โรงงาน 11 แห่งผลิตปูนซีเมนต์ได้ 8 ล้านตันต่อปี

U Than Zaw Htay กรรมการผู้จัดการบริษัท No 1 Heavy Industries Enterprise และ No 2 Heavy Industries Enterprise ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โรงงานปูนซีเมนต์ 11 แห่งผลิตปูนซีเมนต์ได้มากกว่า 8 ล้านตันต่อปี โดยภาคเอกชนมีโรงงานปูนซีเมนต์ 16 แห่ง ขณะที่รัฐฯดูแล 3 แห่ง หากโรงงานทั้งหมดเปิดดำเนินการ จะสามารถผลิตปูนซีเมนต์รวมกันได้มากกว่า 16 ล้านตัน อย่างไรก็ดี การบริโภคในท้องถิ่นต่อปีอยู่ที่ประมาณ 10-11 ล้านตัน U Than Zaw Htay กล่าวว่า “เราสามารถตอบสนอง 2 ใน 3 ของความต้องการในท้องถิ่นได้ โดยในปัจจุบัน No 33 Heavy Industry (Kyaukse) ผลิต 5,000 ตันต่อวัน รวม 1.8 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566-2567 นอกจากนี้ ในแต่ละปี บริษัทจัดหาปูนซีเมนต์จำนวน 70,000 ตันสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการอุตสาหกรรมหนัก 31 (Thayet) และอุตสาหกรรมหนัก 32 (Kyangin)”

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/11-factories-produce-8-million-tonnes-of-cement-annually/

เมียนมานำเข้าปูนซีเมนต์กว่า 16,400 ตัน เป็นมูลค่า 1.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์ในเดือนกันยายน ที่ผ่านมา เมียนมามีการนำเข้าปูนซีเมนต์ทั้งหมดกว่า 16,400 ตัน โดยผ่านช่องทางหลัก ได้แก่ การนำเข้าทางเรือประมาณ 400 ตัน แบ่งเป็น 250 ตันจากมาเลเซีย และกว่า 150 ตันจากจีน คิดเป็นมูลค่ารวม 0.075 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้าผ่านทางชายแดนกว่า 16,000 ตัน จากประเทศไทย คิดเป็นมูลค่ารวม 1.365 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เมียนมามีการนำเข้าปูนซีเมนต์ทางเรือมากกว่า 3,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.302 ล้านเหรียญสหรัฐ  และนำเข้าปูนซีเมนต์ผ่านทางชายแดน ประมาณ 20,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.585 ล้านเหรียญสหรัฐ  รวม 23,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.887 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ จากการนำเข้าปูนซีเมนต์ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น คาดว่าธุรกิจก่อสร้างมีแนวโน้มจะเติบโตได้ดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-imports-over-16400-tonnes-of-cement-worth-us1-44-mln-in-sept/

โรงงานปูนซีเมนต์ในอุดมไซ สปป.ลาว ตั้งเป้าผลิต 2 ล้านตันต่อปี

โรงงานปูนซีเมนต์ Oudomxay Jiangge ในจังหวัดอุดมไซ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์รายใหญ่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว ได้กำหนดเป้าหมายการผลิตไว้ที่ 2 ล้านตันต่อปี ด้วยเงินลงทุนมากกว่า 2 ล้านล้านกีบ ภายใต้อุปกรณ์การผลิตและเทคโนโลยีการแปรรูปที่ทันสมัยระดับโลก โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2017 บริษัท Guizhou Jiangge Cement Co., Ltd. เริ่มเข้าลงทุนด้วยการซื้อกิจการโรงงานปูนซีเมนต์ในอุดมไซและโรงงานปูนซีเมนต์ในหลวงพระบาง ซึ่งบริษัทยังได้รับการขึ้นทะเบียนภายใต้โครงการสำคัญอย่าง Belt and Road Initiative ที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ด้านนาย Lin Peiliang ประธาน บริษัท Oudomxay Jiangge Cement กล่าวเสริมว่าบริษัทไม่เพียงแต่จะมีเป้าหมายเพื่อเป็นผู้นำด้านการผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของ สปป.ลาว แต่ยังมุ่งส่งออกไปยังประเทศจีน ไทย และเวียดนาม ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten116_Oudomxay.php

เมียนมานำเข้าปูนซีเมนต์ผ่านชายแดนทะลุ 4,200 ตัน

เดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา เมียนมานำเข้าปูนซีเมนต์จากไทยผ่านชายแดนกว่า 4,200 ตัน มูลค่า 0.338 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้าจากมาเลเซียทางทะเลจำนวน 130 ตัน มูลค่า 0.024 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2565 มีการนำเข้าปูนซีเมนต์ทั้งหมดรวม 2,800 ตัน มูลค่า 0.272 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการนำเข้าจากไทย  2,600 ตัน, มาเลเซีย 130 ตัน, จีน 120 ตัน และฝรั่งเศส  2 ตัน ณ ปัจจุบัน ราคาปูนซีเมนต์ภายในประเทศยังอยู่ในสภาวะทรงตัว โดยราคาปูนตรา Two Rhinoceros (Red) อยู่ที่ 9,600 จัตต่อกระสอบ, ปูนตราช้างของไทยอยู่ที่ 14,500 จัตต่อกระสอบ และส่วนปูนตรา Rhino (blue) อยู่ที่  9,300 จัตต่อกระสอบ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/over-4200-tonnes-of-cement-worth-us0-338-million-imported-via-border-trade/

ยอดขายซีเมนต์ของเวียดนาม ‘พุ่ง’ แม้เผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19

นาย Luong Duc Long เลขาธิการสมาคมปูนซีเมนต์เวียดนาม (VNCA) เปิดเผยว่ายอดขายซีเมนต์ของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปีนนี้ แตะ 707 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ โดยจากจำนวนทั้งหมดนั้น ปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 27.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 12% เนื่องจากกำลังซื้อของตลาดส่งออกหลักหลายประเทศกลับมาฟื้นตัว เช่น สหรัฐฯ แคนาดาและจีน อีกทั้ง ความต้องการผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ในตลาดข้างต้นเพิ่มขึ้นและแนวโน้มของราคาซีเมนต์ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการบริโภคในประเทศกลับลดลงเพียงเล็กน้อย 5% อยู่ที่ 43.54 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญ มองว่าการส่งออกยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตอุตสาหกรรมซีเมนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และความแข็งแกร่งของการส่งออกซีเมนต์ของเวียดนามนั้น เป็นผลมาจากจีนปิดโรงงานซีเมนต์ สาเหตุสำคัญมาจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1035871/sales-of-vietnamese-cement-products-rise-amid-covid-19-pandemic.html

เวียดนามเผยยอดการบริโภคปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้น 2.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ตามตัวเลขสถิติของกระทรวงการก่อสร้าง ระบุว่าในเดือนมีนาคม ยอดการบริโภคผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ แตะ 8.87 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ยอดการบริโภคซีเมนต์รวมอยู่ที่ 21.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งบริโภคในประเทศ 13.48 ล้านตัน และส่งออกซีเมนต์ 3.59 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9.5% ในขณะที่ยอดการส่งออกปูนเม็ดราว 4.53 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.3 เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ มองว่าแม้การบริโภคซีเมนต์เติบโตช้าที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การบริโภคคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ท่ามกลางการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแนวโน้มเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น คาดว่าการผลิตซีเมนต์จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่จะดำเนินการในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/9784502-cement-consumption-increases-by-2-6-over-the-same-period.html

‘SCG’ ตั้งเป้าให้ความสำคัญกับตลาดเวียดนามสูงสุด อีกไม่กี่ปีข้างหน้า

Nikkei Asian เผยบทสัมภาษณ์ของคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่าประเทศเวียดนามเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจ “อีกไม่กี่ปีข้างหน้า” ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% ถึงแม้ว่ารายได้จะปรับตัวลดลง แต่คาดว่าธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่ากลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้เริ่มขยายธุรกิจในภูมิภาค โดยเวียดนามเป็นศูนย์กลางเชิงกลยุทธ์ในปี 2535 จนถึงในไตรมาสแรกของปี 2560 บริษัทมีแหล่งปฏิบัติการ 22 แห่งในเวียดนาม และมีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 8,600 คน ดังนั้น บริษัทได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความสนใจและมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาคนเวียดนามให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประเด็นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 พบว่า“สำหรับธุรกิจของ SCG บางส่วนได้รับผลกระทบและบางส่วนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก” จำนวนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ล้วนลดลง ตลอดจนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่มีสัดส่วนของยอดขายมากที่สุดของบริษัท ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากโควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจว่ารายได้เพียงพอ การซื้อบ้านและคอนโดมีเนียมเกิดหยุดชะงักลง

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-is-top-priority-for-siam-cement-in-coming-years-ceo-30185.html

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คาดว่ายอดขายในประเทศพุ่ง แต่ส่งออกชะลอตัว

ตามรายงานของ SSI Research เปิดเผยว่าความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปี 63 โดยยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ล้วนส่งผลให้ความต้องการปูนซีเมนต์พุ่ง ในขณะที่การส่งออกปูนซีเมนต์ คาดว่าอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง/ทรงตัว เนื่องจากความต้องการนำเข้าของจีนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการเติบโตสูงขึ้นในปี 63 เป็นผลมาจากอุปทานปูนซีเมนต์ของจีนที่กำลังค่อยๆฟื้นตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตรวมของอุตสาหกรรมดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น 7 ล้านตัน หรือ 7% เนื่องจากสายการผลิตใหม่ที่เริ่มเปิดดำเนินการในปลายปี 63 และต้นปีนี้ สำหรับการส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้น พบว่าอุตฯ พึ่งพาตลาดจีนค่อนข้างมาก และสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการปรับนโยบายการคลังที่เข็มงวดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/855281/cement-industry-domestic-sale-forecast-to-increase-but-export-to-slowdown.html

เวียดนามเผยส่งออกซีเมนต์และปูนเม็ดพุ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

จากรายงานอุตสาหกรรมซีเมนต์ในประเทศที่เผยแพร่โดยบริษัท FPT Securities Joint ระบุว่าปริมาณการส่งออกซีเมนต์และปูนเม็ดของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 30 เท่าในปี 2553-2562 มีสัดส่วนร้อยละ 32 ของการบริโภครวม และการส่งออกสินค้าดังกล่าวมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าการส่งออกจะอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่ส่งออกปูนเม็ดและวัตถุดิบที่ทำมาจากซีเมนต์ ทั้งนี้ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 38.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งราคาส่งออกต่ำกว่าในประเทศร้อยละ 10 เป็นผลมาจากธุรกิจต้องลดราคา เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งตลาดต่างประเทศได้ นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกซีเมนต์กว่า 28 ล้านตันในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ในแง่ของปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และในแง่ของมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/cement-and-clinker-exports-skyrocket-over-past-decade-812483.vov

เวียดนามคาดความต้องการใช้ปูนซีเมนต์โต 4-5% ในปีนี้

จากข้อมูลของกระทรวงก่อสร้างเวียดนาม คาดความต้องการใช้ซีเมนต์ในปีนี้เติบโตร้อยละ 4-5 จากการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยความต้องการใช้ซีเมนต์คาดอยู่ที่ 101-103 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4-5 ในปีก่อน หากจำแนกแหล่งที่มาของการใช้ซีเมนต์ พบว่าปริมาณการใช้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศราว 69-70 ล้านตัน และส่งออกไปยังต่างประเทศ 32-34 ล้านตัน ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมวัสดุก่อสร้างคาดว่ามีปูนซีเมนต์อยู่ 2 สายการผลิตในปีนี้ ส่งผลให้จำนวนสายการผลิตซีเมนต์ทั้งหมดของเวียดนามอยู่ที่ 86 ของผลผลิตรวม หรือปริมาณผลผลิต 105.84 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ตลาดวัสดุก่อสร้างในปีนี้ยังคงอยู่ในสถานการณ์ปกติ/ไม่เปลี่ยนแปลงจากในปีก่อนและอาจชะลอตัว สำหรับอุปสรรคของผู้ประกอบการซีเมนต์ในปัจจุบัน ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิงและค่าแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งมีการหยิบข้อเสนอการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ผลิตซีเมนต์ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ระบุว่าการส่งออกซีเมนต์จากจีนและไทยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายในการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดโลก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592356/cement-demand-forecast-to-climb-4-5-this-year.html