‘เวียดนาม’ ส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้ เผชิญกับอุปสรรคทางเทคนิค

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของแห่งเวียดนาม (VASEP) รายงานว่าการส่งออกอาหารทะเลของเกาหลีใต้ไปยังเวียดนาม ได้รับการยกเว้นภาษีหรือปลอดภาษี ในขณะที่ผู้ส่งออกกุ้งของเวียดนามเผชิญกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงเกษตรและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยกเลิกโควต้าการนำเข้ากุ้งเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA)  และหากสถานการณ์นี้เดินหน้าต่อไป จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจเวียดนามที่จะส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-shrimp-exports-to-south-korea-face-technical-hurdle-vasep/

‘ตะวันออกกลาง’ ผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลุ่มประเทศในตะวันออกกลางกลายมาเป็นผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและกลุ่มตลาด CPTPP และเวียดนามมีสัดส่วนการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพียง 10% ของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าทั้งหมด โดยจากตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร ชี้ให้เห็นว่าเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง มูลค่า 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศอิสราเอล เลบานอน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และตุรกี เพิ่มขึ้น 37%, 17%, 23% และ 73% ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดอื่นๆ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อียิปต์และซาอุดีอาระเบีย ลดลง 47% และ 78%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650464/middle-east-the-fourth-largest-importer-of-vietnamese-tuna.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ แตะ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี อาหารทะเลของเวียดนามปรับตัวลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่เพียง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กุ้งของเวียดนามนับเป็นสินค้าทะเลที่ขายดีที่สุด ทำรายได้มากกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาปลาดุก 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากประเมินยอดขายของสินค้าดังกล่าวจะพบว่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 29% และ 24% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้นำเข้าปลาทูน่าเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ อิสราเอล ไทย ญี่ปุ่น แคนาดา และเยอรมนี ถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังอิสราเอล ไทยและเยอรมนีจะมีการเติบโต  แต่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และแคนาดากลับลดลง โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงมากที่สุดในสหรัฐฯ ถึง 41% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1636885/vietnamese-tuna-fetches-693-million-in-the-first-ten-months-of-2023.html

‘เวียดนาม’ เผยยอดการส่งออกอาหารทะเลดิ่งลงฮวบ ท่ามกลางมาตรการเว้นระยะทางสังคม

สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามาตรการเว้นระยะทางสังคมที่เข็มงวดในหัวเมืองและจังหวัดทางภาคใต้ 19 จังหวัดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูปอาหารทะเล ทำให้ยอดการส่งออกอาหารทะเลลดลงอย่างมาก ตามข้อมูลของสมาคมฯ แสดงให้เห็นว่ายอดการส่งออกอาหารทะเลของเวียดนามไปยังตลาดหลักในเดือนสิงหาคม ได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรป ลดลงราว 16-50% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะตลาดเนเธอแลนด์และเยอรมนี ลดลงประมาณ 50% และ 42% ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลทั้งสิ้น แตะ 588 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ลดลงราว 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ นาย Le Van Quang ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท Minh Phu กล่าวว่าบริษัทอาหารทะเลในจังหวัดทางภาคใต้ดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผลผลิตลดลง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/seafood-exports-drop-sharply-during-social-distancing/

การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ ยังคงเติบโตได้ดี

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าเวียดนามได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้ากุ้งในตลาดเกาหลีใต้ (เกาหลีใต้ ไม่เกิน 15,000 ตันต่อปี) เนื่องจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA) ขณะที่ เวียดนามมีปริมาณขนส่งได้เพียง 2,500 ตัน ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ประโยชน์ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ส่งออกกุ้งได้ปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพและปฏิบัติตามขั้นตอนของเกาหลีใต้ ที่จะผ่านมาตรการทางเทคนิคต่อการค้า ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ มีการเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก และคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 5 ในปี 2563 ในขณะที่ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามเป็นผู้จัดหากุ้งรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของยอดนำเข้ารวมของประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-shrimp-export-to-rok-sees-positive-growth/182210.vnp

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาสวายไปยังยุโรปดิ่งลงฮวบ เหตุโควิด-19

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลางเดือนพ.ค. การส่งออกปลาสวาย (Pangasius) ของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป มีมูลค่า 53.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลก รวมถึงสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกปลาสวายของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ราคาปลาสวายที่ขายเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับจีนที่ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ที่มีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้ เพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยข้างต้น ภาคการประมงเร่งส่งเสริมสร้างความเข็มแข็งในการควบคุมสภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและคุณภาพของการผลิต ช่วยให้เกษตรกรและธุรกิจเข้าร่วมการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/tra-fish-exports-to-eu-see-a-sharp-fall-due-to-covid19-414903.vov

จีนสั่งปูเพิ่มขึ้นจากเวียดนาม ในช่วง 4 เดือนแรกปี 2563

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม, สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกปูของเวียดนามสูงถึง 44.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดส่งออกรายใหญ่ของเวียดนาม ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและยุโรป ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีนที่มีการนำเข้าปูจากเวียดนาม ติดอันดับที่ 4 ของผู้นำเข้าทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว มูลค่าส่งออกปูของเวียดนามไปยังจีนอยู่ที่ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 394 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ มองว่าหลังจากควบคุมการแพร่ระบาดไวรัส ตั้งแต่เดือนมี.ค. ทำให้ความต้องการอาหารทะเลของจีนกลับมาฟื้นตัว สินค้าอาหารทะเลของเวียดนามส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นที่ต้องการรักษาเสถียรภาพจากการนำเข้าสินค้าเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงแรกของปีนี้ ซึ่งในเดือนพ.ค. เวียดนามส่งออกไปยังญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ตามมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในเดือนเม.ย.

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/china-increases-crab-purchase-from-vietnam-in-first-four-months-2020-21170.html

เวียดนามคาดส่งออกกุ้งสูงถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) คาดการณ์ว่ายอดส่งออกกุ้งในปีนี้สูงถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แทนที่คาดการณ์ในครั้งก่อนอยู่เพียง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องมาจากได้รับสัญญาเชิงบวก แม้ว่าจะมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ มูลค่าส่งออกกุ้งอยู่ที่ 628.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญบางแห่ง เริ่มมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐฯ หากจำแนกรายประเทศ พบว่าญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของยอดส่งออกกุ้งรวมของเวียดนาม ในขณะที่ สหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับที่ 2 ของตลาดส่งออกกุ้งรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น รวมทั้งกุ้ง ท่ามกลางการระบาดอย่างหนัก ทั้งนี้ เลขาธิการของสมาคมฯ กล่าวว่ารัฐบาลเวียดนามสามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะเปิดโอกาสให้ส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศได้ ถึงแม้ยังไม่สามารถประเมินว่าเมื่อไรการระบาดจะสิ้นสุดลง แต่ความต้องการกุ้งสูงมากทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-shrimp-exports-forecast-to-reach-38-billion-usd-in-2020/173163.vnp

เวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัว จากการส่งออกสินค้าประมงไปยังจีน

เวียดนามส่งออกปลาสวายไปยังจีน มูลค่าราว 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งเดือนแรกมีนาคม ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าเป็นสัญญาที่ดีในการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าประมงของเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ากุ้งและปลาสวายจากจีนที่กลับมาสั่งซื้อตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน และคาดว่าการส่งออกปลาสวายของเวียดนามไปยังจีน อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รวมถึงคาดการณ์ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสจะสามารถควบคุมในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยการผลิตจะกลับมาเป็นปกติในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ นอกจากนี้ เกาหลีใต้เป็นตลาดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของสินค้าเวียดนามและได้ส่งสัญญาว่าความต้องการจะกลับมาฟื้นตัวในไม่ช้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/aquatic-exports-to-china-shows-sign-of-recovery/172015.vnp

กรีซนำเข้าปลาทูน่าพุ่งสูงขึ้นจากเวียดนาม

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังประเทศกรีซ ด้วยมูลค่าราว 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสมาคมฯ มองว่าสถานการณ์การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปนั้นลดลง แต่ทางด้านตลาดกรีซกลับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าแปรรูปกระป๋องของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94 ของมูลค่าส่งออกปลาทูน่าไปยังตลาดโลก อีกทั้ง กลุ่มผู้บริโภคชาวกรีซนิยมทานปลาทูน่ากระป๋องจากอิตาลี อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 ความต้องการสินค้าคุณภาพสูงลดลง เป็นผลมาจากการปรับขึ้นราคาสินค้า ดังนั้น กรีซจึงต้องนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากกลุ่มประเทศในแถบเอเชียเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตุรกี ซึ่งกลุ่มประเทศดังกล่าว ล้วนเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/greece-increases-imports-of-vietnamese-tuna/160255.vnp