‘เวียดนาม’ ส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้ เผชิญกับอุปสรรคทางเทคนิค

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของแห่งเวียดนาม (VASEP) รายงานว่าการส่งออกอาหารทะเลของเกาหลีใต้ไปยังเวียดนาม ได้รับการยกเว้นภาษีหรือปลอดภาษี ในขณะที่ผู้ส่งออกกุ้งของเวียดนามเผชิญกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงเกษตรและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยกเลิกโควต้าการนำเข้ากุ้งเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA)  และหากสถานการณ์นี้เดินหน้าต่อไป จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจเวียดนามที่จะส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-shrimp-exports-to-south-korea-face-technical-hurdle-vasep/

‘ตะวันออกกลาง’ ผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลุ่มประเทศในตะวันออกกลางกลายมาเป็นผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและกลุ่มตลาด CPTPP และเวียดนามมีสัดส่วนการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพียง 10% ของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าทั้งหมด โดยจากตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร ชี้ให้เห็นว่าเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง มูลค่า 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศอิสราเอล เลบานอน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และตุรกี เพิ่มขึ้น 37%, 17%, 23% และ 73% ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดอื่นๆ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อียิปต์และซาอุดีอาระเบีย ลดลง 47% และ 78%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650464/middle-east-the-fourth-largest-importer-of-vietnamese-tuna.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ แตะ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี อาหารทะเลของเวียดนามปรับตัวลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่เพียง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กุ้งของเวียดนามนับเป็นสินค้าทะเลที่ขายดีที่สุด ทำรายได้มากกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาปลาดุก 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากประเมินยอดขายของสินค้าดังกล่าวจะพบว่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 29% และ 24% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้นำเข้าปลาทูน่าเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ อิสราเอล ไทย ญี่ปุ่น แคนาดา และเยอรมนี ถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังอิสราเอล ไทยและเยอรมนีจะมีการเติบโต  แต่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และแคนาดากลับลดลง โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงมากที่สุดในสหรัฐฯ ถึง 41% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1636885/vietnamese-tuna-fetches-693-million-in-the-first-ten-months-of-2023.html

‘เวียดนาม’ เผย 3 เดือนแรกปี 65 ผลผลิตอาหารทะเล แตะ 566,700 ตัน

คณะกรรมการประมง กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ผลผลิตอาหารทะเลทั้งหมดของเวียดนามอยู่ที่ 566,700 ตัน เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ผู้อำนวยการกล่าวว่าปัจจุบัน เวียดนามมีสหภาพแรงงานประมงจำนวน 86 แห่งใน 16 จังหวัด และจำนวนสมาชิกราว 17,700 คน เรือประมง 6,200 ลำ ในขณะเดียวกัน ห้องเก็บความเย็นมีจำนวน 640 แห่ง สามารถบรรจุได้ 78,700 ตัน ทั้งนี้ เวียดนามได้ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเรือประมง การจัดการและติดตามแหล่งที่มาของสินค้า รวมถึงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล นอกจากนี้ เวียดนามได้รับการร้องขอให้จัดการกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU) อย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/seafood-output-hits-566700-tonnes-in-three-months/224285.vnp

‘เวียดนาม’ เผยยอดการส่งออกอาหารทะเลดิ่งลงฮวบ ท่ามกลางมาตรการเว้นระยะทางสังคม

สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามาตรการเว้นระยะทางสังคมที่เข็มงวดในหัวเมืองและจังหวัดทางภาคใต้ 19 จังหวัดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูปอาหารทะเล ทำให้ยอดการส่งออกอาหารทะเลลดลงอย่างมาก ตามข้อมูลของสมาคมฯ แสดงให้เห็นว่ายอดการส่งออกอาหารทะเลของเวียดนามไปยังตลาดหลักในเดือนสิงหาคม ได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรป ลดลงราว 16-50% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะตลาดเนเธอแลนด์และเยอรมนี ลดลงประมาณ 50% และ 42% ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลทั้งสิ้น แตะ 588 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ลดลงราว 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ นาย Le Van Quang ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท Minh Phu กล่าวว่าบริษัทอาหารทะเลในจังหวัดทางภาคใต้ดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผลผลิตลดลง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/seafood-exports-drop-sharply-during-social-distancing/

เวียดนามเผยไตรมาส 2 ยอดส่งออกอาหารทะเล พุ่ง 10%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าในไตรมาสที่ 2 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเล คาดว่าจะถึง 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยความคล่องตัวในการสำรวจและกระจายตลาด ทำให้ธุรกิจสามารถที่จะขยายการส่งออกได้ นอกจากนั้นแล้ว คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ยอดการส่งออกกุ้งอยู่ที่ 980 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี รวมถึงปลาสวายและผลิตภัณฑ์ทางทะเล ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 7% และ 9.6% เป็นมูลค่า 712 และ 816 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ เลขาธิการทั่วไปของสมาคม VASEP กล่าวว่าความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม ช่วยกระตุ้นการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปอย่างมาก ในขณะที่ ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม จะเปิดโอกาสในการส่งออกให้กับธุรกิจอาหารทะเลของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/951729/seafood-exports-to-go-up-by-10-in-q2.html

เวียดนามเผยความต้องการนำเข้าอาหารทะเลที่หรูหราพุ่งสูงขึ้น

เวียดนามนำเข้าอาหารทะเลที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น อาทิ ปูยักษ์ และกุ้งล็อบสเตอร์ เป็นต้น เนื่องมาจากราคาที่ปรับตัวลดลงและคาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองตรุษญวณ (Tết) ทางรองกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่าในปีที่แล้ว การส่งออกอาหารทะเลจากอลาสก้าเพิ่มขึ้น 125% คิดเป็นมูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารทะเลของสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 6 ของโลก ด้วยมูลค่าการนำเข้า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของสถาบันการตลาดอาหารทะเลอลาสก้าในเวียดนาม ระบุว่าความต้องการอาหารทะเลในเวียดนามพุ่งสูงขึ้น และโรงงานแปรรูปหลายแห่งกำลังย้ายออกจากจีนไปยังเวียดนาม สาเหตุมาจากเรื่องภาษีศุลกากร นอกจากนี้ ในช่วงเทศกลาลตรุษญวณ มีความต้องการปูอลาสก้ามากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากทำอาหารได้ง่ายและเหมาะสำหรับโอกาสพิเศษ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/860872/demand-for-imported-luxury-seafood-rises.html

การส่งออกทางทะเลไปจีนของเมียนมาหวั่นพบอุปสรรค

อุตสาหกรรมอาหารทะเลของเมียนมาต้องใช้เส้นทางอื่นสำหรับการส่งออกไปยังประเทศจีนเนื่องจากความยากลำบากในการขนส่ง นาย U Tine Kyaw เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการค้าปลาไหลแของเมียนมากล่าวว่าการบริหารงานในจังหวัดต่างๆ ในจีนส่งผลให้ต้องใช้เส้นทางด่านมูเซเป็นเวลาสามเดือนแทนที่จะใช้เส้นทางชินฉ่วยฮ่อ สินค้าทางทะเลไม่สามารถส่งออกได้ ดังนั้นจึงใช้เส้นทาง Muse-Kyin San Kyawt แทน ซึ่งบางรายการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้การค้าขายจะหยุดหากประตูด่าน Kyin San Kyawt ถูกปิดลง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-marine-exporters-face-roadblocks-china.html

สปป.ลาวสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลไทยหลังการระบาดของ COVID -19 ครั้งใหม่

สปป.ลาวสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากไทยชั่วคราวหลังพบ COVID -19 ระบาดครั้งใหม่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสปป.ลาวกังวลว่าอาหารทะเลอาจปนเปื้อนเชื้อไวรัส ดังนั้นการนำเข้าจึงถูกระงับโดยมีผลทันที คำสั่งห้ามดังกล่าวมีผลหลังจากที่อำเภอสมุทรสาครของไทยกลายเป็นศูนย์กลางของการระบาดของ COVID -19 ครั้งใหม่โดยมีพบผู้ติดเชื้อกว่า 1,000 คน ส่งผลโดยตรงต่อผู้นำเข้าอาหารทะเลในสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากการไม่สามารถนำเข้าได้ สมุทรสาครถือเป็นจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมประมงใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีมูลค่าในปี 2562 กว่า 5.8 พันล้านบาท ดังนั้นการเกิดการระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าผู้ประกอบการไทยจะสูญเสียเงินจากการส่งออกอาหารทะเลไปยังสปป.ลาวกว่า 100 ล้านบาท

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos251.php

เวียดนามตั้งเป้าส่งออกอาหารทะเลปี 64 อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พุ่ง 6%YoY

ถึงแม้จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส แต่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้ตั้งเป้าการส่งออกในปี 2564 ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล กล่าวว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ การส่งออกอาหารทะเลลดลง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามสถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนกรกฎาคมและมีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นผลมาจากการส่งออกกุ้งที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและสัญญาเชิงบวกจากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลตั้งแต่เดือนสิงหาคม

ที่มา : https://e.nhipcaudautu.vn/economy/vietnam-targets-2021-seafood-exports-to-reach-9-bln-up-6-yoy-3338706/