‘เวียดนาม’ ส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้ เผชิญกับอุปสรรคทางเทคนิค

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของแห่งเวียดนาม (VASEP) รายงานว่าการส่งออกอาหารทะเลของเกาหลีใต้ไปยังเวียดนาม ได้รับการยกเว้นภาษีหรือปลอดภาษี ในขณะที่ผู้ส่งออกกุ้งของเวียดนามเผชิญกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงเกษตรและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยกเลิกโควต้าการนำเข้ากุ้งเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA)  และหากสถานการณ์นี้เดินหน้าต่อไป จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจเวียดนามที่จะส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-shrimp-exports-to-south-korea-face-technical-hurdle-vasep/

โครงการนำร่องเลี้ยงกุ้งลูกผสมน้ำจืดประสบความสำเร็จในเขตอิระวดี

U Tun Win Aung หัวหน้ากรมประมงในเมืองลาบุตตา รายงานความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งน้ำจืดนำร่องในเขตอิระวดี เนื่องจากเมืองลาบุตตาในเขตอิระวดีตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่ง การเลี้ยงกุ้งทะเลจึงประสบความสำเร็จ โดยได้รับประโยชน์จากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรายงานว่ากุ้งน้ำจืดลูกผสมกำลังได้รับการเพาะพันธุ์บนพื้นที่ 115 เอเคอร์ของเมืองลาบุตตา  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นและตลาดที่กำลังเติบโต การทำฟาร์มนำร่องกุ้งน้ำจืดลูกผสมก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม กุ้งน้ำจืดลูกผสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ใช่พันธุ์ดั้งเดิมของพม่า แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีกุ้งตั้งแต่ 80,000 ตัวไปจนถึงกุ้ง 100,000 ตัวบนพื้นที่หนึ่งเอเคอร์ ซึ่งการผสมพันธุ์ใช้เวลาเพียง 6 เดือน หลังจากนั้นกุ้งเหล่านี้ก็สามารถส่งออกสู่ตลาดได้ นอกจากนี้ ธุรกิจห้องเย็นไม่เพียงดำเนินการเพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่ยังเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/hybrid-freshwater-hybrid-shrimp-pilot-farming-successful-in-ayeyawady-region/#article-title

9 เดือน ของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกกุ้ง พุ่ง! 12,000 ตัน ทำรายได้เข้าประเทศกว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรมประมงของเมียนมา เผย ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน 2565-เดือนธันวาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศมากกว่า 12,355 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 10,388 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณก่อน โดยสินค้าประมงของเมียนมาถูกส่งออกไปยัง 45 ประเทศในทุกๆ ปี ส่วนใหญ่ส่งออกผ่านการค้าชายแดนเป็นหลัก ในธุรกิจเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่นำเข้าลูกพันธ์กุ้งจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้ ภาคการเกษตรถือเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของเมียนมา โดยคิดเป็นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และคิดเป็นร้อยละ 68 ของรายได้หลักของชุมชนในประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us44-mln-from-export-of-over-12000-mt-of-shrimps-to-foreign-markets-in-9-months/

การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ ยังคงเติบโตได้ดี

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าเวียดนามได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้ากุ้งในตลาดเกาหลีใต้ (เกาหลีใต้ ไม่เกิน 15,000 ตันต่อปี) เนื่องจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA) ขณะที่ เวียดนามมีปริมาณขนส่งได้เพียง 2,500 ตัน ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ประโยชน์ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ส่งออกกุ้งได้ปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพและปฏิบัติตามขั้นตอนของเกาหลีใต้ ที่จะผ่านมาตรการทางเทคนิคต่อการค้า ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ มีการเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก และคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 5 ในปี 2563 ในขณะที่ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามเป็นผู้จัดหากุ้งรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของยอดนำเข้ารวมของประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-shrimp-export-to-rok-sees-positive-growth/182210.vnp

ส่งออกกุ้งเวียดนามไปยังแคนาดา โต 32%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงครึ่งปีแรกของเดือนพ.ค. ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็นมูลค่า 54.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเดือนม.ค. การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เผชิญกับภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกในเดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก (Double-Digit Growth) ทั้งนี้ แคนาดาเป็นผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ของตลาดต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ของยอดส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ศูนย์กลางการค้าโลก (World Trade Center) ชี้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เวียดนามนำเข้ากุ้งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาอินเดีย เวียดนาม ไทย จีนและเอกวาดอร์ ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยส่งออกกุ้งของเวียดนาม มีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดแคนาดา

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-shrimp-exports-to-canada-surge-32-21651.html

ศักยภาพการส่งออกกุ้งของเวียดนามในตลาดแคนาดา

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา อยู่ที่ 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งในเดือนเม.ย. ชี้ให้เห็นว่ายอดส่งออกกุ้งไปยังตลาดดังกล่าว พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 51 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ แคนาดานิยมบริโภคกุ้งก้าวกรามที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลมาจากปริมาณกุ้งแช่เย็นลดลง อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าแคนาดามีสัดส่วนการนำเข้ากุ้งครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารทะเลทั้งหมดและมีแนวโน้มในการซื้อกุ้งเพื่อนำมาประกอบอาหารในครัวเรือนแคนาดา นอกจากนี้ เวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่อันดับที่ 2 ของแคนาดา สำหรับด้านราคาส่งออก พบว่าราคาส่งออกกุ้งของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามมีความต้องการสูงสำหรับตลาดหลากหลายประเทศและลดการนำเข้าจากสหรัฐฯ

ที่มา : https://customsnews.vn/potential-of-exporting-shrimp-to-canada-14931.html

เวียดนามคาดส่งออกกุ้งสูงถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) คาดการณ์ว่ายอดส่งออกกุ้งในปีนี้สูงถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แทนที่คาดการณ์ในครั้งก่อนอยู่เพียง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องมาจากได้รับสัญญาเชิงบวก แม้ว่าจะมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ มูลค่าส่งออกกุ้งอยู่ที่ 628.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญบางแห่ง เริ่มมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐฯ หากจำแนกรายประเทศ พบว่าญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของยอดส่งออกกุ้งรวมของเวียดนาม ในขณะที่ สหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับที่ 2 ของตลาดส่งออกกุ้งรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น รวมทั้งกุ้ง ท่ามกลางการระบาดอย่างหนัก ทั้งนี้ เลขาธิการของสมาคมฯ กล่าวว่ารัฐบาลเวียดนามสามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะเปิดโอกาสให้ส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศได้ ถึงแม้ยังไม่สามารถประเมินว่าเมื่อไรการระบาดจะสิ้นสุดลง แต่ความต้องการกุ้งสูงมากทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-shrimp-exports-forecast-to-reach-38-billion-usd-in-2020/173163.vnp

เวียดนามคาดไตรมาสแรก ยอดส่งออกกุ้งพุ่งไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมกุ้งเวียดนามในตลาดสำคัญสดใส ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดนเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าอยู่ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) กล่าวว่า ญี่ปุ่นติด 5 อันดับแรกของตลาดส่งออกกุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าส่งออกกุ้งรวม หลังจากในเดือนก.พ. ส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวพุ่งขึ้นร้อยละ 63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกกุ้งอันดับ 2 ของเวียดนามในไตรมาสแรก เนื่องจากมีความต้องการอาหารจำเป็นเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมถึงกุ้งด้วย ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัส ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 115.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน นับว่าเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในบรรดาตลาดส่งออกสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกอื่นๆ กลับมีมูลค่าลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้และจีน เป็นต้น ถึงแม้ว่าไม่ทราบความชัดเจนเมื่อไรการระบาดจะสิ้นสุดลง แต่ความต้องการกุ้งทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-high-shrimp-export-growth-to-us-and-japan-in-q1/172232.vnp

ทิศทางส่งออกกุ้งเวียดนามปี 63 เติบโตได้ดี

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามูลค่าส่งออกอาหารทะเลปีที่แล้ว อยู่ที่ 3.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา แม้ว่าการส่งออกลดลง แต่ในปัจจุบันน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากการส่งออกไปยังผู้นำเข้ารายใหญ่ในปีนี้ ซึ่งในปีที่แล้ว พบว่ายอดส่งออกกุ้งขาวแปซิฟิก (White Leg Shrimp) อยู่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.4 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.1 ของมูลค่าส่งออกกุ้งรวมทั้งสิ้น ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกกุ้งกุลาดำและกุ้งประเภทอื่นๆ มีส่วนแบ่งส่งออกกุ้งทั้งหมดร้อยละ 15.9 และ 9.4 ตามลำดับ สำหรับตลาดจีนมีความเข็มงวดในด้านคุณภาพสินค้าและการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าย้อนหลังที่ผ่านตามเขตชายแดน รวมไปถึงสถานการณ์ของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่มีความไม่แน่นอน นอกจากนี้ ในปี 62 สหภาพยุโรปยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของมูลค่าการส่งออกกุ้งทั้งหมด ด้วยมูลค่า 689.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับปี 61 ซึ่งในปีนี้การส่งออกกุ้งจะฟื้นตัวจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสหรัฐที่เรียกเก็บสำหรับการนำเข้าสินค้ากุ้งจากเวียดนามร้อยละ 0 ขณะที่ ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เดือนมิ.ย.63 จะส่งผลให้เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/shrimp-exports-expected-to-enjoy-fruitful-advantages-throughout-2020-409701.vov

ไต้หวันเป็นผู้บริโภคกุ้งรายสำคัญในเวียดนาม

จากรายงานสถิติของศูนย์การค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าเวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ อันดับ 2 ของบรรดาซัพพลายเออร์ทั่วโลก ไปยังตลาดไต้หวัน (จีน) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยมูลค่าการส่งออกกุ้งไปยังไต้หวันอยู่ที่ 41.9 ล้านเหรียญหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าขยายตัวได้ดีที่สุด เนื่องมาจากผู้บริโภคชาวไต้หวันนิยมกุ้งกุลาดำแช่แย็นแช่แข็ง ราคาอยู่ที่ 6-8 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ สินค้าสัตว์น้ำประเภทอื่นๆ ต่างได้รับความนิยมเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการส่งออกกุ้งอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก แต่เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังไต้หวันนั้น ไม่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามที่คาดหวังไว้ เป็นผลมาจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นร้อยละ 20 รวมไปถึงกฎระเบียบที่เข็มงวดในด้านความปลอดภัยของอาหารและมาตรฐานสุขอนามัย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/taiwan-emerges-as-largest-consumer-of-vietnamese-shrimp-405481.vov