ส.อ.ท. ร้องรัฐบาลสกัดเหล็กจากจีน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมของประเทศไทยกำลังเผชิญกระแสสินค้าจากจีนเข้ามาแย่งตลาด โดยอุตสาหกรรมเหล็กเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดจากการทุ่มตลาดและการทะลักของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กจากจีน จนการใช้กำลังการผลิตเหล็ก ในปี 2566 ตกต่ำเหลือเพียง 31% เท่านั้น และแนวโน้มยังแย่ลงอีกในปีนี้จนเป็นที่น่ากังวลยิ่งว่าหากภาครัฐยังดำเนินการต่างๆไม่ทันการณ์ โรงงานเหล็กไทยจะต้องปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานอีกจำนวนมาก ส.อ.ท.จึงได้นำเสนอแนวทางแก้ไขวิกฤติอุตสาหกรรมเหล็กต่อรัฐบาล ดังนี้ 1.กระทรวงอุตสาหกรรม ใช้มาตรการห้ามตั้ง ห้ามขยายโรงงานเหล็ก โดยมุ่งไปที่เหล็กที่มีกำลังการผลิตมากล้นเกินความต้องการ รวมทั้งบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ควบคุมคุณภาพส่วนประกอบของสินค้าโครงสร้างสำเร็จรูป 2.กระทรวงพาณิชย์ไต่สวนและบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (CVD) อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล และพิจารณาความจำเป็นในการใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard : SG) โดยเก็บอากร SG สินค้าเหล็กทุกประเภทสูงถึง 25% 3.ปรับปรุง/แก้ไข พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ให้มีการบังคับใช้มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) 4.ขยายผลใช้มาตรการใช้สินค้าเหล็กที่ผลิตภายในประเทศจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไปยังการก่อสร้างประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ด้านนายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และผู้แทนกลุ่ม 10 สมาคมเหล็ก เปิดเผยว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเหล็กวิกฤติยิ่งขึ้น จากเหล็กจีนทะลักเข้ามาไทยทั้งการทุ่มตลาด การอุดหนุน และการหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเหล็กไทยซึ่งมีการจ้างงานทั้งระบบกว่า 330,000 คน ได้รับผลกระทบรุนแรงจนบางโรงงานต้องปิดกิจการและเลิกจ้าง 10 สมาคมเหล็กจึงได้เร่งประสานทำงานร่วมกับกระทรวงต่างๆ เพื่อให้มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหาวิกฤติอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้วิจัยพบว่าการผลิตเหล็กในประเทศไทยที่หายไปทุกๆ 1 แสนตัน จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของไทย ลดลง 0.19% และอัตราการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหล็กลดลง 1.2%

ภาพจาก : Thaipubilca

ที่มา : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2766803

‘เวียดนาม’ เผยไตรมาสแรก ปี 65 อุตสาหกรรมเหล็ก ขาดดุลการค้า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) เปิดเผยไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 อุตสาหกรรมเหล็กได้นำเข้า 3 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าราว 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่ประมาณ 5% แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว เป็นผลมาจากพัฒนาเรื่องระบบการเมืองการปกครองที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต นอกจากนี้ ยอดขายเหล็กสำเร็จรูป 8,137 ตัน เพิ่มขึ้น 11.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปริมาณการใช้เหล็กเพิ่มสูงขึ้นจากการลงทุนของภาครัฐในโครงการใหม่ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและวิศวกรรมก่อสร้าง ทำให้ต้องนำเข้าเหล็กมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/steel-industry-posts-trade-deficit-of-us-800-million-in-first-quarter-post939405.vov

โรงถลุงเหล็กในเมียนมากำลังรอการลงทุน

กระทรวงแผนงาน การเงิน และอุตสาหกรรม กำลังมองหาการการลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนโรงงานเหล็กของมยินจาน เมืองมยินจานในเขตมัณฑะเลย์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตันต่อปี ตอนนี้นิติบุคคลของรัฐที่ดำเนินงานในมยินจาน คือ Heavy Industrial Enterprise กำลังมองหานักลงทุนเข้าร่วมลงทุน คาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 225 พันล้านจัตในการดำเนินการรวมทั้งนักลงทุนกำลังหาทางช่วยโรงงานให้เสร็จและดำเนินการ ปัจจุบันมีการนำเข้าเหล็กถึง 90% ของประเทศและอีก 10% มาจากการผลิตเองในท้องถิ่น สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณการว่าความต้องการใช้เหล็กของเมียนมาจะยังคงขยายตัวในอัตรา 8% ต่อปีโดยความต้องการใช้เหล็กในประเทศอาจเกิน 3 ล้านตันในปี 2563 และสูงถึง 5 ล้านตันในปี 2568

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/state-owned-steel-mill-seeks-investors.html

นโยบายใหม่ต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กเมียนมา

บริษัท ผู้ผลิตเหล็กระหว่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาว่า กำลังมองหาโอกาสเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านการผลิตเหล็กในมีเพียง 50,000 ตัน แต่ยังมีศักยภาพมากเนื่องจากประเทศยังต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากซึ่งต้องใช้เหล็ก โอกาสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จึงมีแนวโน้มที่ดี คาดเติบโต 7% โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก ตลาดจะพัฒนาหากมีการสนับสนุนการผลิตเหล็ก ตอนนี้ส่วนใหญ่นำเข้าเป็นหลักซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมท้องถิ่น ความต้องการอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านถึง 2.5 ล้านตันต่อปี มากกว่า 90 % จากการนำเข้า อีกไม่กี่ปีความต้องการเหล็กจะเพิ่มขึ้นและทำไมต้องนำเข้าทั้งที่ผลิตได้เอง แต่ปัญหาคือการนำเข้าได้รับการยกเว้นภาษีซึ่งทำให้แข่งขันได้ยาก การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากเวียดนามซึ่งได้รับการปกป้องด้วยนโยบายและกฎระเบียบ หากนโยบายที่คล้ายคลึงกันถูกนำไปใช้ในการผลิตเหล็กในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึงห้าเท่าคือ 50,000, 000 ตันภายในสิบปี หากการผลิตเหล็กเติบโตขึ้นจะสามารถยับยั้งการไหลออกของเงินสำรองต่างประเทศและกลายเป็นผู้ส่งออกเหล็กได้ สามารถเพิ่มการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-policies-needed-unleash-growth-steel-industry.html