กัมพูชาส่งออกยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นถึง 90% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2024

ข้อมูลการค้าล่าสุดจากกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ระบุว่า ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2024 กัมพูชาสามารถส่งออกยางพาราแปรรูป มูลค่า 215 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางพารากัมพูชา สวนทางกันกับผลผลิตยางพาราธรรมชาติทั่วโลกที่มีแนวโน้มลดลง ภายใต้ภาวะราคายางพุ่งสูงขึ้น สำหรับทั้งปี 2023 กัมพูชาสามารถทำรายได้จากการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา 919 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ตลาดยางพาราของกัมพูชาส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง จีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย และสหภาพยุโรป เป็นสำคัญ ด้านผู้เชี่ยวชาญมองว่าตลาดยางธรรมชาติยังคงเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจจีนที่เติบโตต่ำกว่าคาดในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว ซึ่งจีนเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากสงครามยืดเยื้อระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-ฮามาส รวมถึงต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501458804/cambodias-rubber-article-exports-rise-90-percent/

ราคายางค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาราคายางในเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยแตะระดับกว่า 1,700 จ๊าดต่อปอนด์ในตลาดยางของรัฐมอญ โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคาแตะ 1,780 จ๊าดต่อปอนด์ และราคายางตากแห้งมีราคา 1,760 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ราคายางตากแห้งมีราคาเพียง 1,640 จ๊าดต่อปอนด์ และยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคา 1,660 จ๊าดต่อปอนด์ ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าราคายางเพิ่มขึ้น 120 จ๊าดต่อปอนด์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีราคายางของเมียนมาได้รับอิทธิพลจากอุปสงค์ของยางทั่วโลก และปริมาณการผลิตยางในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอุปทานในตลาด ราคายางในรัฐมอญ ซึ่งเป็นรัฐการผลิตยางที่สำคัญในเมียนมา ก็มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับปัจจัยเหล่านั้นเช่นกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-on-gradual-rise-2/#article-title

‘เวียดนาม’ มุ่งยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดสหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า และตัวเลขสถิติของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 สหรัฐฯ มีการนำเข้ายางพารา 1.43 ล้านตัน อย่างไรก็ดีเวียดนามส่งออกไปยังสหรัฐฯได้เพียง 20,370 ตัน มูลค่า 28.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 13 ในกลุ่มซัพพลายเออร์ยางพาราในตลาดสหรัฐฯ และคิดเป็นสัดส่วนราว 1.42% ของปริมาณการนำเข้ายางทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยคู่แข่งรายใหญ่ ได้แก่ อินโดนีเซียและไทยที่มีส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯ มากที่สุด

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสินค้าประมง แสดงให้เห็นว่าในช่วง 10 เดือนของปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐฯ อยู่ในระดับมาก และอยู่ในอันดับที่ 2 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยเฉพาะกุ้ง ปลาสวายและปลาทูน่า

นอกจากนี้ นาย Do Ngoc Hung ที่ปรึกษาด้านการพาณิชย์ของเวียดนาม แนะนำให้ผู้ประกอบการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-strives-to-increase-competitiveness-for-agricultural-exports-to-us/278092.vnp

ราคายางเมียนมามีแนวโน้มขาขึ้น

เมื่อวันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา ราคายางยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่มากกว่า 1,700 จ๊าดต่อปอนด์ในตลาดยางของรัฐมอญ โดยราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ขึ้นสูงสุดที่ 1,745 จ๊าดต่อปอนด์ และ 1,730 จ๊าดต่อปอนด์สำหรับยางตากแห้ง ซึ่งจากเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม ราคายางตากแห้งแตะ 1,610 จ๊าดต่อปอนด์และยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 1,630 จ๊าดต่อปอนด์ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้น 115-125 จ๊าดต่อปอนด์ในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ความต้องการยางจากทั่วโลก การผลิตยางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคายางของเมียนมา ทั้งนี้ ณ วันที่ 29 ธันวาคม เมียนมาส่งออกยาง 114,855 ตัน โดยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 144.046 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณ 2023-2024 นอกจากนี้ การผลิตยางในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมามีมากกว่า 360,000 ตัน และมีการขนส่งยางมากกว่า 200,000 ตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-prices-on-upward-trend/#article-title

การส่งออกยางของเมียนมาร์สร้างรายได้ 144 ล้านเหรียญสหรัฐใน 9 เดือน

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมส่งออกยาง 114,855 ตันไปยังต่างประเทศในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน คิดเป็นมูลค่ารวม 144.046 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางสมาคมยางเมียนมาตั้งเป้าส่งออกยางประมาณ 300,000 ตันในปีงบประมาณนี้ อย่างไรก็ดี ราคาทั่วไปของยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,620 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้ง 1,600 จ๊าดต่อปอนด์ สำหรับในตลาดยางของรัฐมอญ โดยความต้องการยางทั่วโลก การผลิตยางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาด มีผลกระทบต่อราคายางของเมียนมาร์ ซึ่งราคายางในรัฐมอญ ถือเป็นรัฐผลิตยางที่สำคัญในเมียนมาร์ มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับปัจจัยดังกล่าวเหล่านั้น นอกจากนี้ยางร้อยละเจ็ดสิบที่ผลิตในเมียนมาร์ส่งออกไปยังประเทศจีน รวมทั้งยังจัดส่งไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-ink-2-mous-under-quick-impact-projects/

การส่งออกยางของเมียนมาร์เพิ่มขึ้นเป็น 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 8 เดือน

ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 1 ธันวาคม ในปีงบประมาณ 2566-2567 เมียนมาร์ส่งออกยางกว่า 99,660 ตันไปยังต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 123.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ราคาทั่วไปของยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,580 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้ง 1,560 จ๊าดต่อปอนด์ ในตลาดยางของรัฐมอญ ซึ่งราคายางของเมียนมาร์จะได้รับอิทธิพลจากความต้องการยางทั่วโลก การผลิตยางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาดเป็นหลัก อย่างไรก็ดี เป้าหมายการส่งออกยางพาราของสมาคมยางเมียนมาร์ที่ตั้งไว้ในปีงบประมาณนี้คือ 300,000 ตัน ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าการผลิตยางในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา ที่มีการผลิตเกิน 360,000 ตัน และมีการส่งออกยางมากกว่า 200,000 ตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-rubber-exports-swell-to-us123-mln-in-8-months/#article-title

ยางมากกว่า 90,000 ตัน ของเมียนมาร์ส่งออกไปยัง 7 ประเทศ

ตามการระบุของ สมาคมนักวางแผนและผู้ผลิตยางเมียนมาร์ กล่าวว่า ในปีงบประมาณนี้ ยางมากกว่า 90,000 ตันถูกส่งออกไปยัง 7 ประเทศ โดยการผลิตยางร้อยละ 75 ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน เช่นเดียวกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ทั้งนี้ สมาคมได้เริ่มวางแผนที่จะส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินเดีย อย่างไรก็ดี ในช่วงปีงบประมาณ 2018-2019 ถึงปีงบประมาณ 2022-2023 รายได้จากการส่งออกยางอยู่ที่ระหว่าง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 450 ล้านดอลลาร์โดยเฉลี่ย เมียนมาร์พื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด มากกว่า 1.64 ล้านเอเคอร์ทั่วประเทศ และพื้นที่การผลิตประมาณ 950,000 เอเคอร์ ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตันตามสถิติ โดยในรัฐมอญเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ที่สุด ในขณะที่รายใหญ่เป็นอันดับสองคือเขตตะนาวศรี และใหญ่เป็นอันดับสามคือรัฐกะเหรี่ยง ยางพารายังปลูกใน เขตพะโค เขตย่างกุ้ง เขตอิรวดี รัฐฉาน รัฐคะฉิ่น เขตสะกาย ตอนบน และรัฐยะไข่ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-90000-tonnes-of-rubber-exported-to-7-countries/#article-title

เมียนมาร์มีรายได้จากการส่งออกยางพารา 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 7 เดือน

เมียนมาร์ส่งออกยางมากกว่า 94,435 ตันไปยังต่างประเทศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 116.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ โดยการผลิตยางพาราของเมียนมาร์ต่อปีคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตันในปีงบประมาณนี้ ณ ปัจจุบัน ราคาทั่วไปของยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,640 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้งอยู่ที่ 1,620 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อราคายางในรัฐมอญ ซึ่งเป็นรัฐผลิตยางที่สำคัญในเมียนมาร์ มาจากความต้องการยางทั่วโลก การผลิตยางในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาด อย่างไรก็ดี ยางร้อยละเจ็ดสิบที่ผลิตในเมียนมาร์ส่งไปยังประเทศจีน นอกจากนี้ยังจัดส่งไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us116-mln-from-rubber-exports-in-7-months/

ราคายางพาราปรับตัวลดลงปลายตุลาคม

ราคายางพาราในตลาดยางของรัฐมอญ ซึ่งเป็นรัฐผลิตยางรายใหญ่ในเมียนมา ปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 1,580 จ๊าดต่อปอนด์ โดย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา ยางแผ่นรมควันขั้น 3 ราคาแตะระดับสูงสุดอยู่ที่ 1,790 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้งราคาอยู่ที่ 1,770 จ๊าดต่อปอนด์ ในขณะที่ราคาปัจจุบันของยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,580 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้งราคาอยู่ที่ 1,560 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงสองสัปดาห์ ราคาปรับลดลงกว่า 210 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคายางพาราจาก อุปสงค์ของยางพาราทั่วโลก อุปทานของยางพาราในตลาดโลก และปริมาณการผลิตยางในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เมียนมามีเป้าหมายที่จะการส่งออกยางพาราให้ได้ 300,000 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน 2566-2567 อย่างไรก็ตาม การผลิตยางในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมามีจำนวนมากกว่า 360,000 ตัน และมีการขนส่งยางมากกว่า 200,000 ตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินเดีย และ ญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-prices-on-decline-in-end-oct/#article-title

เมียนมาส่งออกยางพารากว่า 76,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 5 เดือน

จากการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ยางพารามากกว่า 76,594 ตันถูกส่งออกไปยังต่างประเทศในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-สิงหาคม) ของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 โดยมีมูลค่าประมาณ 94.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การผลิตยางพาราของเมียนมาจะอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตันต่อปี โดยที่ยางพาราส่วนใหญ่ของเมียนมาถูกผลิตในรัฐมอญ และกะเหรี่ยง รวมถึงภูมิภาคตะนาวศรี พะโค และย่างกุ้ง ทั้งนี้ จากข้อมูลฤดูกาลยางพาราปี 2561-2562 เมียนมามีพื้นที่ปลูกยางพารามากกว่า 1.628 ล้านเอเคอร์ โดยรัฐมอญมีพื้นที่ 497,153 เอเคอร์ รองลงมาคือเขตตะนาวศรี 348,344 เอเคอร์ และรัฐกะเหรี่ยง 270,760 เอเคอร์ จากการส่งออกยางพาราในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมามีรายได้มากกว่า 449 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ ในปีงบประมาณ 2562-2563 มีรายได้กว่า 264.442 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา เมียนมามีการผลิตยางพาราจำนวนมากกว่า 360,000 ตัน โดยกว่า 200,000 ตัน ถูกส่งออกไปยังคู่ค้าต่างประเทศ ยางพาราร้อยละ 70 ที่ผลิตในเมียนมาถูกส่งออกไปยังประเทศจีน นอกจากนี้ ยังส่งออกไปยัง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อีกด้วย จากข้อมูลของสมาคม ความต้องการยางพาราในตลาดโลก ปริมาณการผลิตยางพาราในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาด นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคายางพาราของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-76000-tonnes-of-rubber-worth-us94-mln-in-5-months/#article-title