ราคาทุเรียนไทยสูงครองตลาด

ทุเรียนจากประเทศไทย ปัจจุบันครองตลาดทุเรียนในประเทศเมียนมา เนื่องจากมีราคาสูง ซึ่งมีราคาโดยทั่วไปอยู่ที่ 40,000-50,000 จ๊าดต่อลูก ทั้งนี้ ในตลาดย่างกุ้ง ราคาทุเรียนไทยตอนนี้มีตั้งแต่ขั้นต่ำ 20,000 จ๊าดต่อลูกไปจนถึงมากกว่า 100,000 จ๊าดต่อลูก ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ดี พ่อค้าในตลาดย่างกุ้งยังระบุว่า แม้ทุเรียนไทยมีจะได้รับความนิยมมากในตลาดทุเรียนในประเทศ แต่เนื่องจากมีราคาแพงเมื่อเทียบกับทุเรียนเมียนมา จึงทำให้ยอดขายทุเรียนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ทุเรียนของเมียนมามีราคาถูกกว่าและจะเริ่มมีผลิตมากขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่ายอดขายทุเรียนพันธุ์เมียนมาจะสูงขึ้น เนื่องจากในตลาดเมียนมาผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานทุเรียน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/expensive-grafted-durians-dominate-the-market/#article-title

ทุเรียนกลายเป็น ‘ผลไม้ทอง’ ส่งออกของเวียดนาม

จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 110,000 เฮคเตอร์ และผลผลิตประมาณ 850,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เพาะปลูกอยู่ในพื้นที่ราบสูงตอนกลาง คิดเป็นสัดส่วนราว 47% ของพื้นที่ทั้งหมด และสาเหตุที่ทำให้เวียดนามผลักดันการส่งออกทุเรียน เนื่องมาจากมีความได้เปรียบทางด้านการตั้งราคาขายสูงและความต้องการนำเข้าของตลาดต่างประเทศ ทำให้ทุเรียนเวียดนามกลายมาเป็นผลไม้สำคัญเมื่อเทียบกับผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุนี้พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นประมาณ 25% ต่อปี

นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติแสดงให้เห็นว่าทุเรียนของเวียดนามส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดจีน มีสัดส่วนกว่า 99% ของการส่งออกผลไม้รวม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651246/durian-emerging-as-golden-fruit-among-viet-nam-s-exports.html

‘เวียดนาม’ คาดส่งออกทุเรียน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นาย Nguyen Dinh Tung ผู้อำนวยการของบริษัท Vina T&T Group กล่าวว่าตลาดจีนเป็นเพียงตลาดเดียวที่มีการบริโภคทุเรียนสด จำนวน 400 ตู้คอนเทนเนอร์ในปี 2566 และบริษัทยังได้ลงนามในสัญญาส่งออกทุเรียนสดไปยังจีน จำนวน 2,000 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ปริมาณทุเรียนอาจไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก บริษัทจำเป็นที่จะต้องพร้อมสำหรับการส่งออกทุเรียน เพื่อบรรบุสัญญาณในปีนี้ ทั้งนี้ กรมศุลกากร (GDC) รายงานว่าในเดือน พ.ย.66 มูลค่าการส่งออกทุเรียนอยู่ที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.8 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ เวียดนามยังส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งและทุเรียนอบแห้งอีกด้วย และคาดว่าเวียดนามจะทำรายได้จากการส่งออกทุเรียนในปีนี้สูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vn-expected-to-earn-3-5-billion-from-durian-exports-2234891.html

 

“ทุเรียนเวียดนาม” มาแรง จีนนำเข้าพุ่ง 5.4 หมื่นล้าน คู่แข่งสำคัญ”ทุเรียนไทย”

ข้อมูลจากศุลกากรหนานหนิงระบุว่า มูลค่าสินค้านำเข้าจากเวียดนามผ่านด่านโหยวอี้กวน ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมของปีนี้ รวมอยู่ที่ 9.14 หมื่นล้านหยวน (ราว 4.47 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 271.8% เมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าผลไม้เวียดนาม 1.17 หมื่นล้านหยวน (ราว 5.73 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 637.9% โดยมูลค่าการนำเข้าทุเรียนรวมอยู่ที่ 1.11 หมื่นล้านหยวน (ราว 5.43 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นกว่า 3,084% ทั้งนี้ ทุเรียนเวียดนามมีฤดูเก็บเกี่ยวยาวนานกว่า และราคาถูกกว่าได้รับอนุญาตให้เข้าถึงตลาดจีนภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในปี 2022 โดยปัจจุบันจีนกลายเป็นตลาดส่งออกทุเรียนแห่งหลักของเวียดนาม

ที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-1459289

‘เวียดนาม’ ส่งออกผักและผลไม้สูงเป็นประวัติการณ์

สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมประสบความสำเร็จจากยอดการส่งออกผักและผลไม้ที่ทำรายได้สูงถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุหลักมาจากความต้องการที่แข็งแกร่งของตลาดจีนและการกระจายตลาดของภาคเกษตรเวียดนาม

ทั้งนี้ ทุเรียนกลายมาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 40% ของมูลค่าการส่งออกรวม ในขณะที่ผลไม้อื่นๆ เช่น ขนุน แตงโม ส้มโอและลำไย ทำรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก อยู่ที่ราว 50% – 200%

โดยจากข้อมูลของภาคเกษตรกรรม แสดงให้เห็นว่าภาคผักและผลไม้แซงหน้าการส่งออกสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กาแฟ และมันสำปะหลัง ซึ่งความสำเร็จของการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกระดับในเรื่องคุณภาพของสินค้า และการขยายตลาด

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/fruit-veggie-exports-soar-to-all-time-high/

‘เวียดนาม’ พร้อมส่งออกทุเรียนไปยังอินเดีย

Nguyen Thi Thu Huong รองผู้อำนวยการกรมการอารักขาพืช กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) กล่าวว่าหน่วยงานกำลังดำเนินการตามขั้นตอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกทุเรียนเวียดนามไปยังอินเดีย และจากรายงานของทางการ พบว่าทุเรียนสดของเวียดนามส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ จำนวน 24 แห่ง และผลไม้แช่แข็ง 23 แห่ง ขณะที่ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกทุเรียนสดกว่า 3 แสนตัน ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงฯ พบว่ารายได้จากการส่งออกทุเรียน มีมูลค่าอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 30% ของมูลค่าการซื้อขาย และเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ของปีที่แล้ว (420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnam-completing-procedures-to-export-durian-to-india-official-post129303.html

รถไฟ ‘สปป.ลาว-จีน’ ส่งอานิสงส์ถึงไทย ดันส่งออกทุเรียนไปยังจีนมากขึ้น

การส่งออกทุเรียนของไทยไปยังจีนผ่านทางรถไฟ สปป.ลาว-จีน ขยายตัวร้อยละ 365 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2023 เนื่องจากระยะเวลาขนส่งที่สั้นลงและมีข้อได้เปรียบภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี ซึ่ง Auramon Supthaweethum อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เส้นทางรถไฟช่วยลดเวลาขนส่งเหลือเพียงไม่ถึง 15 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับทางถนนที่ใช้เวลาถึง 2 วัน นั่นจึงเป็นโอกาสของสินค้าไทยที่ไปตลาดจีน โดยการส่งออกผลไม้ของไทยไปยังจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ทางรถไฟ สปป.ลาว-จีน เริ่มดำเนินการในเดือน ธ.ค. 2021 โดยการขนส่งผ่านจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยอย่างหนองคาย ซึ่งมีพรมแดนติดกับ สปป.ลาว มีมูลค่าถึง 55 ล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับมูลค่า 2.55 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 ด้านอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทย (DTN) ยังกล่าวด้วยว่า ผลไม้ไทยและการขนส่งอื่นๆ สามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เขตการค้าเสรีจีนและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังจีนโดยทางรถไฟ สปป.ลาว-จีน มีมูลค่า 80.22 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. 2023 โดยร้อยละ 72 เป็นการส่งออกทุเรียนสด

ที่มา : https://english.news.cn/20230816/f02a7679d5aa4a56979b720370ac9d25/c.html

“ทุเรียนไทย” ส่งออกไปเวียดนามพุ่งทะยาน 10,000% ประตูใหม่สู่จีน

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกทุเรียนและทุเรียนแช่แข็งของไทย มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 63,627 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด คือ ตลาดตจีนมีมูลค่า 62,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 170% จากปีก่อน รองลงมาฮ่องกงและไต้หวัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าตลาดเวียดนามเป็นตลาดอันดับ 10 ที่มีมูลค่าการส่งออกเพียง 0.15 ล้านบาท แต่เติบโต 10,769% ทั้งนี้ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่าสถานการณ์การส่งออกทุเรียนสดและแช่แข็งในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 100% อย่างไรก็ดีต้องทำการติดตามและประเมินถึงแนวโน้มครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะผลผลิตทุเรียนในภาคใต้ รวมไปถึงดูแลเรื่องการขนส่งผ่านด่านทางเวียดนามและสปป.ลาว เพื่อส่งออไปยังประเทศจีน

ที่มา : https://www.khaosodenglish.com/news/2023/06/24/thai-durian-exports-to-vietnam-soar-10000-as-new-gateway-to-china/

ทุเรียนไทยยอดนิยมตในจีน ส่งออก 5 เดือน 6 หมื่นล้าน

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีต่อผลประกอบการและตัวเลขการส่งออก ทุเรียนไทยซึ่งยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องในจีน พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญในการควบคุมและรักษาคุณภาพทุเรียนตามมาตรฐาน ตั้งแต่ต้นทางไปจนปลายทาง ชื่นชมระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor: ILSTC) ใช้เวลาขนส่ง 4 วัน จากเดิม 8-10 วัน ซึ่งการขนส่งแบบใหม่นี้ไม่เพียงจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยลดความเสียหายระหว่างการขนส่งได้อีกด้วย โดยสถิติการส่งออกทุเรียนปี 2022 ซึ่งถือเป็นปีที่มีสถิติการส่งออกทุเรียนสูงสุดในรอบ 30 ปี ไทยส่งออกทุเรียนสดมูลค่ากว่า 1.10 แสนล้านบาท คาดว่ามาจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ความสะดวกในด้านการคมนาคมขนส่งที่สามารถส่งออกสูงสุดได้ถึง 700-800 ตัน/ตู้/วัน 2. การผ่อนปรนการตรวจโควิดของจีน 3.รสชาติที่ดีของทุเรียนไทย และ 4.มาตรฐานการคุมเข้มทุเรียนอ่อน

ที่มา : https://www.thebetter.co.th/news/business/4772

ไทยใช้เส้นทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ขนส่งทุเรียนไปยังฉงชิ่งภายใน 88 ชั่วโมง

ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากเส้นทางการขนส่งทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ไปยังเทศบาลนครฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทุเรียนและผลไม้ประเภทต่างๆ ประมาณกว่า 500 ตัน รายงานโดยบริษัทขนส่ง China Railway Materials เมื่อวันวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 มิ.ย.) ซึ่งลักษณะการขนส่งใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต จำนวน 28 ตู้ ส่งตรงไปยังศูนย์โลจิสติกส์ทางรถไฟ Xiaonanya ของฉงชิ่ง ใช้เวลาการขนส่งภายใน 88 ชั่วโมง นับเป็นการเปิดเส้นทางโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงสวนผลไม้กับตลาดค้าปลีกในฉงชิ่ง ขณะที่ Deng Haoji ผู้จัดการจาก บริษัท Chongqing Hongjiu Fruit กล่าวว่า การขนส่งดังกล่าวลดระยะเวลาด้านการขนส่งลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการขนส่งในอดีต โดยทางการ สปป.ลาว ยังได้กล่าวเสริมว่าบริษัทจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าต่างๆ อาทิเช่น ข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ตามรายงานของกรมศุลกากร (GAC) ซึ่งมูลค่าการค้ารวมระหว่างจีนและอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.59 ล้านล้านหยวน (3.6 แสนล้านดอลลาร์) ในช่วง 5 เดือนแรก คิดเป็นการขยายตัวกว่าร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten112_Direct_y23.php