั้งกำแพงภาษีมากขึ้น

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่เผชิญความเสี่ยงจากระดับหนี้สาธารณะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกตึงตัว ทำให้เงินกีบอ่อนค่ารวดเร็ว ซ้ำเติมภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และทำให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมากและปรับตัวลดลงได้ช้าในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้กดดันศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง โดยสปป.ลาวกำลังดำเนินการรัดเข็มขัดทางการคลัง ควบคู่กับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และการหาแหล่งระดมทุนใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังไว้ ขณะที่เมียนมาเป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญปัจจัยกดดันเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2021 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2023 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศซบเซา ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมีส่วนทำให้อุปสงค์ต่างประเทศอ่อนแอลงมาก ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น การขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เงินจัตอ่อนค่าและเงินเฟ้อเร่งตัว ตลอดจนปัญหาระบบขนส่งและโครงข่ายไฟฟ้าหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังดูเป็นไปได้ยากในระยะสั้น เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ

ค่าเงินของกลุ่มประเทศ CLMV จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าลดลง

ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าประเทศกำลังพัฒนา รวมถึง CLMV มากขึ้น และจะกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเฉพาะประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบางประเทศอาจยังอ่อนค่าต่อ

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV มีแนวโน้มดีขึ้นในปีนี้ หลังจากค่อนข้างซบเซาในปี 2023 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าโลกที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิต และเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ภาวะการเงินโลกและไทยที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงบ้างในปีนี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้บริษัทไทยลงทุนใน CLMV ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจของ CLMV บางประเทศที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ในระยะยาว SCB EIC ยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจ CLMV และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เติบโตสูง และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ จากปัจจัยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อย การมีข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ และแหล่งที่ตั้งที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ติดตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/clmv-outlook-mar24?utm_source=Twitter&utm_medium=Link&utm_campaign=CLMV_OUTLOOK_MAR_2024

 

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/67 ชะลอตัวที่ 5.66%YoY คาดทั้งปี 67 เติบโต 5.8-6.0% หนุนโดยการส่งออก

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 1/67 ชะลอตัวที่ 5.66%YoY คาดทั้งปี 67 เติบโต 5.8-6.0% หนุนโดยการส่งออก

  • เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 1/2567 เติบโตชะลอตัวลง จากการชะลอตัวของการลงทุนในภาพรวม
  • การส่งออกยังเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 1/2567 โดยมูลค่าการส่งออกเติบโตเร่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2%YoY ในไตรมาสที่ 1/2567
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทั้งปี 2567 เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอยู่ที่ระดับ 8-6.0% จากแรงหนุนของการส่งออก

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Vietnam-GDP-EBR4050-29-03-2024.aspx

การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนาม คาดไม่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะยาว

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนาม ว่า กระแสการปราบปรามการคอร์รัปชั่นในเวียดนามส่งผลให้ประธานาธิบดีหวอ วัน เถือง ยื่นใบลาออก หลังดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปี และนับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่ถูกกดดันให้ลาออกในช่วงปีที่ผ่านมา

การลาออกของประธานาธิบดีเวียดนาม คาดไม่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในระยะยาว

  • กระแสการปราบปรามการคอร์รัปชันในเวียดนามส่งผลให้ประธานาธิบดีหวอ วัน เถือง ยื่นใบลาออก หลังดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปี และนับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่ถูกกดดันให้ลาออกในช่วงปีที่ผ่านมา
  • การลาออกของประธานาธิบดีหวอ วัน เถือง อาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองและบรรยากาศในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้น แต่คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานและการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในระยะยาว

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Vietnam-Econ-21-03-2024.aspx

10 อาชีพเด่น อาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ และสถานภาพของเด็ก Gen Z ปี 2567

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พร้อมด้วย ผศ.ดร.วชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า แถลงข่าวเผยผลสำรวจ “10 อาชีพเด่น อาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ และสถานภาพของเด็ก Gen Z ปี 2567” ซึ่งกลุ่ม Gen Z แยกออกเป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ กลุ่มเด็ก ม.ต้น กลุ่มเด็ก ม.ปลาย/ปวช. และกลุ่มระดับปริญญาตรี ใน 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ ความมั่นคงและยั่งยืน ระดับรายได้ และจำนวนคู่แข่งในตลาดแรงงาน

10 อันดับอาชีพเด่นในปี 2567 ได้แก่
1. วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Network Security) หรือเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคความปลอดภัย

2. แพทย์ (ด้านศัลยกรรม ด้านผิวหนัง)

3. นักกายภาพบำบัด -นักจิตวิทยา ทันตแพทย์

4. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) หรือนักออกแบบข้อมูล

5. Youtuber TikToker อินฟลูเอนเซอร์ สตรีมเมอร์ อีคอมเมิร์ซ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์

6. ดารา นักแสดงนักร้อง นักการตลาดออนไลน์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์

7. นักวิเคราะห์การเงิน ที่ปรึกษาทางการเงิน

8. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว

9. ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ

10. ติวเตอร์ หมอดู

10 อันดับอาชีพในฝัน ( My Dream Job) ของเด็ก Gen Z ได้แก่

1. ครูอาจารย์ ติวเตอร์

2. ประกอบธุรกิจส่วนตัว

3. หมอ พยาบาล

4. อินฟลูเอเซอร์ สตรีมเมอร์ ยูทูบเบอร์

5. นักออกแบบกราฟิก

6. ทนายความ อัยการ

7. งานด้านต่างประเทศ

8. ศิลปินและนักตัดต่อ Editor

9. นักบิน แอร์โฮสเตส

10. ข้าราชการ (ทหาร ตำรวจ ข้าราชการทั่วไป)

โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพได้แก่ ความมั่นคงของอาชีพและความก้าวหน้า ความน่าเชื่อถือของกิจการ การมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น เติบโตหน้าที่การงาน และสิทธิประโยชน์สวัสดิการและผลตอบแทน สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยืดหยุ่น มีอิสระในการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเจ้านายที่ดี ทำเลที่ตั้งสะดวกในการเดินทาง เป็นต้น

ที่มา : https://shorturl.at/fpN46

10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2567

ม.หอการค้าไทย เผย 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง – ร่วง ปี 2567
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าผลสำรวจการจัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง – ดาวร่วง ปี 2567

10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2567

1.ธุรกิจที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์หรือธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ YouTuber การรีวิวสินค้าและอินฟลูเอนเซอร์
2.ธุรกิจการแพทย์และความงาม ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์ ธุรกิจโทรคมนาคมสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณสื่อสารต่าง ๆ
3.โซเชียลมีเดียและออนไลน์เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ธุรกิจด้านการเงินธนาคาร ฟินเทค และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี ธุรกิจคลาวด์เซอร์วิส และธุรกิจบริการไซเบอร์ ซีเคียวริตี้
4.งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจอีเวนท์ ธุรกิจความเชื่อ เช่น สายมู หมอดู ฮวงจุ้ย ธุรกิจอัญมณี เช่น ทอง
5.ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต ธุรกิจEV และธุรกิจเกี่ยวข้อง ธุรกิจ Soft Power เช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์
6.ธุรกิจอาหารเสริม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ธุรกิจเกี่ยวกับน้ำตาล
7.ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่โมเดิร์นเทรด ธุรกิจโลจิสติกส์ เดลิเวอรี่ และคลังสินค้า ธุรกิจเงินด่วน โรงรับจำนำ
8. ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ธุรกิจบันเทิงยามค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ
9. ธุรกิจอีสปอร์ต เกมส์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจตลาดเพื่อการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
10. ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง

ส่วน 10 อันดับธุรกิจดาวร่วงในปี 2567 ได้แก่

อับดับ 1 โทรศัพท์พื้นฐาน, ธุรกิจร้านเช่าหนังสือ CD-VDO, ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่มีแพลตฟอร์มออนไลน์
อันดับ 2 ธุรกิจผลิต CD-DVD ที่จัดเก็บข้อมูลฮาร์ดดิสไดร์ฟ หรือเมมโมรี่ การ์ด, บริการส่งหนังสือพิมพ์
อันดับ 3 ธุรกิจคนกลาง, เครื่องปั้นดินเผา เซรามิก
อันดับ 4 ธุรกิจผลิตสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม
อันดับ 5 ธุรกิจผลิตสารเคมี
อันดับ 6 ร้านถ่ายรูป
อันดับ 7 ร้านขายเครื่องเล่นเกมส์ แผ่นเกมส์, ธุรกิจทอผ้าจากธรรมชาติ
อันดับ 8 ธุรกิจถ่ายเอกสาร
อันดับ 9 ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้
อันดับ 10 ร้านโชห่วย, ธุรกิจผลิตกระดาษ

สำหรับการจัดอันดับของธุรกิจดังกล่าวนำข้อมูลมาจากจากข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสำรวจผู้ประกอบการรายสาขา สถานภาพธุรกิจไทย ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ เช่น ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก, ข้อมูลสินเชื่อธนาคารพาณิชย์, ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ได้มีเกณฑ์การให้คะแนนธุรกิจใน 5 ด้านรวม 100 คะแนน ประกอบด้วย ยอดขาย ต้นทุน กำไรสุทธิ ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงและการแข่งขัน ความต้องการ-กระแสนิยม

ที่มา : https://shorturl.asia/JSjWB

เศรษฐกิจเวียดนามปีนี้คาดจะเติบโต 4.8-5.0% ต่ำกว่าเป้าหมายอัตราการเติบโตใหม่ 6.0% ที่รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าไว้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 4 จะเติบโตอยู่ที่ระดับ 6.3-7.0% และส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอยู่ที่ระดับ 4.8-5.0% ในปีนี้ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเร่งตัวขึ้นในไตรมาสที่ 4 คือภาคการส่งออกที่เริ่มขยายตัว และการเร่งการเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการต่ออายุหุ้นกู้เดิมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจเวียดนามไปจนถึงปลายปี 2567

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธนาคารกลางเวียดนามจะคงดอกเบี้ยนโยบายไปอีก 3 เดือน ท่ามกลางวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ยังไม่สิ้นสุด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเวียดนามจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย 4.5% แต่แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด จะส่งผลให้เกิดสถานการณ์เงินทุนไหลออกและเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินดองอ่อนค่า จึงมองว่าธนาคารกลางเวียดนามจะรอดูสถานการณ์ต่อไปและจะยังไม่ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงในระยะ 3 เดือน ข้างหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามูลค่าการส่งออกไทยไปเวียดนามจะขยายตัวขึ้น 2.7%YoY ในไตรมาสที่ 4 และส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2566 หดตัว -11.7%YoY โดยการขยายตัวของการส่งออกในไตรมาสที่ 4 จะเป็นผลพวงจากฐานต่ำและราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและฮามาส ซึ่งน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 2 ของไทยไปเวียดนาม

นอกจากนี้ ปัจจัยกดดันการส่งออกไทยไปเวียดนามในไตรมาสที่ 4 ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทไทยไปลงทุนในโครงการปิโตรคอมเพล็กซ์เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกในเวียดนาม ซึ่งจะเริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้ และคาดว่าจะทำให้การส่งออกเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 4 ของไทยไปเวียดนาม หดตัวอย่างต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2567

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Vietnam-EB4020-12-10-2023.aspx

3 เหตุผล ทำไมตลาดหุ้นเวียดนามยังน่าลงทุน

          โดย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด

ในปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นเวียดนามเผชิญความผันผวนจากปัจจัยทั้งในประเทศจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางเวียดนาม ความกังวลต่อปัญหาในภาคอสังหาฯ และปัจจัยจากต่างประเทศอาทิ การ Lockdown ของประเทศจีน ,สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ,อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ในปี 2023 ตลาดหุ้นเวียดนามกลับมาเป็นตลาดที่น่าจับตามองของเหล่านักลงทุนทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง โดยตั้งแต่ต้นปีตลาดหุ้นเวียดนามมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ +20% (YTD) (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ส.ค. 2023) ซึ่งเป็นตลาดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นลำดับ 3 รองจาก NASDAQ และ NIKKEI

 

ปัจจัยกดดันต่างๆเริ่มคลี่คลาย หลังธนาคารกลางปรับลดดอกเบี้ยแล้วถึง 4 ครั้ง เพื่อสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มกลับมาปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ภาคอสังหาฯ เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว พร้อมกับการผ่อนคลายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามมีแนวโน้มที่ลดลง สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก สำหรับรายละเอียดในด้านต่างๆ มีดังนี้

ตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว

หน่วยงานสถิติเวียดนามเปิดเผยตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ขยายตัว 4.14% YoY สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.8% YoY และสูงกว่าไตรมาส 1 ที่ขยายตัว 3.3% YoY ส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของยอดส่งออกยังมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากที่จีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง แม้ว่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรปจะปรับตัวลดลง แต่คาดการณ์ว่าจะเป็นการปรับตัวลงในกรอบแคบมากขึ้น จากการการผ่อนคลายความตึงตัวของห่วงโซ่อุปทาน และคาดว่าการส่งออกไปยังจีนจะฟื้นตัวดีขึ้นจากการที่สหรัฐฯ ลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากจีน ในขณะที่ช่วงที่เหลือของปีคาดส่งออกเวียดนามจะได้รับอานิสงฆ์จากการ restock สินค้าจากสหรัฐฯ

ปัจจัยหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้อีกปัจจัยมาจากภาคการท่องเที่ยว โดยเวียดนามมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนสิงหาคมสูงถึง 1.2 ล้านคน และมีจำนวนทักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 เดือนแรกของปีนี้จำนวน 7.8 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 98% ของเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้จำนวน 8 ล้านคนภายในปีนี้ อีกทั้งทางรัฐบาลได้มีการออกนโยบายวีซ่าใหม่ จะยิ่งเป็นปัจจัยช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยได้มีการตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวใหม่ไว้ที่จำนวน 12 ล้านคนในปีนี้

นอกจากนี้เวียดนามยังมีเงินลงทุนไหลเข้าจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 8% YoY ในช่วง 8 เดือนแรกของปีหรือคิดเป็นมูลค่ารวม 18.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหลังจากเกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีนและความเสี่ยงจากการ Lockdown ประเทศจาก COVID ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตออกจากจีน นอกจากนี้เวียดนามยังมีแรงงานที่มีคุณภาพ และค่าจ้างแรงงานที่ถูก รวมถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ทางการค้าผ่านการทำข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ จึงเป็นแรงดึงดูดให้เวียดนามเป็นประเทศเนื้อหอมต่อนักลงทุนต่างประเทศ

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2023 ทางรัฐบาลได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปเพียง 35.5% แสดงให้เห็นว่าทางภาครัฐยังคงมีเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกค่อนข้างมากที่ช่วงที่เหลือของปี ซึ่งในปี 2023 รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะอัดฉีดเม็ดเงินอยู่ที่ระดับ 707 Trillion Dong ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนอีกประมาณ 65-70 Trillion Dong ต่อเดือนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

รัฐบาลเวียดนามและธนาคารกลางออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

การปรับลดอัตราดอกเบี้ย – ธนาคารกลางเวียดนามมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินตั้งแต่ต้นปี โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน 3 ครั้งแล้วในปีนี้จากระดับ 6% ลงมาสู่ระดับ 4.5% หลังจากที่เงินเฟ้อของเวียดนามผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว โดยลดลงจากระดับ 4.89% ในเดือนม.ค. มาสู่ระดับ 2.96% ในเดือนสิงหาคม ขณะที่โอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงไปอีกยังคงมีอยู่ แต่ยังคงต้องจับตาอัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงได้อีกหรือไม่

ปรับลดภาษี VATรัฐบาลเวียดนามมีแผนในการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10% มาอยู่ที่ระดับ 8% ตั้งแต่เดือนก.ค. -ธ.ค. 2023 เพื่อเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย โดยเป็นการเพิ่มอำนาจการใช้จ่ายระยะสั้น ทั้งในภาคการบริโภค และกิจกรรมทางธุรกิจ ยกเว้นกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ธนาคาร หลักทรัพย์ ประกันภัยและธุรกิจสื่อสาร

เพิ่มระยะเวลา VISA ท่องเที่ยว – นายกฯรัฐมนตรีของเวียดนามได้มีการสั่งแก้ไขนโยบายเกี่ยวกับวีซ่าใหม่ โดยขยายระยะเวลาของกลุ่มแรกที่ต้องของวีซ่าครอบคุม 80 ประเทศ ในการพำนักในประเทศจากเดิมสูงสุดได้เพียง 30 วัน เป็น 90 วัน กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นวีซ่า 13 ประเทศ จากเดิมที่อยู่ได้ไม่เกิน 15 วัน ขยายเพิ่มเป็น 45 วัน ขณะที่ประเทศจากกลุ่มอาเซียนสามารถอยู่ในเวียดนามโดยไม่ต้องมีวีซ่าได้นานถึง 30 วัน

ผ่อนคลายการควบคุมตลาดตราสารหนี้ – รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมาย “Decree 8/2023” เพื่อบรรเทาความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาฯ โดยอนุญาตให้บริษัทผู้ออกตราสารหนี้ปรับโครงสร้าง และยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปได้ 2 ปี โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นก่อน พร้อมทั้งอนุญาตให้ให้ใช้สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (physical assets) ชำระหนี้ได้ รวมถึงผ่อนคลายความเข้มงวดด้านเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น

 

นักลงทุนรายย่อยกลับเข้าตลาด หลังดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ขณะที่ตลาดหุ้นยังเทรดไม่แพง

ธนาคารเวียดนามหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ประกาศปรับลดเพดานดอกเบี้ยเงินฝาก โดยล่าสุดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือน ปรับตัวลดลงมาจากระดับ 9% ลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 6.50% ขณะเดียวกัน Bond Yield Vietnam 10Y ปรับตัวลดลงจากระดับ 4.63% ในเดือนม.ค. สู่ระดับ 2.66% ในเดือนส.ค. (ข้อมูล 31 ส.ค. 2023) ดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราผลตอบแทนพัธบัตรที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับมาเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น ทำให้ปริมาณการเทรดในตลาดหุ้นเวียดนามกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นเวียดนามยังคงมีปัจจัยหนุนหลายปัจจัย และมองว่าตลาดหุ้นเวียดนามในช่วงนี้ถือเป็นจังหวะที่น่าลงทุน โดยหากพิจารณาจาก Fwd P/E ที่อยู่ที่ระดับ 9.8 เท่า ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับประมาณ 12 เท่า อีกทั้งได้มีการปรับ Earning Growth เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดัชนียังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับ P/E ไม่ได้มีการปรับตัวขึ้นตามมากนัก ส่งผลให้ในปีนี้ตลาดเวียดนามกลายเป็นที่น่าจับตามองและเป็นที่น่าสนใจแก่นักลงทุน

ที่มา : Bloomberg, Vnexpress, Mirae Asset

โอกาสและความท้าทายตลาดพลังงานของกัมพูชา

โดย AEC Connect ธนาคารกรุงเทพ

ตลาดพลังงานของกัมพูชาก็เหมือนกับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายๆ ประเทศที่มีทั้งความท้าทายและโอกาส โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของกัมพูชาในตลอดทศวรรษที่ผ่านมาทำให้อุปสงค์ด้านพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก

หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญในตลาดพลังงานของกัมพูชาคือการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่แข็งแรงและน่าเชื่อถือ ขณะที่ โครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งผลให้พื้นที่ในชนบทไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้

ความท้าทายข้างต้นนับเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชา เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ นอกจากนั้น โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่มีอยู่ก็พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นำเข้าและไฟฟ้าพลังน้ำอย่างหนัก ทำให้กัมพูชาอยู่ในภาวะที่อ่อนแอและถูกโจมตีได้ง่ายจากราคาพลังงานโลกที่ผันผวนและระดับน้ำที่มีความแปรปรวนในแต่ละฤดู

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับนักลงทุนและบริษัทด้านพลังงานต่างๆ เนื่องจากความต้องการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเปิดโอกาสในตลาดนี้ให้แก่บริษัทต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต การส่งผ่านและการจ่ายไฟฟ้า อีกทั้งพันธสัญญาของรัฐบาลที่จะเพิ่มส่วนของพลังงานทดแทนในแผนการผสมผสานพลังงานหลายประเภทของประเทศก็นับเป็นโอกาสของบรรดาบริษัทที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา กัมพูชามีความก้าวหน้าอย่างมากเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งจะเห็นได้ชัดจากที่กัมพูชาเป็นประเทศที่มีแสงแดดมากจึงกลายเป็นแหล่งผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ชั้นเลิศ โดยในปี 2563 กัมพูชาได้เปิดทำการโรงผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขณะที่ พื้นที่ชายฝั่งและบริเวณที่ราบสูงมีศักยภาพอย่างมากด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมซึ่งยังคงมีโอกาสอีกมากมายสำหรับบริษัทต่าง ๆ

แม้ว่าจะมีพัฒนาการเชิงบวก แต่ภาคพลังงานทดแทนในกัมพูชายังคงเผชิญความท้าทายอีกหลายด้าน เช่น การไม่มีกรอบข้อบังคับที่ชัดเจนสำหรับพลังงานทดแทนนั้นถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อความเติบโตของภาคธุรกิจนี้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่สูงของโครงการพลังงานทดแทนและการขาดแคลนทางเลือกแหล่งเงินทุนที่มีราคาเหมาะสมก็เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับบริษัทที่สนใจลงทุนในภาคอุตสาหกรรมนี้

อย่างไรก็ดี รัฐบาลกัมพูชาได้ให้คำมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เหล่านี้ โดยได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตพลังงานทดแทนและกำลังเสาะหาการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมาย รวมถึงกำลังพัฒนากรอบข้อบังคับที่ครอบคลุมซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนมีความชัดเจนและความมั่นคงมากขึ้น

โดยสรุป ตลาดพลังงานของกัมพูชามีความซับซ้อนและเต็มไปด้วยพลังซึ่งจะเห็นได้จากที่มีทั้งความท้าทายและโอกาสอย่างมาก แต่รัฐบาลกัมพูชาจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมการกำกับดูแลที่เหมาะสมและจัดหาการเข้าถึงทางเลือกของแหล่งเงินทุนต่าง ๆ สำหรับนักลงทุน เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ประสบกับความสำเร็จด้านธุรกิจขณะที่กัมพูชาเองก็บรรลุเป้าหมายด้านพลังงานด้วย

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/aec-connect-opportunities-and-challenges-in-cambodias-energy-market

อ้างอิง : Exploring Cambodia’s energy market, challenges and opportunities – Khmer Times (khmertimeskh.com)