กัมพูชาส่งออกยางพาราขยายตัวกว่า 5.1% ในช่วงไตรมาสแรกของปี

กัมพูชาส่งออกยางแห้งปริมาณรวมกว่า 69,322 ตัน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2024 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 จาก 65,921 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของ General Directorate of Rubber โดยส่งออกไปยังจีนที่มูลค่ารวมถึง 100.5 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากมูลค่า 92.9 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคายางแห้งในปัจจุบัน 1 ตัน มีราคาเฉลี่ย 1,450 ดอลลาร์ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 41 ดอลลาร์ต่อตัน ด้านการเพาะปลูกยางพาราของกัมพูชาในปัจจุบันมีทั้งหมด 407,172 เฮกตาร์ โดยต้นยางบนพื้นที่ 320,184 เฮกตาร์หรือร้อยละ 79 มีอายุมากพอที่จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501478623/cambodias-rubber-export-up-5-1-pct-in-q1/

ราคาทุเรียนไทยสูงครองตลาด

ทุเรียนจากประเทศไทย ปัจจุบันครองตลาดทุเรียนในประเทศเมียนมา เนื่องจากมีราคาสูง ซึ่งมีราคาโดยทั่วไปอยู่ที่ 40,000-50,000 จ๊าดต่อลูก ทั้งนี้ ในตลาดย่างกุ้ง ราคาทุเรียนไทยตอนนี้มีตั้งแต่ขั้นต่ำ 20,000 จ๊าดต่อลูกไปจนถึงมากกว่า 100,000 จ๊าดต่อลูก ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ดี พ่อค้าในตลาดย่างกุ้งยังระบุว่า แม้ทุเรียนไทยมีจะได้รับความนิยมมากในตลาดทุเรียนในประเทศ แต่เนื่องจากมีราคาแพงเมื่อเทียบกับทุเรียนเมียนมา จึงทำให้ยอดขายทุเรียนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ทุเรียนของเมียนมามีราคาถูกกว่าและจะเริ่มมีผลิตมากขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่ายอดขายทุเรียนพันธุ์เมียนมาจะสูงขึ้น เนื่องจากในตลาดเมียนมาผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานทุเรียน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/expensive-grafted-durians-dominate-the-market/#article-title

ศุลกากรกัมพูชาตรวจยึดเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย พร้อมเผาทำลายกว่า 7.5 ตัน

กรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เผาทำลายเนื้อสัตว์กว่า 7,595 กิโลกรัม ซึ่งนำเข้าโดยไม่มีเอกสาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อีกทั้งการขนส่งที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้คุณภาพเสียหาย โดยรายละเอียดกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปราบปราม 2 คดี คดีที่ 1 ตรวจยึดและเผาทำลายเนื้อไก่และเครื่องในไก่ราว 395 กิโลกรัม ที่ถูกลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายผ่านทางชายแดน ขณะที่คดีที่ 2 เจ้าหน้าที่สำนักงานสืบสวนและปราบปรามการลักลอบขนสินค้าเข้าเขต 5 ได้ตรวจยึดเครื่องในไก่และขาเป็ดจำนวน 7,200 กิโลกรัม และเผาทำลาย หลังจากปราบปรามและยึดจากผู้ค้า ซึ่งขนส่งโดยรถยนต์โดยสาร 2 คัน เข้ามายังกัมพูชาอย่างผิดกฎหมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476170/more-than-7-5-tonnes-of-damaged-chicken-meat-chicken-parts-and-duck-legs-destroyed/

เมียนมาจัดส่งข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยัง 3 ประเทศ

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยังต่างประเทศ 3 ประเทศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 จากการที่เมียนมาเร่งความพยายามในการสนับสนุนการส่งออกเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ เมียนมาจึงส่งข้าวโพด 25,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ทางเรือ (MV Manta Hatice) ผ่านท่าเรือ No 6 Sule Wharf ส่งออก 12,700 ตันถึงไทยทางเรือ (MV Tay Son 4) ผ่านทางท่าเรือ TMT และ 2,700 ตัน ทางเรือ (MV MCL 20) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM และส่งออกไปยังอินเดียทางเรือ 27,500 ตัน (MV Seiyo Harmony) ผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา 2 และ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ตามลำดับ  อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังประเทศไทยครั้งละ 5,400 ตันโดยเรือ 2 ลำ (MV MCL 8 และ MV MCL 7) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM เมื่อวันที่ 9 เมษายน และมีกำหนดส่งออกข้าวโพด 6,600 ตันไปยังฟิลิปปินส์โดยเรือ (MV. RAINBOW SYMPHONY) ผ่าน AIPT-3 วันที่ 10 เมษายน นอกจากนี้ เมียนมายังจัดส่งข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในฤดูข้าวโพดปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งมายังประเทศไทย และส่วนที่เหลือไปยังจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้าวโพดปลูกในรัฐฉาน กระฉิ่น คะยา และคะยิน รวมถึงภูมิภาคมัณฑะเลย์ สะกาย และมะเกว ซึ่งเมียนมามีฤดูข้าวโพด 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม ผลผลิตข้าวโพดของเมียนมาต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-around-80000-tonne-corn-to-3-countries/#article-title

ยอดขายมันสำปะหลังพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางความต้องการของจีนที่สูงแม้ราคาจะยังทรงตัว

ตามข้อมูลของผู้ปลูกมันเทศในตลาด ราคามันสำปะหลังในตลาดยังคงทรงตัว แม้ว่ายอดขายจะดีเนื่องจากมีความต้องการสูงจากประเทศจีน โดยราคาขายส่งมันสำปะหลังผงในตลาดอยู่ที่ประมาณ 3,000 จ๊าดต่อviss อย่างไรก็ดี จีนและอินเดียเป็นผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา รวมทั้งเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างประเทศทั้งสอง ดังนั้นมันสำปะหลังจึงเป็นพืชที่สามารถแสวงหารายได้จากต่างประเทศให้กับประเทศเมียนมาได้ นอกจากนี้ ในอดีตมันสำปะหลังมีการปลูกแบบดั้งเดิมแต่ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการกำหนดกรอบการผลิตซึ่งสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้ โดยผลผลิตหัวมันเทศสามารถขุดได้ภายใน 8 เดือน และผลผลิตสำเร็จรูปอาจลดลงหากขุดหลังจากผ่านไป 15 เดือน ในการทำต้นกล้าสามารถขุดได้หลังจากผ่านไป 10 เดือน และโอกาสที่จะถึงระยะปลูกอาจต่ำหากขุดหลังจาก 15 เดือน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-powder-sales-surge-amid-high-chinese-demand-despite-steady-prices/#article-title

การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมาร์เกิน 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมามีมูลค่ารวม 3.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา (เมษายน-มีนาคม) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการลดลง 167.7 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565-2566 อย่างไรก็ตาม เมียนมาส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดนเป็นหลัก ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยองค์กร CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-agri-produce-exports-exceed-us3-8b-in-fy-2023-2024/#article-title

การเปลี่ยนแปลงของตลาดข้าวและแนวโน้มราคาก่อนเทศกาล Thingyan ในย่างกุ้ง

ตามรายงานของตลาด เนื่องจากช่วงวันหยุด Thingyan ใกล้เข้ามา ราคาของข้าวที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมียมในฤดูร้อนชนิดใหม่จึงลดลงในตลาดย่างกุ้ง แม้ว่าราคาข้าวมรสุม (ทั้งที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมี่ยมและพรีเมี่ยม) จะยังคงสูงอยู่ ซึ่งในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน 2024 ราคาข้าวใหม่ที่ไม่ใช่พรีเมี่ยม ฤดูร้อนอยู่ที่ 76,000 จ๊าดต่อถุง ซึ่งลดลงจาก 80,000 จ๊าดต่อถุง ณ สิ้นเดือนมีนาคม ปัจจุบัน ข้าวมรสุมที่ไม่ใช่พรีเมี่ยมมีราคาอยู่ที่ 86,000 จ๊าดต่อถุง ข้าวมรสุมที่ไม่ใช่พรีเมี่ยมที่เพิ่งเก็บเกี่ยว (พันธุ์ 90 วัน) อยู่ที่ 93,000 จ๊าด และข้าวมรสุมเก่าที่ไม่ใช่พรีเมี่ยม 90 วันอยู่ที่ 110,000 จ๊าดต่อ ถุง ข้าวพันธุ์ Pawkywe ใหม่มีราคาอยู่ที่ 100,000 จ๊าดต่อถุง ข้าวพันธุ์ Ayeyawady อยู่ระหว่าง 123,000 ถึง 141,000 จ๊าด และ ข้าวพันธุ์ Shwebo อยู่ระหว่าง 150,000 ถึง 160,000 จ๊าด ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ตลาดค้าส่งข้าวจะปิดทำการเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ตามที่ระบุไว้ในรายงาน นอกจากนี้ การขนส่งข้าวจากเมืองอื่นๆ ไปยังย่างกุ้งก็จะถูกระงับในช่วงหลายวันก่อนถึงเทศกาล นอกจากนี้ ผู้ค้าข้าวคาดการณ์ว่าความต้องการทั้งข้าวที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมี่ยมและพันธุ์จะสูงตามหลังเทศกาล Thingyan ส่งผลให้ราคาในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-market-dynamics-and-price-trends-ahead-of-thingyan-festival-in-yangon/

เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก 250,000 ตัน มูลค่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม

ตามข้อมูลของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา รายงานว่า ในช่วงเดือนมีนาคมของปีนี้ จากบริษัท 55 แห่งของเมียนมามีการส่งออกข้าว 147,041 ตัน และการส่งออกข้าวหัก 109,996 ตัน คิดเป็นยอดรวม 257,037 ตัน สร้างรายได้จากการส่งออกทั้งหมดกว่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากยอดรวมดังกล่าวเป็นการค้าต่างประเทศอยู่ที่ 252,993 ตัน และการค้าชายแดนอยู่ที่ 4,077 ตัน ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในการส่งออกข้าวของเมียนมาโดยมีการส่งออกไป 41,000 ตัน, แคเมอรูน 28,645 ตัน, โกตดิวัวร์ 24,000 ตัน, เบลเยียม 9,000 ตัน, สเปน 8,380 ตัน และประเทศอื่นๆ 36,016 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออกข้าวหักเมียนมา ส่งออกไปยังเบลเยียม 45,022 ตัน, จีน 33,299 ตัน, สเปน 10,000 ตัน, ฟิลิปปินส์ 4160 ตัน, อินโดนีเซีย 4160 ตัน และประเทศอื่นๆ 133,55 ตันตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-250000-tonnes-of-rice-and-broken-rice-worth-us-133-mln-in-march/

อุปสงค์จากต่างประเทศที่ซบเซาส่งผลให้ราคาข้าวโพดลดลง

ตามข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา รายงานว่า เนื่องจากความต้องการในตลาดข้าวโพดลดลง ราคาข้าวโพดจึงขยับลงไปที่ประมาณ 1,000 จ๊าดต่อviss ในช่วงปลายเดือนมีนาคม หลังจากที่แตะ 1,200 จ๊าดต่อviss ในต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 โดยเมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยผ่านทางชายแดน และส่งออกผ่านช่องทางเดินเรือ ไปยัง จีน อินเดีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยที่ถือเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดชั้นนำของเมียนมา อนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้อัตราภาษีเป็นศูนย์ (พร้อมแบบฟอร์ม D) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคม โดยที่ประเทศไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 73 สำหรับการนำเข้าข้าวโพด เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ปลูกหากข้าวโพดนำเข้าในช่วงฤดูข้าวโพดของประเทศไทย นอกจากนี้ จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ระบุว่า เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปทั่วโลกจำนวน 934,883 ตัน ในปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยมีมูลค่ารวม 279.042 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยลงมากหากเทียบกับฤดูข้าวโพดปี 2565-2566 ที่เมียนมาส่งออกข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sluggish-foreign-demand-drives-corn-prices-down/

ราคายางค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาราคายางในเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยแตะระดับกว่า 1,700 จ๊าดต่อปอนด์ในตลาดยางของรัฐมอญ โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคาแตะ 1,780 จ๊าดต่อปอนด์ และราคายางตากแห้งมีราคา 1,760 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ราคายางตากแห้งมีราคาเพียง 1,640 จ๊าดต่อปอนด์ และยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคา 1,660 จ๊าดต่อปอนด์ ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าราคายางเพิ่มขึ้น 120 จ๊าดต่อปอนด์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีราคายางของเมียนมาได้รับอิทธิพลจากอุปสงค์ของยางทั่วโลก และปริมาณการผลิตยางในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอุปทานในตลาด ราคายางในรัฐมอญ ซึ่งเป็นรัฐการผลิตยางที่สำคัญในเมียนมา ก็มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับปัจจัยเหล่านั้นเช่นกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-on-gradual-rise-2/#article-title