การส่งออกสินค้าประมงทะลุ 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 มีนาคม

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอ) กล่าวว่า เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีมูลค่า 675.958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยัง 45 ประเทศ ณ วันที่ 15 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าประมงจะถูกจัดส่งไปยังคู่ค้าต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเล และทางชายแดน โดยการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หากเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกกุ้งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และกุ้งเลี้ยงจากตะนาวศรีเป็นสินค้าซื้อขายที่มีมูลค่ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปลามากกว่า 20 ชนิด รวมถึงฮิลซา ปลากะพง ปลาโรหู ปลาดุกแม่น้ำ และปลาบาร์บัส โดยที่คู่ค้าหลักที่เมียนมาส่งออกไป ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมงในฐานะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การส่งออกอาหารทะเลไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน มีการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานกำลังพยายามปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกประมง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-cross-us675-mln-as-of-15-march/#article-title

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่ากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามรายงานของ U Nyunt Win ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอว์) ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ของปีการเงิน 2566-2567 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 300 รายการไปยัง 45 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 624.473 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกเป็นประจำไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรวมจำนวน 435,000 ตัน มีช่องทางการส่งออกผ่านการขนส่งทางอากาศ และผ่านชายแดนเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับเส้นทางการค้าชายแดนบางเส้นทางด้วยเหตุผลหลายประการ รายได้ในปีนี้จึงลดลง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับยอดรวมของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 676.528 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออกกำลังร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากเมียนมา เพื่อให้มั่นใจว่ามีการส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น จีนมีเกณฑ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะปลอดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-aquatic-products-worth-over-us624m-in-2023-24-financial-year/

‘เวียดนาม’ มุ่งยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดสหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า และตัวเลขสถิติของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 สหรัฐฯ มีการนำเข้ายางพารา 1.43 ล้านตัน อย่างไรก็ดีเวียดนามส่งออกไปยังสหรัฐฯได้เพียง 20,370 ตัน มูลค่า 28.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 13 ในกลุ่มซัพพลายเออร์ยางพาราในตลาดสหรัฐฯ และคิดเป็นสัดส่วนราว 1.42% ของปริมาณการนำเข้ายางทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยคู่แข่งรายใหญ่ ได้แก่ อินโดนีเซียและไทยที่มีส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯ มากที่สุด

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสินค้าประมง แสดงให้เห็นว่าในช่วง 10 เดือนของปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐฯ อยู่ในระดับมาก และอยู่ในอันดับที่ 2 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยเฉพาะกุ้ง ปลาสวายและปลาทูน่า

นอกจากนี้ นาย Do Ngoc Hung ที่ปรึกษาด้านการพาณิชย์ของเวียดนาม แนะนำให้ผู้ประกอบการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-strives-to-increase-competitiveness-for-agricultural-exports-to-us/278092.vnp

การส่งออกประมงของเมียนมาร์มีมูลค่า 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากกว่า 290,000 ตัน

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมงในกรุงเนปิดอว์ กล่าวว่า เมียนมาร์มีการส่งออกประมงมากกว่า 290,000 ตัน มูลค่า 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังต่างประเทศมากกว่า 40 ประเทศในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ สินค้าประมงดังกล่าวถูกส่งไปยังญี่ปุ่น ประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย ซึ่งสหพันธ์ประมงเมียนมาร์และกรมประมงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมง อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ให้ความสำคัญกับกระบวนการประมงตามหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิต เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารทะเล และปฏิบัติตามกฎและระเบียบการนำเข้าของประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกเหนือจากการส่งออกทางทะเลแล้ว เมียนมาร์ยังส่งการประมงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและไทย ผ่านจุดชายแดนเมียวดี มูเซ เกาะสอง ซิตเวย์ มะริด และหม่องตอ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออก ได้ร่วมมือกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศที่นำเข้าประมงของเมียนมาร์ และพยายามร่วมกันไม่ลดปริมาณการส่งออก รวมทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการส่งออกอาหารทะเลที่กำหนดโดยประเทศต่างๆ เช่น จีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fisheries-exports-bag-us448-mln-from-over-290000-tonnes-in-apr-nov/

Q4 ปี 65 ค้าชายแดนเมียนมา-บังคลาเทศ ทะลุ! 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของหอการค้ารัฐยะไข่ ของเมียนมา เผย ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ปี 2565 มูลค่าการส่งออกของเมียนมาผ่านชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ อยู่ที่ 5.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยชายแดนซิตเวย์และหม่องดอ ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้าประมงเป็นหลัก เช่น ปลายี่สกเทศ ปลาตะลุมพุกฮิลซา และปลากะตัก ส่วนสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค มีการส่งออกบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เมียนมาได้ส่งออก ข้าวพันธุ์ Emata จำนวน 2,500 ตัน ไปยังบังกลาเทศผ่านท่าเรือซิตเวย์ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-5-mln-worth-of-exports-in-q4-2022/#article-title

ชาวประมงรัฐยะไข่ มุ่งเลี้ยงหอยนางรม-ปลาเก๋าดอกแดง สร้างรายได้งาม

กรมประมงของรัฐยะไข่ เผย ชาวประมงเริ่มเพาะเลี้ยงหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดง เพื่อส่งขายไปยังย่างกุ้งและเมืองอื่นๆ โดยราคาหน้าฟาร์มจะอยู่ระหว่าง 1,500 ถึง 2,000 จัต ส่วนที่ส่งไปยังโรงแรมและร้านอาหาร ราคาจะขายได้มากกว่า 5,000 จัต ขึ้นอยู่กับการแปรรูป ซึ่งหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่แล้วจะถูกเพาะเลี้ยงบริเวณป่าชายเลนของรัฐยะไข่ เขตตะนาวศรี และย่างกุ้ง โดยการเลี้ยงปลาเก๋าดอกแดงใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงสามารถส่งขายได้ ราคาจะอยู่ระหว่าง 15,000-30,000 จัต ทั้งนี้ หอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่มีการเพาะเลี้ยงในเมืองตั่งตแว, กวะ, มานออง, ย่าน-บแย และ เจาะตอ ของรัฐยะไข่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/rakhine-state-produces-oysters-orange-spotted-groupers-on-commercial-scale/#article-title

H1 กำปอตกัมพูชา สร้างผลผลิตสินค้าประมงแตะ 12,000 ตัน

ครึ่งปีแรกชาวประมงจังหวัดกำปอตสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตสินค้าทางการประมงปริมาณกว่า 12,000 ตัน ด้าน Sar Surin อธิบดีกรมประมง กรมวิชาการเกษตร ป่าไม้ และประมงจังหวัดกำปอต กล่าวเสริมว่า มาจากปลาน้ำจืด 2,300 ตัน และจากปลาน้ำเค็ม 9,803 ตัน โดยจังหวัดกำปอตมีลักษณะทางภูมิศาตร์ติดกับทะเลและแม่น้ำ รวมถึงยังมีโรงเพาะสัตว์น้ำอีกกว่า 15 แห่ง ซึ่งสามารถผลิตปลาได้ถึง 5 ล้านตัว และยังมีสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทอื่นๆอีกหลายแห่ง ในขณะที่อธิบดี กล่าวเสริมอีกว่าปัจจุบันทางการกัมพูชาได้เร่งอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างใกล้ชิด และได้ปลูกป่าชายเลนไปแล้ว 29,700 ต้น ใน 8 ชุมชนประมงในจังหวัด เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศภายในพื้นที่

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/501114704/kampot-clocks-in-more-than-12000-tonnes-of-seafood-yield-in-h1/

กระแสน้ำกระทบราคาสินค้าประมงเมียนมาผันผวน

ราคาสินค้าประมงในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมักมีความผันผวน เช่น ราคาค่อนข้างถูกในช่วงน้ำหลากหรือน้ำท่วม และจะเพิ่มขึ้นในช่วงน้ำลง ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งและปลาจับมีให้จับค่อนข้างน้อย สินค้าประมงที่จับได้จะถูกส่งไปศูนย์ค้าส่งในย่างกุ้ง ซึ่งในช่วงน้ำท่วม ราคากุ้งหนึ่งตัวจะอยู่ประมาณ 5,000-6,000 จัต ในขณะที่ช่วงที่น้ำขึ้นน้ำลงราคาจะอยู่ประมาณ 9,000-10,000 จัต ทั้งนี้ราคาสินค้าประมงที่ลดลงทำให้ราคาไก่ในตลาดลดลงด้วย เนื่องจากราคาสินค้าประมงขึ้นอยู่กับน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้ประชาชนต้องซื้อกักตุนไว้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-product-prices-fluctuate-based-on-flood-tide-and-neap-tide/#article-title

ปลาดาบเงินตากแห้งขายราคาดีที่ตลาดเจาะพยู

พ่อค้าปลา เผย ปลาดาบเงินตากแห้งในจังหวัดเจาะพยู รัฐยะไข่ เป็นที่นิยมจากผู้ซื้อและขายดีเป็นอย่างมากที่ตลาดเจาะพยู โดยขายในราคา 4,500 จัต จากเรือลากอวน และนำมาขายต่อที่ 5,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) นอกจากการนี้ยังนำไปขายในเมืองมเยาะอู้, เจาะตอ, มี่น-บย่า, อ้าน, ทัตตาอุง และย่าน-บแย ในรัฐยะไข่อีกด้วย แต่ทั้งนี้ไม่สามารถส่งไปขายยังเมืองใหญ่ๆ เช่น ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และมัณฑะเลย์ และต่างประเทศได้เนื่องจากไม่มีการติดต่อรับซื้อ ปลาดาบเงินเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่างาทัยเวแห้งในรัฐยะไข่ ใช้สำหรับทำน้ำพริกและเป็นอาหารแห้งโดยการย่าง ทอด หรือทำเป็นสลัดรวมทั้งรับประทานกับอาหารเช้าแบบดั้งเดิมของเมียนมา เช่น ข้าวเหนียวร้อน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/dried-ribbonfish-marketable-in-kyaukpyu/#article-title

ต.ค. 64 ชาวประมงมีรายได้จากการส่งออกไประนอง 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายได้รวม 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกประมงมากกว่า 14,037 ตัน ไปยังจังหวัดระนอง ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 21 ต.ค. พ.ศ. 2564 เนื่องจากอำเภอเกาะสอง เขตตะนาวศรี ประกอบธุรกิจการประมงเป็นหลัก ซึ่งช่วงนี้เป็นฤดูจับปลาชาวประมงมีกำไรจาการการจับปลา ได้อย่างน้อย 22 วันต่อเดือน โดยปัจจุบันราคาสินค้าประมงในตลาด ได้แก่ กุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ กก.ละ 60 บาท และเต่าขนาดเล็กราคา 90 บาท และขนาดใหญ่กว่า กก.ละ 120 บาท ซึ่งอนุญาตให้ใช้อวนจับปลาตามที่กรมประมงกำหนดเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/usd-15-42-million-earned-from-fishery-exports-to-ranong-in-october/#article-title