ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่ได้รับอนุญาตจะต้องขายสกุลเงินต่างประเทศในราคาควบคุม: ธนาคารกลางเมียนมา

ตามประกาศของ ธนาคารกลางเมียนมา ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรามีหน้าที่ขายสกุลเงินต่างประเทศตามอัตราที่กำหนดของธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) หากไม่ทำเช่นนั้นจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากบัตรเดบิตและบัตรเครดิตสำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศแล้ว CBM ยังอนุญาตให้ผู้แลกเงินที่ได้รับอนุญาตขายสกุลเงินต่างประเทศได้ที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) หรือเคาน์เตอร์ที่กำหนดของตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินสดย่อยและควบคุม โดยเริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำหรับธุรกรรมที่ผิดกฎหมายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศ ไปรับการรักษาพยาบาล และศึกษาต่อต่างประเทศ และเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2566 สำหรับผู้แสวงบุญและเข้าร่วมเวิร์คช็อปหรือการประชุมตามคำเชิญขององค์กรภาครัฐต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หากชาวเมียนมาต้องการแลกเปลี่ยนสกุลเงินมากกว่าเงินสดที่มีอยู่ สามารถใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีการเยี่ยมเยียนร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งและข้อบังคับที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/authorized-money-changers-must-sell-foreign-currencies-at-regulated-prices-cbm/

สปป.ลาว ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจด้วยกระบวนการอนุมัติที่คล่องตัว

เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมการลงทุนทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยมากขึ้น รัฐบาล สปป.ลาว ได้อนุมัติกฎระเบียบใหม่ที่กำหนดให้ลดเวลาการลงทะเบียนสำหรับธุรกิจใหม่จาก 10 วัน เหลือ 3 วัน โดยกฎระเบียบใหม่นี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการจดทะเบียนธุรกิจและส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ภายใน 45 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ แพลตฟอร์มดิจิทัลนี้คาดว่าจะปฏิวัติกระบวนการลงทะเบียน ทำให้ผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้มากขึ้น แม้ว่าผู้สมัครจะยังมีทางเลือกในการลงทะเบียนด้วยตนเอง แต่ตัวเลือกออนไลน์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งกระบวนการและเพิ่มความสะดวก

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/01/17/laos-enhances-business-infrastructure-with-streamlined-approval-process/

‘เมียนมา’ ส่งออกสินค้าประมงครึ่งปีแรก กว่า 40 ประเทศทั่วโลก ทะลุ 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

U Nyunt Win อธิบดีกรมประมง กล่าวว่าในช่วงครึ่งปีแรก (เม.ย.-ก.ย.) เมียนมาส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดต่างประเทศกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ทำรายได้ราว 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐของปีงบประมาณปัจจุบัน 2566-2567 โดยตลาดส่งออกสินค้าประมงสำคัญของเมียนมา ได้แก่ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย ทั้งนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าประมง ตลอดจนเมียนมาปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้าอย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fishery-exports-to-over-40-foreign-countries-bag-us270-mln-in-h1/#article-title

วงการกาแฟเวียดนามจ่อปรับตัวตามกฎระเบียบด้านป่าไม้ของอียู

เวียดนาม นิวส์ (Vietnam News) สื่อท้องถิ่นของเวียดนาม รายงานว่า อุตสาหกรรมกาแฟของเวียดนามควรยกระดับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม เผยว่าการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของที่ดินทุกแปลง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกำหนดของกฎระเบียบฯ ถือเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุด เนื่องจากเป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับผู้ดำเนินงานจำนวนมาก จึงทำให้เวียดนามต้องพัฒนาฐานข้อมูลระดับชาติเกี่ยวกับพื้นที่ปลูกป่าและกาแฟ

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/327681

“เมียนมา” ประกาศจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้ธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และไม่อนุญาตให้จัดเก็บสินค้าเข้าไปในคลังของกิจการได้ ในขณะที่กระบวนการออกใบอนุญาตนำเข้าเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยสาเหตุดังกล่าว ทางหน่วยงานรัฐฯ อ้างถึงผลกระทบของความล่าช้าที่จะทำให้มีผลต่อคุณภาพของสินค้านำเข้าและต้องการที่จะควบคุมตลาดให้ดีขึ้น โดยกฎระเบียบหรือข้อจำกัดที่เกี่ยวกับการค้าและอื่นๆ ได้รับการผ่อนปรนจากรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่ถูกเข็มงวดมากขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังเกิดรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากจะมีระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/import-sector-further-restricted-in-myanmar/

รัฐบาลจะออกกฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเติบโต

รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายภายใต้พระราชกฤษฎีกาใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าการขายและการประกอบรถยนต์ในลาวมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบการ 3 ใบจากกระทรวงพาณิชย์บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกรถยนต์อาจดำเนินการเฉพาะในลักษณะขายส่งในขณะที่บริษัทที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจขายยานยนต์สามารถดำเนินธุรกิจได้ทั้งธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกและบริษัทที่มีใบอนุญาตประกอบรถยนต์ได้รับอนุญาตให้นำเข้าชิ้นส่วนและประกอบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้กับลูกค้าในแบบขายส่งเท่านั้นหนึ่งในข้อกำหนดหลักที่ บริษัทต้องปฏิบัติคือธุรกิจที่ต้องการขอใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกยานพาหนะจะต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 4 พันล้านกีบสำหรับรถยนต์สามล้อและ 5 พันล้านกีบสำหรับยานพาหนะสี่ล้อกฎหมายใหม่จะทำให้การจัดการในธุรกิจยานพาหนะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจำกัดบริษัทที่ขายรถยนต์คุณภาพต่ำเนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปนอกจากนี้มีการส่งเสริมด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทที่จะมีการลงทุนอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt06.php

ธนาคารกลางเมียนมาเล็งเปิดอัตราดอกเบี้ยเสรีเพิ่ม

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะพิจารณาการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและอนุญาตให้ธนาคารเอกชนมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดอัตราการดอกเบี้ยเพื่อการแข่งขัน โดย CBM จะขอความช่วยเหลือจาก IMF และสังเกตว่าประเทศอื่นเริ่มไปก่อนแล้ว ปัจจุบันธนาคารเอกชนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 8% และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม 13% ที่กำหนดโดย CBM ขณะที่อัตราของธนาคารกลางคือ 10% ซึ่งการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยบางประเทศใช้เวลานานถึง 20 ปี และไม่สามารถลดหรือเพิ่มได้ทันที ซึ่งประเทศนั้นต้องมีความเข้าใจในตลาดทุนพอสมควรและยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน ในขณะเดียวกันยังกำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบสำหรับสถาบันการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินและส่งเสริมให้ตลาดทุนมีความสำคัญยิ่งขึ้น ณ สิ้นปีงบประมาณ 60-61 มีทุนชำระแล้วในภาคธนาคาร เกือบ 3 ล้านล้านจัต เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปัจจุบัน CBM กำลังเตรียมการเพื่อกำหนดกรอบการควบคุมสกุลเงินต่างประเทศเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-will-consider-further-rate-liberalisation.html