‘เวียดนาม’ คาดส่งออกทุเรียน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นาย Nguyen Dinh Tung ผู้อำนวยการของบริษัท Vina T&T Group กล่าวว่าตลาดจีนเป็นเพียงตลาดเดียวที่มีการบริโภคทุเรียนสด จำนวน 400 ตู้คอนเทนเนอร์ในปี 2566 และบริษัทยังได้ลงนามในสัญญาส่งออกทุเรียนสดไปยังจีน จำนวน 2,000 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ปริมาณทุเรียนอาจไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก บริษัทจำเป็นที่จะต้องพร้อมสำหรับการส่งออกทุเรียน เพื่อบรรบุสัญญาณในปีนี้ ทั้งนี้ กรมศุลกากร (GDC) รายงานว่าในเดือน พ.ย.66 มูลค่าการส่งออกทุเรียนอยู่ที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.8 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ เวียดนามยังส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งและทุเรียนอบแห้งอีกด้วย และคาดว่าเวียดนามจะทำรายได้จากการส่งออกทุเรียนในปีนี้สูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vn-expected-to-earn-3-5-billion-from-durian-exports-2234891.html

 

คาดการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในกัมพูชา จะเป็นส่วนในการเพิ่มขีดความสามารถของ PAS

รัฐบาลได้อนุมัติแผนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพิ่มเติมในเขตพื้นที่ ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) เพื่อเสริมขีดความสามารถในการรองรับเรือสินค้าทุกประเภท รวมถึงเป็นการลดต้นทุนการขนส่งและเวลาขนส่งทางเรือในระยะถัดไป สำหรับท่าเรือ PAS ปัจจุบัน มีความจุตู้สินค้ามากกว่า 550,000 TEUs ต่อปี ในขณะที่สินค้าผ่านแดนมีมากกว่า 750,000 TEUs ในปี 2022 ซึ่งเกินความจุของท่าเรือ โดย PAS กล่าวว่าในปี 2024 หลังจากโครงการข้างต้นแล้วเสร็จจะเพิ่มความจุในการจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์เป็น 1 ล้าน TEUs ต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.67 ล้าน TEUs ภายในปี 2029 สำหรับกัมพูชามีท่าเรือหลัก 2 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) และท่าเรืออิสระพนมเปญ (PAPP) ทั้งคู่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา สร้างรายได้เกือบ 130 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501281966/deep-water-port-construction-to-increase-pas-capacity/

ไทยผ่ามรสุมส่งออกปี 66 เร่งเปิดตลาดใหม่พยุงเป้าโต3%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สรท.คาดการณ์การแนวโน้มภาพรวมการส่งออกไทยปี 2566 จะขยายตัว 2-3% โดยประเมินจากการส่งออกปี 2565 ที่การส่งออกเชิงปริมาณไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดูจากจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งปี 2565 ใกล้เคียงปี 2564 หากแต่เป็นราคาสินค้าจากวัตถุดิบและน้ำมันที่ปรับขึ้นและอานิสงค์ของค่าเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าค่าเงินของคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ ปี 2566 ราคาน้ำมันประเมินต่ำกว่าปี 2565 โดยอยู่ระดับ 75-85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และค่าเงินบาทจะอยู่ 33-35 บาทต่อดอลลาร์ โดยอาจแข็งค่ากว่าค่าเงินของคู่แข่งทำให้ปี 2566 จะได้รับแรงกดดันจากราคาที่มีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันและวัตถุดิบ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1045692

คาดเงินกู้ญี่ปุ่นกระตุ้นการขยายท่าเรือสีหนุวิลล์ในกัมพูชา

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกู้ให้กับกัมพูชาเพื่อทำการขยายพื้นที่ในการจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือสีหนุวิลล์ ด้วยวงเงินกู้ยืม 306 ล้านดอลลาร์ จากญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรี ฮุนเซน คาดหวังว่าเงินกู้ข้างต้นจะช่วยให้กัมพูชาขยายและปรับปรุงท่าเรืออิสระสีหนุวิลล์ให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญในระดับภูมิภาค ซึ่งทาง Hem Vanndy รัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา และ Kamei Haruko หัวหน้าผู้แทนสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) กัมพูชา ได้ทำการลงนามร่วมกันเกี่ยวกับสัญญาเงินกู้ดังกล่าว โดยท่าเรือแห่งนี้จดทะเบียนเป็นท่าเรือน้ำลึกเชิงพาณิชย์แห่งเดียวในกัมพูชา ซึ่งมีรายได้รวม 93.2 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันท่าเรือแห่งนี้รองรับตู้คอนเทนเนอร์ 6.9 ล้านตันในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยโครงการขยายท่าเรือมีกำหนดที่จะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2025 ระยะที่ 2 และ 3 ของโครงการ จะเริ่มในปี 2028 และ 2029 ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501128516/japan-loan-boosts-sihanoukville-port-expansion/

ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือสีหนุวิลล์เพิ่มขึ้น 16% ในปีก่อน

ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเริ่มฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 แต่ท่าเรือสีหนุวิลล์กัมพูชากลับมีการเพิ่มขึ้นของปริมาณการขนส่งยังท่าเรือ ตามรายงานสถิติการขนส่งสินค้า ซึ่งได้รายงานถึงจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการผ่านท่าเรือจำนวน 18,182 หน่วย (TEUs) ในไตรมาสแรกของปี 2022 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.32 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2021 โดยท่าเรือนี้ทำหน้าที่เป็นจุดผ่านแดนและจุดขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นส่วนสำคัญ ซึ่งรัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาท่าเรือต่อไป เพื่อที่จะขยายการรองรับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501065618/container-traffic-in-sihanoukville-autonomous-port-up-by-more-the-16-percent/

Q4/2021 ท่าเรือสีหนุวิลล์กัมพูชา กำไรพุ่งแตะ 5.9 ล้านดอลลาร์

ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) รายงานถึงกำไรสุทธิที่มูลค่า 5.9 ล้านดอลลาร์ ในช่วง Q4/2021 อันเนื่องมาจากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้นและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญ โดย PAS มีรายรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.21 หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 21 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ถูกบันทึกไว้ที่ 864,729 ดอลลาร์ ซึ่งปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ของ PAS เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.30 สู่ 9,350 TEU เท่ากันกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขนส่งสินค้าขั้นต้นลดลงร้อยละ 1.65 มาอยู่ที่ปริมาณ 29,229 ตัน โดยในระยะถัดไป PAS กำลังเร่งทำการศึกษาโครงการขยายท่าเรือแห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับเรือขนาด 60,000 ตัน หรือเรือตู้คอนเทนเนอร์ที่สามารถบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ได้ 5,000 TEUs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501030709/sihanoukville-autonomous-port-q4-net-surges-to-5-9-million/

ท่าเรือพนมเปญ เสริมพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในกัมพูชา

ท่าเรือพนมเปญ (PPAP) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ได้เปิดตัวโครงการส่วนต่อขยายท่าเทียบ ไปในวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา โดยได้ยกระดับความสามารถในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์เป็น 400,000 TEU ต่อปี ซึ่งการก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้ใช้งบประมาณอยู่ที่ 18.4 ล้านดอลลาร์ เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 2019 และแล้วเสร็จภายในช่วงกลางปี 2021 โดยมีขนาดครอบคลุมพื้นที่ 2.75 เฮกตาร์ และเดิมมีความสามารถในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์ 100,000 TEU ต่อปี ซึ่งเหตุผลที่จำเป็นต้องขยายเป็นเพราะว่าจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของปริมาณการใช้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ โดยในปี 2019 PPAP ได้รับตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 290,000 ตู้ มายังท่าเรือ และยังได้วางแผนโครงการขยายสถานีคอนเทนเนอร์ใหม่ ด้วยการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บให้ได้ 500,000 TEUs ต่อปี ภายในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50938651/phnom-penh-autonomous-port-upgrades-container-handling-capacity-to-400000-teus/

เวียดนามเผยตู้คอนเทนเนอร์สินค้าเพิ่มขึ้น 22% ในช่วงครึ่งปีหลัง

สำนักงานบริหารการเดินเรือเวียดนาม (VMA) เผยการจัดส่งสินค้าที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือของเวียดนาม ยังคงเติบโตได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม โดยเฉพาะ ยอดรวมของการจัดส่งสินค้าผ่านท่าเรือที่มีปริมาณกว่า 363 ล้านตันในช่วง 6 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 7% ต่อปี และการใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก มีประมาณ 4 ล้านตู้ เพิ่มขึ้น 17% ทั้งนี้ ตามตัวเลขสถิติของสำนักงานข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าในช่วงเริ่มต้นของปีนี้ ท่าเรือหลายแหล่งมีปริมาณสินค้าตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ มีเถ่อ เพิ่มขึ้น 74%, อานซาง (50%), นครโฮจิมินห์ (17%) และบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่า (38%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/container-goods-via-seaports-up-22-percent-in-h1/203177.vnp

ครึ่งปีแรกการค้าทางทะเลเมียนมา ลดฮวบ 4.3 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในช่วงครึ่งปีแรก (1 ต.ค. -2 เม.ย. ) ของปีงบประมาณ 63-64 เหลือ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์ลดลง 264 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่ประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันตลอดชายแดน สำหรับการค้าทางทะเลหยุดชะงักในภาคโลจิสติกส์การหยุดเดินเรือบางส่วนและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงการขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากการปิดธนาคารเอกชน โดยการค้าภายโดยรวมของประเทศแตะระดับต่ำที่ 15.78 พันล้านดอลลาร์งลดลง 20.36 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าได้แก่สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-drops-by-4-3-bln-in-h1/

ตู้คอนเทนเนอร์อาหารทะเล 20 ตู้จอดเกยตื้นที่ท่าเรือซาอุฯ

ตู้คอนเทนเนอร์อาหารทะเลของเมียนมาราว 20 ตู้พยังคงติดค้างอยู่ที่ท่าเรือเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่สำนักงานอาหารและยาของซาอุดีอาระเบีย (SFDA) จัดทำข้อตกลงเพื่ออนุมัติรายชื่อโรงงานประมงของเมียนมาร์ที่นำผลิตภัณฑ์ไปแปรรูป สินค้าดังกล่าวมาถึงท่าเรือตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคมเมื่อซาอุดิอาระเบียยึดตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนราว 30 ตู้มูลค่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 10 ตู้ได้ผ่านพิธีการศุลกากรหลังจากที่ SFDA อนุมัติโรงงาน 3 แห่งจาก 19 แห่งที่ยื่นขอในซาอุดิอาระเบีย ยังเหลือตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 20 ตู้ที่ท่าเรือเจดดาห์ซึ่งยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับรองโดย SFDA ในปีนี้มีเพียง Ywar Thar Gyi Cold Store ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานห้องเย็น 19 แห่งจากเมียนมาที่ได้รับการอนุมัติจากทางการซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมา SFDA ได้อนุมัติโรงงานห้องเย็นได้แก่ Twin Brothers Seafood Cold Storage, Mega Marine Frozen Seafood และ Delta Queen International Co.

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/20-containers-seafood-stranded-saudi-port.html