โรงงาน 11 แห่งผลิตปูนซีเมนต์ได้ 8 ล้านตันต่อปี

U Than Zaw Htay กรรมการผู้จัดการบริษัท No 1 Heavy Industries Enterprise และ No 2 Heavy Industries Enterprise ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โรงงานปูนซีเมนต์ 11 แห่งผลิตปูนซีเมนต์ได้มากกว่า 8 ล้านตันต่อปี โดยภาคเอกชนมีโรงงานปูนซีเมนต์ 16 แห่ง ขณะที่รัฐฯดูแล 3 แห่ง หากโรงงานทั้งหมดเปิดดำเนินการ จะสามารถผลิตปูนซีเมนต์รวมกันได้มากกว่า 16 ล้านตัน อย่างไรก็ดี การบริโภคในท้องถิ่นต่อปีอยู่ที่ประมาณ 10-11 ล้านตัน U Than Zaw Htay กล่าวว่า “เราสามารถตอบสนอง 2 ใน 3 ของความต้องการในท้องถิ่นได้ โดยในปัจจุบัน No 33 Heavy Industry (Kyaukse) ผลิต 5,000 ตันต่อวัน รวม 1.8 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566-2567 นอกจากนี้ ในแต่ละปี บริษัทจัดหาปูนซีเมนต์จำนวน 70,000 ตันสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการอุตสาหกรรมหนัก 31 (Thayet) และอุตสาหกรรมหนัก 32 (Kyangin)”

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/11-factories-produce-8-million-tonnes-of-cement-annually/

รัฐมนตรีสหภาพอุตสาหกรรมหารือเรื่องการยกระดับพืชน้ำมันเพื่อการบริโภค การผลิตฝ้าย และผลผลิตของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า

วานนี้ ดร. ชาร์ลี ธาน รัฐมนตรีสหภาพอุตสาหกรรมกล่าวว่า สภาบริหารแห่งรัฐได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจจัดการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาโรงงานน้ำมันขึ้น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีหน้าที่จัดหาเงินกู้เพื่อยกระดับและขยายโรงงานน้ำมันเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันบริโภคและลดการพึ่งพาการนำเข้า ทั้งนี้ การรีไซเคิลน้ำมันบริโภคบางชนิด ยกเว้นน้ำมันสกัดเย็นบริสุทธิ์และน้ำมันสกัดเย็น ผู้ประกอบการอาจสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันได้ และยังเน้นย้ำว่ากระบวนการผลิตจะต้องเป็นไปตาม GMP และได้รับการอนุมัติจาก อย. นอกจากนี้ ตามสถิติ สวนฝ้ายที่ตอบโจทย์การบริโภคในท้องถิ่น มีกระทรวงดำเนินการโรงงานฝ้าย 16 แห่ง และภาคเอกชนมี 191 แห่ง สำหรับโรงงานฝ้ายและตัดเย็บเสื้อผ้าโดยกระทรวงมี 14 แห่ง ซึ่ง 2 แห่งในนั้นให้เช่าโดยนักธุรกิจ ในขณะที่ภาคเอกชนดำเนินการโรงงาน 9 แห่ง รวมถึง รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังได้สั่งการซ่อมแซมโรงปั่นฝ้ายเพื่อเพิ่มการผลิต การจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มรายได้ การสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบการ MSME เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของโรงงาน การจัดการการเพิ่มการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรอัตโนมัติ การจัดการให้เต็มกำลังการผลิต เครื่องจักร โกดังวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป และการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับกระบวนการผลิตฝ้าย และสนับสนุนให้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/industry-union-minister-talks-to-elevate-edible-oil-crops-cotton-production-productivity-of-garment-factories/

เบี้ยประกันชีวิตรวมในกัมพูชาขยายตัวกว่า 8% ในเดือนมกราคม

เบี้ยประกันชีวิตรวมของกัมพูชาขยายตัวกว่าร้อยละ 8 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 40 ล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงเดือนมกราคม 2024 รายงานโดยสำนักงานกำกับดูแลประกันภัยของกัมพูชา (IRC) ขณะที่ปริมาณการเคลมทั้งหมดที่บริษัทประกันภัยจ่ายออกไปในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 คิดเป็นมูลค่า 5.2 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่า 3.3 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับตลาดประกันภัยกัมพูชาปัจจุบันมีบริษัทประกันภัยทั่วไป 18 แห่ง บริษัทประกันชีวิต 14 แห่ง บริษัทประกันภัยรายย่อย 7 แห่ง และบริษัทรับต่อประกันภัย 1 แห่ง โดยภาคประกันภัยของกัมพูชาเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งอุตสาหกรรมประกันภัยในช่วงปี 2023 มีมูลค่าเบี้ยประกันภัยรวม 342 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501468052/insurance-gross-premium-rises-8-percent-to-over-40m-in-january/

นักลงทุนเรียกร้องให้สนับสนุนเป้าหมายด้านพลังงานในกัมพูชา

ทางการกัมพูชายินดีกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการลงทุนจากทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตพลังงานทดแทนที่เป้าหมายร้อยละ 70 ของกำลังการผลิต และการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด (TFEC) ลดลงร้อยละ 19 กล่าวโดย Keo Rottanak รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ซึ่งพร้อมที่จะสนับสนุนนักลงทุนในภูมิภาค โดยได้กล่าวไว้ในการประชุมสุดยอดธุรกิจกัมพูชา-อาเซียนประจำปี 2024 ขณะที่เป้าหมายของกัมพูชาคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 จะบรรลุเป้าหมายทางด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการกำหนดกลยุทธ์ 4 ประเด็น เพื่อบรรลุเป้าหมายพลังงานสีเขียว โดยเน้นไปที่การเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงประเทศกำลังสร้างโครงข่ายที่ยืดหยุ่นซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับสภาวะและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำให้การซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนเป็นจริง ไปจนถึงการผลักดันให้กัมพูชามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (EVS) ซึ่งคาดว่ารถยนต์ร้อยละ 40 และรถจักรยานยนต์ร้อยละ 70 ในกัมพูชาจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2050

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501466705/investors-urged-to-support-kingdoms-energy-goals/

‘เวียดนาม’ เผยผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสแรกปี 66 ขยายตัว 6%

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) รายงานว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 2567 ขยายตัว 6.18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยการเติบโตของผลผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าว ส่งผลให้มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจขยายตัว 2.02% ทั้งนี้สาขาการผลิตและแปรรูปของอุตสาหกรรมเป็นหัวใจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่รายได้จากการค้าปลีกและบริการในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ มีมูลค่าที่ 61.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน

นอกจากนี้ นาย เหงียน ซิน นัท ตัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าผลลัพธ์ดังกล่าว สาเหตุมาจากมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล การส่งเสริมการเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐและโครงการอุตสาหกรรม รวมถึงการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีส่วนช่วยปรับปรุงกำลังการผลิตในประเทศอีกด้วย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/industrial-production-expands-over-6-year-on-year-in-q1-moit-post1085962.vov

กัมพูชา-สปป.ลาว ขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้า

นายกรัฐมนตรี ฮุน มานิต ของกัมพูชา และนายกรัฐมนตรี Sonexay Siphandone แห่ง สปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง 3 ฉบับ และ บันทึกความเข้าใจ (MoUs) อีก 4 ฉบับ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งมุ่งเน้นการขยายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ด้านการค้าพลังงานไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานในกัมพูชา โดยทั้งสองท่านได้ร่วมเป็นประธานในการลงนามเอกสารทั้งเจ็ดฉบับ ซึ่งห้าฉบับเป็นความตกลงด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของกัมพูชา โดยเฉพาะโครงการระหว่างกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน (MME) และ การไฟฟ้าแห่งประเทศ สปป.ลาว (EDL) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อซื้อพลังงานสีเขียวจากโครงการ Green Energy Supply ซึ่งวางแผนจัดหาพลังงานมายังกัมพูชา 1,000 เมกะวัตต์ จากโครงการพลังงานน้ำ พลังงานลม และ พลังงานความร้อนใต้พิภพ (พลังงานหมุนเวียนที่ได้จากแก่นโลก) มายังกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501462332/kingdom-laos-agree-to-widen-energy-cooperation/

กัมพูชาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 18% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 988,574 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยมากที่สุดที่จำนวน 247,530 คน รองลงมาคือ เวียดนาม 185,385 คน และ จีน 109,990 คน สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่าร้อยละ 42 เดินทางเข้าประเทศทางเครื่องบินขยายตัวกว่าร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาที่เดินทางออกนอกประเทศลดลงปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.9 ที่จำนวน 262,580 คน สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาในปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักที่สำคัญทางเศรษฐกิจของกัมพูชา นอกเหนือจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวมีความพยายามเป็นอย่างมากที่จะเชื่อมโยงตลาดเป้าหมายสำคัญ โดยการจัดหาเที่ยวบินตรงมายังกัมพูชาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมายังกัมพูชามากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501460336/foreign-tourist-arrivals-go-up-18-in-jan-feb/

ไทยอันดับ 1 ประเทศผู้ผลิตยานยนต์มากที่สุดในอาเซียน ด้านการแพทย์ดีที่สุดระดับโลก

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศวิสัยทัศน์ 8 ด้าน ให้ไทยก้าวขึ้นเป็นที่ 1 ในภูมิภาค มุ่งมั่นส่งเสริมทุกด้านที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ และเป็นด้านที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) และศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness Hub) ทั้งนี้ เห็นความคืบหน้าจาก ไทยครองอันดับ 1 ประเทศผลิตรถยนต์มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2566 และผลการจัดอันดับ 250 โรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลกประจำปีพ.ศ. 2567 (250 World’s Best Hospitals 2024) ที่จัดให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของไทย อยู่ในอันดับที่ 130 (สูงกว่าปีที่แล้วที่เคยอยู่ในอันดับที่ 182)

ที่มา : https://www.naewna.com/politic/795150#google_vignette

รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจสอบโรงงานเครื่องจักรกลการเกษตร Myanma ในเมือง Kyaukse

ดร. ชาร์ลี ตัน รัฐมนตรีสหภาพอุตสาหกรรม พร้อมด้วยอู เมียว ออง หัวหน้าคณะรัฐมนตรีประจำเขตมัณฑะเลย์ และพรรคการเมือง ได้ตรวจสอบโรงงานเครื่องจักรกลการเกษตรเมียนมา ในเมืองจ็อกเซ เขตมัณฑะเลย์ โดยผู้จัดการโรงงานได้อธิบายกระบวนการวิจัยและพัฒนาเครื่องย้ายปลูกข้าว ด้านรัฐมนตรีสหภาพย้ำถึงความสำคัญของอุปกรณ์การเกษตรเนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศเกษตรกรรม การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลางสามารถช่วยลดการนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งช่วยประหยัดการใช้เงินตราต่างประเทศได้  อย่างไรก็ดี เขายังกล่าวถึงความพยายามของเขตอุตสาหกรรมมัณฑะเลย์ในการผลิตเครื่องหีบฝ้ายแบบลูกกลิ้งคู่สำหรับแยกสำลีออกจากเมล็ด แม้ว่าประเทศจะมีการผลิตฝ้ายอย่างเพียงพอ แต่เครื่องจักรที่ไม่เพียงพอก็ขัดขวางศักยภาพในการเป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตฝ้าย นอกจากนี้ รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของโรงงานฝ้ายในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น เส้นด้ายและเสื้อผ้า นอกจากนี้เขายังเน้นย้ำถึงศักยภาพในการผลิตน้ำมันบริโภคจากเมล็ดฝ้าย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moi-um-inspects-myanma-agricultural-machinery-factory-in-kyaukse/#article-title

ส.อ.ท. ร้องรัฐบาลสกัดเหล็กจากจีน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมของประเทศไทยกำลังเผชิญกระแสสินค้าจากจีนเข้ามาแย่งตลาด โดยอุตสาหกรรมเหล็กเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดจากการทุ่มตลาดและการทะลักของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กจากจีน จนการใช้กำลังการผลิตเหล็ก ในปี 2566 ตกต่ำเหลือเพียง 31% เท่านั้น และแนวโน้มยังแย่ลงอีกในปีนี้จนเป็นที่น่ากังวลยิ่งว่าหากภาครัฐยังดำเนินการต่างๆไม่ทันการณ์ โรงงานเหล็กไทยจะต้องปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานอีกจำนวนมาก ส.อ.ท.จึงได้นำเสนอแนวทางแก้ไขวิกฤติอุตสาหกรรมเหล็กต่อรัฐบาล ดังนี้ 1.กระทรวงอุตสาหกรรม ใช้มาตรการห้ามตั้ง ห้ามขยายโรงงานเหล็ก โดยมุ่งไปที่เหล็กที่มีกำลังการผลิตมากล้นเกินความต้องการ รวมทั้งบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ควบคุมคุณภาพส่วนประกอบของสินค้าโครงสร้างสำเร็จรูป 2.กระทรวงพาณิชย์ไต่สวนและบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (CVD) อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล และพิจารณาความจำเป็นในการใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard : SG) โดยเก็บอากร SG สินค้าเหล็กทุกประเภทสูงถึง 25% 3.ปรับปรุง/แก้ไข พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ให้มีการบังคับใช้มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) 4.ขยายผลใช้มาตรการใช้สินค้าเหล็กที่ผลิตภายในประเทศจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไปยังการก่อสร้างประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ด้านนายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และผู้แทนกลุ่ม 10 สมาคมเหล็ก เปิดเผยว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเหล็กวิกฤติยิ่งขึ้น จากเหล็กจีนทะลักเข้ามาไทยทั้งการทุ่มตลาด การอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเหล็กไทยซึ่งมีการจ้างงานทั้งระบบกว่า 330,000 คน ได้รับผลกระทบรุนแรงจนบางโรงงานต้องปิดกิจการและเลิกจ้าง 10 สมาคมเหล็กจึงได้เร่งประสานทำงานร่วมกับกระทรวงต่างๆ เพื่อให้มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหาวิกฤติอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้วิจัยพบว่าการผลิตเหล็กในประเทศไทยที่หายไปทุกๆ 1 แสนตัน จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของไทย ลดลง 0.19% และอัตราการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหล็กลดลง 1.2%

ภาพจาก : Thaipubilca

ที่มา : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2766803