ราคาทุเรียนไทยสูงครองตลาด

ทุเรียนจากประเทศไทย ปัจจุบันครองตลาดทุเรียนในประเทศเมียนมา เนื่องจากมีราคาสูง ซึ่งมีราคาโดยทั่วไปอยู่ที่ 40,000-50,000 จ๊าดต่อลูก ทั้งนี้ ในตลาดย่างกุ้ง ราคาทุเรียนไทยตอนนี้มีตั้งแต่ขั้นต่ำ 20,000 จ๊าดต่อลูกไปจนถึงมากกว่า 100,000 จ๊าดต่อลูก ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ดี พ่อค้าในตลาดย่างกุ้งยังระบุว่า แม้ทุเรียนไทยมีจะได้รับความนิยมมากในตลาดทุเรียนในประเทศ แต่เนื่องจากมีราคาแพงเมื่อเทียบกับทุเรียนเมียนมา จึงทำให้ยอดขายทุเรียนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ทุเรียนของเมียนมามีราคาถูกกว่าและจะเริ่มมีผลิตมากขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่ายอดขายทุเรียนพันธุ์เมียนมาจะสูงขึ้น เนื่องจากในตลาดเมียนมาผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานทุเรียน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/expensive-grafted-durians-dominate-the-market/#article-title

ผู้ค้าผลไม้เมียนมาหันมาจับตาตลาดในประเทศ ท่ามกลางการเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการส่งออก

ผู้ค้าผลไม้เมียนมา กล่าวถึง อุปสรรคในการคมนาคมในช่องทางเชียงตุง ช่องมองลา และพะโม ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วในฝั่งจีน การถูกระงับที่ชายแดนเพราะนโยบายฝั่งจีนที่มีความเค้มงวดมากขึ้น ความเสียหายของสินค้าจากการคมนาคมบนถนนที่ขรุขระส่งผลต่อคุณภาพของแตงโมที่ส่งไปยังประเทศจีน ส่งผลให้ราคาสินค้าตกต่ำลง ทำให้ผู้ค้าจึงเริ่มจับตาดูตลาดภายในประเทศ เนื่องด้วย ราคาส่งออกในปัจจุบันไม่ครอบคลุมค่าขนส่งและต้นทุนทั่วไปอื่นๆ ค่าอากรที่ด่านชายแดนอยู่ที่ 35,000-40,000 หยวนต่อรถบรรทุก ทั้งนี้ รถบรรทุกแตงโม 100 คันมุ่งหน้าสู่จีน มีเพียง 10 คันเท่านั้นที่สามารถครอบคลุมค่าขนส่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าผลไม้เน้นย้ำว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยืดเยื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน สืบเนื่องจากเมื่อปี 2021 ข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ขัดขวางการส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาไปยังจีน ระเบียบศุลกากรจีนเพิ่มความล่าช้า รถบรรทุกล่าช้าเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อคุณภาพแตงโม และมีเพียง 1 ใน 5 รถบรรทุกที่มุ่งหน้าไปยังจีนเท่านั้นที่ยังคงไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้ผู้ค้าจำเป็นต้องพิจารณาเวลาการส่งมอบ ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่ายในขณะที่พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/traders-eye-domestic-market-amid-export-loss/

‘เวียดนาม’ ส่งออกผักและผลไม้สูงเป็นประวัติการณ์

สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมประสบความสำเร็จจากยอดการส่งออกผักและผลไม้ที่ทำรายได้สูงถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุหลักมาจากความต้องการที่แข็งแกร่งของตลาดจีนและการกระจายตลาดของภาคเกษตรเวียดนาม

ทั้งนี้ ทุเรียนกลายมาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 40% ของมูลค่าการส่งออกรวม ในขณะที่ผลไม้อื่นๆ เช่น ขนุน แตงโม ส้มโอและลำไย ทำรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก อยู่ที่ราว 50% – 200%

โดยจากข้อมูลของภาคเกษตรกรรม แสดงให้เห็นว่าภาคผักและผลไม้แซงหน้าการส่งออกสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กาแฟ และมันสำปะหลัง ซึ่งความสำเร็จของการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกระดับในเรื่องคุณภาพของสินค้า และการขยายตลาด

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/fruit-veggie-exports-soar-to-all-time-high/

ไทยใช้เส้นทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ขนส่งทุเรียนไปยังฉงชิ่งภายใน 88 ชั่วโมง

ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากเส้นทางการขนส่งทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ไปยังเทศบาลนครฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทุเรียนและผลไม้ประเภทต่างๆ ประมาณกว่า 500 ตัน รายงานโดยบริษัทขนส่ง China Railway Materials เมื่อวันวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 มิ.ย.) ซึ่งลักษณะการขนส่งใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต จำนวน 28 ตู้ ส่งตรงไปยังศูนย์โลจิสติกส์ทางรถไฟ Xiaonanya ของฉงชิ่ง ใช้เวลาการขนส่งภายใน 88 ชั่วโมง นับเป็นการเปิดเส้นทางโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงสวนผลไม้กับตลาดค้าปลีกในฉงชิ่ง ขณะที่ Deng Haoji ผู้จัดการจาก บริษัท Chongqing Hongjiu Fruit กล่าวว่า การขนส่งดังกล่าวลดระยะเวลาด้านการขนส่งลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการขนส่งในอดีต โดยทางการ สปป.ลาว ยังได้กล่าวเสริมว่าบริษัทจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าต่างๆ อาทิเช่น ข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ตามรายงานของกรมศุลกากร (GAC) ซึ่งมูลค่าการค้ารวมระหว่างจีนและอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.59 ล้านล้านหยวน (3.6 แสนล้านดอลลาร์) ในช่วง 5 เดือนแรก คิดเป็นการขยายตัวกว่าร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten112_Direct_y23.php

ด่านชายแดนมุต่อง “เมียนมา-ไทย” ดันส่งออกผลไม้พุ่งทะยาน เดือน พ.ค.

ตามรายงานระบุว่าผลไม้ที่จะส่งออกไปยังอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี ผ่านด่านมุต่อง (Mawtaung) บริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ในเดือน พ.ค. นับว่าเป็นการส่งออกผลไม้ครั้งใหญ่ที่สุดของเมียนมา โดยผลไม้ที่นำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ชมพู่ ส้ม สละ ขนุน และแก้วมังกร ราคาปัจจุบันของชมพู่กิโลกรัมละ 19.44 บาท ส้มกิโลกรัมละ 9.69 บาท สละกิโลกรัมละ 6.45 บาท และแก้วมังกร 6.81 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ค่ายด่านมุต่องได้กำหนดว่าต้องนำเข้าผลไม้ 24 ตัน นับตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พ.ค.

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailands-mawtaung-border-exports-most-fruits-in-may/#article-title

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าการส่งออกลิ้นจี่และลำไย รุกตลาดต่างประเทศ

คุณ Tran Quang Tan ผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมและการค้าประจำจังหวัดบั๊กซาง กล่าวว่าผลผลิตลิ้นจี่ของจังหวัดในปีนี้ คาดว่าจะทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มากกว่า 180,000 ตัน นอกเหนือจากตลาดดั้งเดิม (จีน) พบว่าตลาดอื่นๆ มีทิศทางที่ดีขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ตะวันออกกลาง ไทยและฮ่องกง ในขณะเดียวกัน คุณ Tran Van Hao Tan ผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมและการค้าประจำจังหวัดหายเซวือง กล่าวว่าในปัจจุบันทางจังหวัดมีพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่ ประมาณ 9,000 เฮกตาร์ และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ราว 61,000 ตันในปีนี้ โดยประมาณ 31,000 ตันเป็นลิ้นจี่สุกก่อนกำหนด

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnam-seeks-to-expand-overseas-markets-for-lychees-longans-post125992.html

“เวียดนาม” จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ผลไม้สู่ระดับสากล

เวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ผลไม้ระดับประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและยกระดับความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ถึงแม้ว่าผลไม้จะทำรายได้จากการส่งออกหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่เวียดนามยังไม่มีแบรนด์ผลไม้ที่มีชื่อเสียงเลย ทั้งนี้ หากสอบถามมุมมองของผู้บริหารบริษัท Vina T&T Import – Export Service Trading จำกัด (Vina T&T) กล่าวว่าในกรณีที่พูดถึงแอปเปิ้ล ก็จะนึกถึงสหรัฐฯ หากพูดถึงทุเรียนหมอนทอง ก็จะนึกถึงประเทศไทย และหากเปรียบเทียบกับคุณภาพของทุเรียนเวียดนาม สายพันธุ์ Ri6 กับทุเรียนที่มาจากไทยและมาเลเซีย คิดว่าทุเรียนเวียดนามจะได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้าส่งออกของภาคธุรกิจ อย่างไรก็ดียังคงมีความบกพร่องในเรื่องของเอกลักษณ์และคุณค่าของแบรนด์ ดังนั้น เวียดนามควรสร้างแบรนด์ผลไม้ที่เพิ่มสูงค่าและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศไทย แต่สิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ คือ การควบคุมหรือการรับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างเข็มงวด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1483448/vn-needs-to-build-national-brands-for-fruits.html

ราคา ‘ทุเรียนเวียดนาม’ สูงเป็นประวัติการณ์ เหตุอุปทานต่ำ

หนังสือพิมพ์เวียดนาม นิวส์ (Vietnam News) รายงานว่าราคาทุเรียนของเวียดนามพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากมีอุปทานต่ำในช่วงนอกฤดูกาล รายงานระบุว่าราคาจำหน่ายทุเรียนอยู่ที่ 150,000-190,000 ดองเวียดนาม (ราว 215.06-272.41 บาท) ต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 3 เท่า โดยทุเรียนมีราคาสูง เนื่องจากเป็นผลไม้นอกฤดูกาล และมีอุปทานต่ำสวนทางกับอุปสงค์ที่ยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม รายงานว่าทุเรียนเวียดนามมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันมากมายในตลาด เนื่องจากการส่งออกตลอดทั้งปี รวมถึงระยะทางการขนส่งทุเรียนจากเวียดนามไปยังจีนยังใช้เวลาราว 1 วันครึ่งเท่านั้น ซึ่งช่วยรับประกันความสดของผลไม้และค่าขนส่งที่ถูกกว่าบรรดาคู่แข่งของเวียดนาม

ที่มา : https://www.chiangmainews.co.th/economics/2871140/

จุรินทร์ รวมพลหามาตรการดูแลผลไม้ปี’65 รุกส่งออกดันให้โต 15%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้ามาตรการแก้ไขปัญหาผลไม้ปี 2565 และการแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ว่าจากการประเมินผลผลิตผลไม้ทั่วประเทศปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 13% หรือมีปริมาณ 5.4 ล้านตัน โดยได้กำหนดมาตรการเชิงรุกในการผลักดันการส่งออกและดูแลผลไม้มี 17+1 ดูแลผลผลิตผลไม้และมีการเตรียมตลาดรองรับไว้แล้ว 450,000 ตัน ส่วนที่เหลือจะเป็นไปตามกลไกตลาด ที่เกษตรกรผลิตผลไม้ที่ได้คุณภาพ ล้งรับซื้อตามมาตรฐานและราคาที่เป็นธรรม ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกดำเนินการเตรียมการส่งออกต่อไป สำหรับผลไม้ไทย ตลาดใหญ่คือประเทศจีน ตลาดจีนส่งออกปี 2564 มีมูลค่า 163,000 ล้านบาท ปริมาณ 2,200,000 ตัน ซึ่งการส่งออกไปจีนทำได้ 3 เส้นทางหลักมีสัดส่วน คือ ทางเรือ 51% ทางบก 48% และทางอากาศ 0.54% ขณะที่เป้าหมายการส่งออกผลไม้ในปี 2565 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 15% โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 287,500 ล้านบาท

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-893317

‘อลงกรณ์’ชูชุมพรฮับผลไม้ใต้ มั่นใจรถไฟจีน-ลาวช่วยส่งออกปีนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่ากระทรวงเกษตร มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของ จ.ชุมพร เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2565 กว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งพืชเศรษฐกิจหลักทำรายได้ เช่น ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าวและกาแฟโรบัสต้า รวมทั้งเศรษฐกิจภาคบริการด้านการท่องเที่ยว จึงได้วางนโยบายการพัฒนาอย่างน้อย 3 ด้าน ดังนี้ 1.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นมหานครผลไม้ภาคใต้ ซึ่งชุมพรเป็นจังหวัดที่ผลิตทุเรียนได้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางขนส่งผลไม้ทางรถไฟสาย จีน-ลาว จะเพิ่มการส่งออกผลไม้ได้มากขึ้นในปีนี้ จึงเร่งยกระดับการพัฒนาชุมพรเป็นฮับผลไม้ภาคใต้ 2.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นฮับกาแฟโรบัสต้าของประเทศ โดยสร้างแบรนด์สร้างมูลค่ากาแฟโรบัสต้าที่ชุมพร 3.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นประตูท่องเที่ยวเกตเวย์ทะเลใต้

ที่มา : https://www.naewna.com/local/632576