กรมประมงเมียนมาบังคับใช้ข้อจำกัดในการทำประมงในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูตกปลา

ตามที่กรมประมงเมียนมาระบุ การออกใบอนุญาตทำการประมงในทะเลเมียนมานั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตกปลาที่ใช้ในช่วงนอกฤดูตกปลา แม้ว่าฤดูกาลที่ไม่ใช่ฤดูประมงของปีนี้ถูกกำหนดไว้เป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ก็มีการออกใบอนุญาตทำการประมงในบางภูมิภาคและรัฐ เนื่องจากประสบปัญหาของสมาคมผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าอนุญาตให้ทำการประมงได้เฉพาะในเขตย่างกุ้งในเดือนเมษายน ในเขตตะนาวศรีเดือนเมษายนและพฤษภาคม และในเขตอิระวดีและรัฐมอญในเดือนเมษายน แต่เฉพาะกับเรือประมงบางประเภทเท่านั้น นอกจากนี้ เรือประมงนอกชายฝั่งอื่นๆ ทั้งหมดจะต้องหยุดดำเนินการเป็นเวลาสามเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งกรมประมงระบุเฉพาะเรือประมงในฝั่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fd-implements-fishing-restrictions-during-non-fishing-season/#article-title

การส่งออกสินค้าประมงทะลุ 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 มีนาคม

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอ) กล่าวว่า เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีมูลค่า 675.958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยัง 45 ประเทศ ณ วันที่ 15 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าประมงจะถูกจัดส่งไปยังคู่ค้าต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเล และทางชายแดน โดยการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หากเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกกุ้งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และกุ้งเลี้ยงจากตะนาวศรีเป็นสินค้าซื้อขายที่มีมูลค่ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปลามากกว่า 20 ชนิด รวมถึงฮิลซา ปลากะพง ปลาโรหู ปลาดุกแม่น้ำ และปลาบาร์บัส โดยที่คู่ค้าหลักที่เมียนมาส่งออกไป ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมงในฐานะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การส่งออกอาหารทะเลไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน มีการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานกำลังพยายามปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกประมง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-cross-us675-mln-as-of-15-march/#article-title

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่ากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามรายงานของ U Nyunt Win ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอว์) ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ของปีการเงิน 2566-2567 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 300 รายการไปยัง 45 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 624.473 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกเป็นประจำไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรวมจำนวน 435,000 ตัน มีช่องทางการส่งออกผ่านการขนส่งทางอากาศ และผ่านชายแดนเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับเส้นทางการค้าชายแดนบางเส้นทางด้วยเหตุผลหลายประการ รายได้ในปีนี้จึงลดลง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับยอดรวมของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 676.528 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออกกำลังร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากเมียนมา เพื่อให้มั่นใจว่ามีการส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น จีนมีเกณฑ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะปลอดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-aquatic-products-worth-over-us624m-in-2023-24-financial-year/

‘เมียนมา’ ส่งออกสินค้าประมงครึ่งปีแรก กว่า 40 ประเทศทั่วโลก ทะลุ 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

U Nyunt Win อธิบดีกรมประมง กล่าวว่าในช่วงครึ่งปีแรก (เม.ย.-ก.ย.) เมียนมาส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดต่างประเทศกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ทำรายได้ราว 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐของปีงบประมาณปัจจุบัน 2566-2567 โดยตลาดส่งออกสินค้าประมงสำคัญของเมียนมา ได้แก่ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย ทั้งนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าประมง ตลอดจนเมียนมาปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้าอย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fishery-exports-to-over-40-foreign-countries-bag-us270-mln-in-h1/#article-title

กระทรวงเกษตรกัมพูชา คาดส่งออกประมงเติบโตปีหน้า

กระทรวงเกษตรคาดว่าการส่งออกสินค้าประมงของกัมพูชาจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกปลาไปยังประเทศจีนที่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้านรองอธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กล่าวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ว่าปัจจุบันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงสดและแปรรูปไปยังตลาดต่างประเทศมีปริมาณรวมกว่า 3,320 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมองว่าการส่งออกประมงยังไม่แพร่หลายมากนัก รวมถึงตลาดส่งออกยังมีเพียงแค่ประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และสิงคโปร์เท่านั้น โดยรัฐบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ของกรมประมง ซึ่งหวังว่าปีหน้าจะเพิ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายในประเทศให้สอดรับกับความต้องการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50989604/ministry-of-agriculture-expects-fishery-exports-to-increase-significantly-next-year/

เมียนมาตั้งเป้าเศรษฐกิจปี 64 โต 6%

รัฐบาลเมียนมาคาดเศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโต 6% ในปีงบประมาณ 63-64 ตามคำแถลงงบประมาณของกระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตในภาคเกษตรกรรม 2.6% ภาคอุตสาหกรรม 6.5% และภาคบริการ 7.4% ในปีนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ารัฐบาลควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญให้กับภาคการเกษตรเพื่อสร้างการเติบโตเป็นกลยุทธ์ที่ดี ภาคเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด -19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานซึ่งทำให้คนงานหลายพันคนตกงาน ด้าน นาย อู หม่อง หม่อง เล รองประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมากล่าวว่า ควรปลูกพืชผลที่ทำกำไรและต้นทุนให้ต่ำ สร้างตลาดสำหรับผู้ขายและผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ควรให้ความสำคัญกับการประมงมากขึ้นเพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมทางทะเลเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรขยายไปสู่ตลาดส่งออกใหม่ ๆ ด้วยการร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-targets-6pc-economic-growth-2021.html

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรก

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 26.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่ากว่า 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน (24.13% ของยอดส่งออกรวม) รองลงมาจีน (-10.1%YoY) สหภาพยุโรป (-2.2%YoY) ขณะที่ อาเซียนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.4 และ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ กลุ่มสินค้าส่งออกหลายอย่างลดลง แต่ยอดส่งออกข้าวยังคงเพิ่มขึ้น (10.4%, 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามมาด้วยผัก (12.8%), มันสำปะหลัง (95%), กุ้ง (11.4%) และไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ (9.6%) เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้เข้ามาประสานงานกับกระทรวงอื่นๆ, หน่วยงานท้องถิ่นและธุรกิจ เพื่อขจัดอุปสรรคและส่งเสริมการส่งออก ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด—19 รวมถึงอัพเดทกฎระเบียบใหม่ๆ และส่งเสริมการทำตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agroforestryfisheries-exports-reach-over-26-billion-usd-in-first-eight-months/181984.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยช่วง 7 เดือนแรก ยอดส่งออกของภาคเกษตร ป่าไม้และประมงที่ 22.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 22.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่

  • ผลผลิตการทำฟาร์ม 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตป่าไม้ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตการประมง 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sevenmonth-agroforestryaquaculture-export-reaches-223-billion-usd/179675.vnp

เวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัว จากการส่งออกสินค้าประมงไปยังจีน

เวียดนามส่งออกปลาสวายไปยังจีน มูลค่าราว 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งเดือนแรกมีนาคม ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าเป็นสัญญาที่ดีในการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าประมงของเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ากุ้งและปลาสวายจากจีนที่กลับมาสั่งซื้อตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน และคาดว่าการส่งออกปลาสวายของเวียดนามไปยังจีน อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รวมถึงคาดการณ์ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสจะสามารถควบคุมในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยการผลิตจะกลับมาเป็นปกติในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ นอกจากนี้ เกาหลีใต้เป็นตลาดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของสินค้าเวียดนามและได้ส่งสัญญาว่าความต้องการจะกลับมาฟื้นตัวในไม่ช้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/aquatic-exports-to-china-shows-sign-of-recovery/172015.vnp

การส่งออกประมงเมียนมาชะลอตัว

การส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงขอเมียนมาเกือบจะหยุดชะงักตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID-19 และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็งกำลังประสบปัญหาในการดำเนินงาน ปัจจุบันมีการระงับการสั่งซื้อในหลายประเทศ ส่วนข้อตกลงการสั่งซื้อได้หยุดการเจรจาลงและข้อตกลงที่มีอยู่ปัจจุบันถูกระงับ ผลิตภัณฑ์ประมงจากทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังยุโรปและประเทศในเอเชีย ขณะที่ ผลิตภัณฑ์น้ำจืดถูกส่งออกไปยังประเทศอาหรับ ปัจจุบันโรงงานแปรรูปที่มีแรงงานจำนวนมากอาจไม่สามารถจ่ายค่าแรงได้หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด COVID-19 จึงมีการแนะนำให้เมียนมาพิจารณาในแนวทางดังกล่าว ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ของปีงบประมาณปัจจุบันเมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลเกือบ 340,000 ตันมูลค่ามากกว่า 412 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (572 พันล้านจัต)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-fisheries-products-slow-crawl.html