เวียดนามเรียกร้องให้สถานะ ‘เศรษฐกิจแบบตลาด’

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นายบุ่ย แทงห์ เซิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนาม และนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

โดยทางรัฐมนตรีต่างประเทศของเวียดนาม กล่าวในที่ประชุมว่าเวียดนามเรียกร้องให้สหรัฐฯ กำหนดสถานะเวียดนามว่าเป็น ‘เศรษฐกิจแบบตลาด’ ในขณะที่ว่าหุ้นส่วนชาวอเมริกัรพูดถึงเวียดนามว่ามีความเข้มแข็ง อิสระ ยืดหยุ่นและเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ และหวังว่าทั้งสองประเทศจะมีความสัมพันธ์ดำเนินไปได้ด้วยดีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเวียดนามเสนอศักยภาพของอุตสาหสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากสหรัฐฯ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ แร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และปัญญาประดิษฐ์ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยยกระดับของเวียดนามในตำแหน่งห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกและเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ อีกด้วย

นอกจากนี้ การลาออกของนายโว วัน เทืองที่ละเมิดและข้อบกพร่องของพรรค ไม่มีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/vietnam-appeals-for-market-economy-status/

‘สี จิ้นผิง’ เยือนเวียดนาม หลังสหรัฐฯกระชับความสัมพันธ์

สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาเยือนเวียดนามในวันที่ 12 ธ.ค. หลังจากผ่านไป 3 เดือนที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน เดินทางมากรุงฮานอย ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้ของผู้นำจีน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ดี การเยือนของจีนในครั้งนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปอีก เนื่องจากมีการหารือที่ยืดเยื้อถึงการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี

นอกจากนี้ มีสัญญาณของการยกระดับความสัมพันธ์ขยับขึ้นไปสู่ระดับที่จีนมองว่าอยู่เหนือความสัมพันธ์สหรัฐฯ-เวียดนาม

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/chinas-xi-visits-vietnam-after-biden-seeks-to-boost-ties

ผู้ประกอบการกัมพูชาคาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

สมาคมนักลงทุนนวัตกรรมและการพัฒนา (IDI) กล่าวว่า ผู้ประกอบการและผู้ผลิตชาวกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารแปรรูปไปยังตลาดสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น หลังผู้ประกอบการกว่า 90 ราย ได้ไปเยือนยังสหรัฐฯ เพื่อสำรวจโอกาสในการหาพันธมิตร เรียนรู้การปฏิบัติตามกฎหมายและขั้นตอนการส่งออก ตลอดจนทำความเข้าใจด้านโอกาสและความท้าทายในการส่งออกผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ โดยการเยือนครั้งนี้จัดขึ้นโดย Innovations and Development Investors Association (IDI) ภายใต้ความร่วมมือกับหอการค้ากัมพูชาในแคลิฟอร์เนีย (AmCham) และผู้ประกอบการกัมพูชา สำหรับตลาดสหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชา คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาที่มูลค่า 6.8 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 9 เดือนแรก ลดลงร้อยละ 2.1 จาก 7 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตทั่วไป (GDCE)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501398041/cambodia-entrepreneurs-foresee-rise-in-exports-of-agri-food-products-to-us/

‘นายกฯ เวียดนาม’ ชวนบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐ ลงทุนในเวียดนามมากขึ้น

นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทชั้นนำของสหรัฐอเมริกาในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 78 โดยมีนายมาร์ค แนปเปอร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำเวียดนาม และจอห์น นิวฟ์เฟอร์ ประธานและซีอีโอของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์สหรัฐฯ (SIA) เข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ นักธุรกิจสหรัฐฯ ยกย่องศักยภาพของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในเวียดนาม ซึ่งมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง รวมถึงมีการส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจในประเทศและสถาบันฝึกอบรม อีกทั้ง นายกฯ เวียดนาม เชิญชวนให้บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ ลงทุนในเวียดนามมากขึ้น ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การออกแบบ การผลิต การฝึกอบรมกำลังคนและสถาบันวิจัย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pm-calls-on-us-semiconductor-firms-to-invest-more-in-vietnam/268253.vnp

‘นายกฯ’ เรียกร้องให้ธุรกิจสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในเวียดนาม

นางเซิ่ง เถา (Sheng Thao) นายกเทศมนตรีเมืองโอ๊คแลนด์ และคณะผู้แทนของรัฐแคลิฟอร์เนีย เข้าร่วมหารือกับนายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ระหว่างการเยือนเวียดนาม โดยนายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณสำหรับความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างเวียดนามและเมืองโอ๊คแลนด์ รวมถึงรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเฉพาะในเรื่องของการค้าและความร่วมมือทางทะเลระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน รัฐแคลิฟอร์เนียถือเป็นหุ้นส่วนท้องถิ่นรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีผู้ประกอบการกว่า 100 รายที่มีโครงการลงทุนในประเทศ พร้อมกับธุรกิจเวียดนามราว 70 รายที่ได้ก่อตั้งกิจการในรัฐแคลิฟอร์เนีย อีกทั้ง นายกฯ เวียดนาม เสนอให้นายกเทศมนตรีเซิ่ง เถา และเจ้าหน้าที่ของรัฐแคลิฟอร์เนีย พยายามพัฒนาความสัมพันธ์กับเวียดนามต่อไป โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้าและความสัมพันธ์ของประชาชนทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/pm-calls-for-u-s-businesses-to-invest-in-vietnam/

“สหรัฐฯ” คว่ำบาตรกระทรวงกลาโหมและธนาคารเมียนมา

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุในถ้อยแถลงว่ากองทัพเมียนมาได้อาศัยทรัพยากรจากต่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานของรัสเซียหลังได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร จึงหันไปซื้อและนำเข้าอาวุธ ชิ้นส่วนและยุทธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อทำการผลิตอาวุธและสนับสนุนการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของกองทัพเมียนมา โดยคาดว่าการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ มีมูลค่าอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในปี 2564 ทั้งนี้ ธนาคารการค้าต่างประเทศของเมียนมา (MFTB) และธนาคารการลงทุนและการพาณิชย์เมียนมา (MICB) โดนคว่ำบาตรเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี โฆษกกองทัพของเมียนมาไม่ได้กังวลต่อการคว่ำบาตรครั้งใหม่ และมองว่าไม่เป็นปัญหาหากมีธนาคารของรัฐเมียนมาก่อตั้งใหม่

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/us-places-sanctions-on-myanmars-defence-ministry-banks/

สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญของกัมพูชา

สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) โดยรายงานของ GDCE ระบุว่าการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 3.19 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 14.3 จากมูลค่า 3.73 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาที่มีมูลค่ารวม 9.18 พันล้านดอลลาร์ สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าสำหรับการเดินทาง แม้ว่าปัจจุบันกัมพูชาจะไม่ได้สิทธิพิเศษของโครงการ GSP จากสหรัฐแล้วก็ตาม โดยในปี 2023 ทางการกัมพูชาคาดว่าสถานการณ์การส่งออกอาจต้องเผชิญกับความยากลำบาก เนื่องจากคำสั่งซื้อโดยภาพรวมลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ มีมูลค่ารวม 6.92 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501307389/us-remains-cambodias-largest-export-market/

Q1 กัมพูชาส่งออกไปยังสหรัฐฯ แตะ 2.5 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่ารวมกว่า 2,499 ล้านดอลลาร์ ไปยังสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยสำนักงานสำมะโนสหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 90 ล้านดอลลาร์ ลดลงเช่นกันที่ร้อยละ 10.9 โดยในเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียว การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมสูงถึง 856 ล้านดอลลาร์ สำหรับการนำเข้าของกัมพูชา มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 22 ล้านดอลลาร์ ซึ่งก่อนหน้านี้กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษ GSP จากสหรัฐฯ โดยสิทธิพิเศษดังกล่าวหมดอายุไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณามอบสิทธิพิเศษอีกครั้ง ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป และสินค้าต่างๆ เช่น รองเท้า จักรยาน และเฟอร์นิเจอร์ ภายใต้สิทธิพิเศษทางการค้า สำหรับสินค้านำเข้าสำคัญของกัมพูชาจากสหรัฐฯ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501286675/cambodias-q1-export-to-us-tops-2-5-billion/

สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา แม้ว่าการส่งออกจะลดลงก็ตาม

สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 34.4 แม้ว่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังต่างประเทศจะลดลงร้อยละ 20.2 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี ที่มูลค่ากว่า 1.12 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ขณะที่ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2022 เวียดนามถือเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของกัมพูชา ที่มูลค่า 491 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวกว่าร้อยละ 36.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งปัจจุบันเวียดนามกินสัดส่วนการส่งออกของกัมพูชาคิดเป็นร้อยละ 15 ของการส่งออก สวนทางกันกับการส่งออกของกัมพูชาไปยังจีน ซึ่งเคยเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในอดีต โดยปัจจุบันครองสัดส่วนร้อยละ 6 ของการส่งออก รองจากญี่ปุ่นและไทย ซึ่งคาดว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP), ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับจีนและเกาหลีใต้ จะเป็นส่วนช่วยให้กัมพูชาขยายตลาดการส่งออกได้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501255716/us-remains-cambodias-biggest-market-despite-declining-exports/

ครึ่งปี 65 สหรัฐฯ เร่งนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจากตลาดเวียดนาม

ตามตัวเลขทางสถิติ เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 เวียดนามส่งออกข้าวอยู่ที่ระดับประมาณ 4.19 ล้านตัน คิดเป็นรายได้ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณและมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น 20.5% และ 9% ตามลำดับ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าอยู่ในระดับการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในด้านการส่งออกข้าว แต่สินค้าเวียดนามยังคงได้รับความนิยมในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ แหล่งนำเข้าข้าวเวียดนาม พบว่าสหรัฐฯ นำเข้าข้าวเวียดนามมากที่สุด เพิ่มขึ้น 63.3% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 รองลงมาฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการบริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 44.5% ของส่วนแบ่งตลาดรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/us-increases-rice-imports-from-vietnamese-market-in-first-half-post961046.vov