ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่ได้รับอนุญาตจะต้องขายสกุลเงินต่างประเทศในราคาควบคุม: ธนาคารกลางเมียนมา

ตามประกาศของ ธนาคารกลางเมียนมา ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรามีหน้าที่ขายสกุลเงินต่างประเทศตามอัตราที่กำหนดของธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) หากไม่ทำเช่นนั้นจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากบัตรเดบิตและบัตรเครดิตสำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศแล้ว CBM ยังอนุญาตให้ผู้แลกเงินที่ได้รับอนุญาตขายสกุลเงินต่างประเทศได้ที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) หรือเคาน์เตอร์ที่กำหนดของตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินสดย่อยและควบคุม โดยเริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำหรับธุรกรรมที่ผิดกฎหมายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศ ไปรับการรักษาพยาบาล และศึกษาต่อต่างประเทศ และเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2566 สำหรับผู้แสวงบุญและเข้าร่วมเวิร์คช็อปหรือการประชุมตามคำเชิญขององค์กรภาครัฐต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หากชาวเมียนมาต้องการแลกเปลี่ยนสกุลเงินมากกว่าเงินสดที่มีอยู่ สามารถใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีการเยี่ยมเยียนร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งและข้อบังคับที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/authorized-money-changers-must-sell-foreign-currencies-at-regulated-prices-cbm/

ธนาคารกลางเมียนมา ดำเนินการกับตัวแทนจำหน่ายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

ธนาคารกลางแห่งเมียนมาได้เพิกถอนใบอนุญาตของผู้ค้าเงินตราต่างประเทศ 4 รายเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติภายใต้กฎหมายว่าด้วยการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หลังจากมีการตรวจสอบทันที โดยตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตเหล่านี้ ได้แก่ Thura Nay Tun (ร้านรับแลกเงินที่มีชื่อเสียง), Lead Star Money Changer, Steber Group Money Changer และ Asia Shwe Thee Money Changer อย่างไรก็ดี การตรวจสอบได้ดำเนินการในย่างกุ้งเมื่อวันที่ 6 และ 8 มีนาคม โดยทีมงานร่วมที่นำโดยคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลตลาดทองคำและสกุลเงิน รวมถึงธนาคารกลางแห่งเมียนมา คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง ฝ่ายบริหารทั่วไป องค์กรบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ธนาคารกลางเมียนมา กำลังทำการตรวจสอบเคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสถานที่ว่าปฏิบัติตามคำสั่งภายใต้กฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือไม่ และจะดำเนินการสุ่มตรวจสอบต่อไปตามข้อกำหนดภายใต้กฎหมาย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-takes-administrative-action-against-4-non-compliant-foreign-exchange-dealers-by-suspending-their-licenses-for-3-months/#article-title

เงินสกุลจ๊าดอ่อนค่าลงกว่า 3,500 จ๊าดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลจ๊าดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,380 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าลงอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,550 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ว่าไม่ได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงอีกต่อไป และอนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับใบอนุญาตซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถแลกเปลี่ยนในอัตราที่เสรีมากขึ้น  อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ยังได้กล่าวอีกว่าจะไม่เข้าแทรกแซงตลาด Forex ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และธนาคารที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิ์ดำเนินการซื้อขายออนไลน์ตามอัตราตลาดตามอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ การโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-weakens-to-over-k3500-against-us-dollar/#article-title

สปป.ลาว ขาดดุลเงินตราต่างประเทศ กระทบภาคสินเชื่อและการท่องเที่ยว

ผู้ว่าการธนาคารกลาง สปป.ลาว ได้เน้นย้ำถึงต้นตอของการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และกำหนดมาตรการหลัก เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ในระหว่างการประชุมกับคณะสภาแห่งชาติ โดย สปป.ลาว ประสบกับปัญหาขาดดุลเงินตราต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งหมายความว่าการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าการไหลออก ทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ จนทำให้รัฐบาลต้องจำกัดจำนวนเงินกู้เนื่องจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ดุลการชำระเงินโดยรวมขาดดุล นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลให้ สปป.ลาว สูญเสียรายรับในรูปเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จากการที่ภาคการท่องเที่ยวที่หยุดชะงักและการลงทุนจากต่างประเทศที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งถือเป็นแหล่งที่มาหลักของเงินตราต่างประเทศของ สปป.ลาว ขณะที่ในปี 2022 มูลค่าการส่งออกของ สปป.ลาว อยู่ที่ 8.19 พันล้านดอลลาร์ แต่เข้าประเทศเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์ ตัวอย่างเช่น ในปี 2022 สปป.ลาว มีรายได้จากการส่งออกไฟฟ้าประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์ แต่ไหลเข้า สปป.ลาว เพียง 500 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนได้รับอนุญาตให้ชำระหนี้ในต่างประเทศ จากการกู้เงินนอกประเทศเพื่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าใน สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Bol126.php

ธนาคารกลาง สปป.ลาว จ่อดำเนินการกับผู้ ซื้อ-ขาย เงินตราต่างประเทศผิดกฎหมาย

การซื้อและขายสกุลเงินต่างประเทศระหว่างบุคคลและนิติบุคคลใน สปป.ลาว ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายและเป็นสิ่งต้องห้าม ด้านธนาคารแห่ง สปป.ลาว (BOL) ได้เตือนว่ามีเพียงธนาคารพาณิชย์เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ โดยได้แถลงการร่วมกับกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน BOL ได้ปิดหน่วยแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผิดกฎหมายทั้งหมด 419 แห่งทั่วประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงธนาคารกลางยังได้เรียกร้องให้ประชาชนในท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และชาวต่างชาติ ใช้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับธนาคารหรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ด้านรัฐบาล สปป.ลาว ยังให้คำมั่นว่าจะควบคุมเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten79_Central_y23.php

Q4/2021 ท่าเรือสีหนุวิลล์กัมพูชา กำไรพุ่งแตะ 5.9 ล้านดอลลาร์

ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) รายงานถึงกำไรสุทธิที่มูลค่า 5.9 ล้านดอลลาร์ ในช่วง Q4/2021 อันเนื่องมาจากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้นและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญ โดย PAS มีรายรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.21 หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 21 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ถูกบันทึกไว้ที่ 864,729 ดอลลาร์ ซึ่งปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ของ PAS เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.30 สู่ 9,350 TEU เท่ากันกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขนส่งสินค้าขั้นต้นลดลงร้อยละ 1.65 มาอยู่ที่ปริมาณ 29,229 ตัน โดยในระยะถัดไป PAS กำลังเร่งทำการศึกษาโครงการขยายท่าเรือแห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับเรือขนาด 60,000 ตัน หรือเรือตู้คอนเทนเนอร์ที่สามารถบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ได้ 5,000 TEUs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501030709/sihanoukville-autonomous-port-q4-net-surges-to-5-9-million/