ราคา FOB ของถั่วดำ ถั่วมะแฮะ และถั่วเขียว ลดลงเล็กน้อย

ราคา FOB ของถั่วดำ ถั่วมะแฮะ และถั่วเขียว ลดลงอีกครั้งในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2566 โดยราคา FOB ของถั่วดำมีราคาอยู่ที่ 1,060-1,080 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ราคาถั่วมะแฮะอยู่ที่ 1,250-1,270 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ถั่วเขียวที่มาจากเมียนมาร์ตอนกลางราคาอยู่ที่ 700-720 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และถั่วเขียวพันธุ์ชเววา ราคาอยู่ที่ 880-910 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งถั่วดำมีราคาลดลงจากเดิม 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ถั่วมะแฮะราคาลดลง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ถั่วเขียวราคาลดลง 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน สำหรับถั่วเขียวที่มาจากเมียนมาร์ตอนกลาง และถั่วเขียวพันธุ์ชเววา ราคาลดลง 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน อย่างไรก็ดี ในตลาดย่างกุ้งราคาถั่วดำยังคงผันผวนอยู่ที่ประมาณ 2.9 ล้านจ๊าดต่อตัน (สำหรับถั่วดำคุณภาพเฉลี่ย) ในขณะที่ราคาถั่วดำคุณภาพดีผันผวนอยู่ที่ประมาณ 3.14 ล้านจ๊าดต่อตัน ส่วนราคาถั่วมะแฮะอยู่ที่ 3.25 ล้านจ๊าดต่อตัน ถั่วเขียวที่มาจากเมียนมาร์ตอนกลางราคาอยู่ที่ 500-2,835 จ๊าดต่อviss และถั่วเขียวพันธุ์ชเววา ราคาอยู่ที่ 3,465 จ๊าดต่อviss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fob-prices-of-black-gram-pigeon-pea-green-gram-post-slight-decline/#article-title

ราคาหัวหอมลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยอาศัยอุปสงค์ในประเทศเพียงอย่างเดียว

ตลาดหัวหอมของเมียนมาร์ต้องพึ่งพาตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีตลาดต่างประเทศในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ ยังมีหัวหอมจากฤดูมรสุมที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดย่างกุ้งเพิ่มเติมอีกในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ดี สต็อกหัวหอมขนาดใหญ่ในบางภูมิภาคอาจทำให้ราคาหัวหอมปรับลดลงอีก ด้านผู้ค้าจากพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 6 ถึง 11 พฤศจิกายน ตลาดในย่างกุ้งมีอุปทานหัวหอมวันละกว่า 150,000 viss และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน หัวหอมประมาณ 90,000 หัว ไหลเข้าสู่ตลาดย่างกุ้ง ทำให้ราคาหัวหอมฤดูร้อนจึงลดลงเหลือ 2,300-3,700 จ๊าดต่อหัว ขึ้นอยู่กับขนาดและพื้นที่การผลิต ราคาแสดงให้เห็นการลดลง 200-400 จ๊าดต่อviss เมื่อเทียบกับราคาของสัปดาห์ก่อน หากเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาหัวหอมแตะระดับสูงสุดที่ 3,400-4,300 จ๊าดต่อviss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-decrease-as-market-shifts-to-solely-rely-on-domestic-demand/

ราคาถั่วลิสงเมียนมามีแนวโน้มลดลงท่ามกลางความต้องการจากต่างประเทศ

ตามข้อมูลของตลาดค้าส่งมัณฑะเลย์ เมียนมามีการส่งออกเมล็ดพันธุ์น้ำมัน ได้แก่ เมล็ดงา และถั่วลิสง ไปยังต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา ราคาถั่วลิสงแตะระดับสูงสุดอยู่ที่ 7,550-11,000 จ๊าดต่อ viss เนื่องจากมีอุปสงค์จากต่างประเทศและในประเทศที่แข็งแกร่ง ณ ปัจจุบัน ราคาลดลงอยู่ในช่วงระหว่าง 5,500 จ๊าดต่อ viss ถึง 6,100 จ๊าดต่อ viss ในตลาดภายในประเทศซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของถั่ว ทั้งนี้ หากไม่มีอุปสงค์จากต่างประเทศ ราคาถั่วลิสงจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีถั่วลิสงที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใกล้พื้นที่มัณฑะเลย์ และได้เข้าสู่ศูนย์ค้าส่งมัณฑะเลย์แล้ว ในขณะเดียวกันอุปสงค์ของผู้ซื้อรายใหญ่จากจีนก็ค่อนข้างจะชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี แม้ว่าราคาถั่วลิสงจะลดลง แต่ราคาน้ำมันถั่วลิสงก็ไม่ได้ลดลงตามไปด้วย และยังคงมีราคาสูงกว่า 15,000 จ๊าดต่อ viss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/peanut-prices-on-downward-trend-amid-lack-of-foreign-demand/#article-title

ราคายางพาราปรับตัวลดลงปลายตุลาคม

ราคายางพาราในตลาดยางของรัฐมอญ ซึ่งเป็นรัฐผลิตยางรายใหญ่ในเมียนมา ปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 1,580 จ๊าดต่อปอนด์ โดย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา ยางแผ่นรมควันขั้น 3 ราคาแตะระดับสูงสุดอยู่ที่ 1,790 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้งราคาอยู่ที่ 1,770 จ๊าดต่อปอนด์ ในขณะที่ราคาปัจจุบันของยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,580 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้งราคาอยู่ที่ 1,560 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงสองสัปดาห์ ราคาปรับลดลงกว่า 210 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคายางพาราจาก อุปสงค์ของยางพาราทั่วโลก อุปทานของยางพาราในตลาดโลก และปริมาณการผลิตยางในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เมียนมามีเป้าหมายที่จะการส่งออกยางพาราให้ได้ 300,000 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน 2566-2567 อย่างไรก็ตาม การผลิตยางในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมามีจำนวนมากกว่า 360,000 ตัน และมีการขนส่งยางมากกว่า 200,000 ตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินเดีย และ ญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-prices-on-decline-in-end-oct/#article-title

ราคากระเทียม Kyukok ในเมียนมาพุ่งแรง

ราคาขาย มันฝรั่งจีน และกระเทียม Kyukok ที่จำหน่ายในตลาดบุเรงนอง มีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขนส่งสินค้าไม่สามารถเดินทางผ่านเส้นทางชายแดนได้ตั้งแต่เช้าวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้ราคาขายส่งกระเทียม Kyukok และมันฝรั่งจีน เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,000 จ๊าดต่อ viss และ 500 จ๊าดต่อ viss ตามลำดับ ซึ่งเป็นปกติของตลาดสินค้า เมื่อสินค้านั้นๆ เข้ามาที่ตลาดได้ยากขึ้นจะส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น โดยในวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ราคาขายส่งกระเทียม Kyukok อยู่ที่ 7,700–7,800 จ๊าดต่อ viss แต่ในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 8,000–8,200 จ๊าดต่อ viss และ 8,500 จ๊าดต่อ viss ในตอนเย็น และ เช้าวันที่ 28 ตุลาคม 2566 ราคาขายส่งกระเทียมเพิ่มขึ้นเป็น 9,000-9,150 จ๊าดต่อ viss ที่คลังขายส่ง ขณะที่กระเทียมของรัฐฉาน ราคาขายส่งยังคงอยู่ที่ 8,400-9,800 จ๊าดต่อ viss ทั้งนี้ แม้ว่าราคาขายส่งมันฝรั่งของจีนอยู่ที่ 1,700–1,750 จ๊าดต่อ viss ในวันที่ 26 ตุลาคม แต่ก็ขึ้นไปเป็น 1,800 วอจ๊าดต่อ viss ในเช้าวันที่ 27 ตุลาคม และ 1,900–2,000 จ๊าดต่อ viss ในตอนเย็น และ 2,300 จ๊าดต่อ viss ในเช้าวันที่ 28 ตุลาคม ด้วยเหตุนี้ ในตลาดค้าปลีกในย่างกุ้ง กระเทียมของรัฐฉาน และ กระเทียม Kyukok จึงมีราคาประมาณ 10,000 จ๊าดต่อ viss และมันฝรั่งจีนมีราคาประมาณ 3,000 จ๊าดต่อ viss  ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ กระเทียมของรัฐฉาน และกระเทียม kyukok จะกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สร้างสถิติราคาสูงสุด เช่นเดียวกับ ถั่วดำ ถั่วแระ ถั่วลูกไก่ น้ำตาล และน้ำตาลโตนด ในปี 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyukok-garlic-price-surges-hard/

‘เมียนมา’ เผยราคาข้าวในประเทศพุ่ง

ศูนย์ค้าส่งข้าวเมียนมา (วาดัน) รายงานว่าราคาพันธุ์ข้าว ปอว์ ซาน (Pawsan) เกรดพรีเมี่ยม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 135,000 จ๊าตต่อกระสอบ เนื่องจากความตื่นตระหนกของชาวเมียนมาที่แห่ซื้อข้าว ภายหลังจากที่ธนาคารกลางเมียนมาออกธนบัตรใหม่ที่มีมูลค่า 20,000 จ๊าต ในวันที่ 31 ก.ค. 2566 ส่งผลให้ราคาข้าวพุ่งสูงขึ้น ไม่เพียงแต่ราคาพันธุ์ข้าว ปอว์ ซาน ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ข้าวพันธุ์อื่นๆ ในตลาดก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาข้าว ทางสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ร่วมมือกับบริษัทส่งออกและโครงการอื่นๆ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ในการกำหนดการขายข้าวและราคาข้าว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/surge-in-prices-detected-in-domestic-rice-market/#article-title

นักวิเคราะห์หวั่น ประเทศผู้ส่งออกข้าวส่อหยุดส่งออกตามรอยอินเดีย-ดันราคาพุ่ง

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การระงับส่งออกข้าวของอินเดียสร้างความหวาดหวั่นให้ตลาดโลก เนื่องจากทำให้ซัพพลายข้าวหายไปจากตลาดโลกถึง 10 ล้านตัน ส่งผลให้เกิดความวิตกว่าประเทศผู้ส่งออกข้าวต่าง ๆ อาจระงับการส่งออกข้าวตามรอยอินเดียไปด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้าวขาดแคลนภายในประเทศ นักวิเคราะห์ระบุว่า มาตรการจำกัดการส่งออกล่าสุดของอินเดียแทบจะเหมือนกับมาตรการก่อนหน้านี้ของอินเดียเมื่อปี 2550 และ 2551 ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ หลังประเทศอื่น ๆ ถูกบีบให้จำกัดการส่งออกในลักษณะเดียวเพื่อปกป้องผู้บริโภคในประเทศ ในเวลานี้ ผลกระทบต่อซัพพลายและราคาข้าวอาจยิ่งกระจายตัวกว้างขวางมากขึ้น เนื่องจากอินเดียในตอนนี้ครองสัดส่วนการค้าข้าวโลกมากกว่า 40% เพิ่มจากสัดส่วนประมาณ 22% เมื่อ 15 ปีก่อน สร้างแรงกดดันให้ประเทศผู้ส่งออกข้าว อาทิ ไทยและเวียดนามต้องระงับส่งออก ด้านนักวิเคราะห์และผู้ค้ากล่าวว่า ผลกระทบที่มีต่อราคาข้าวนั้นรวดเร็วอย่างมาก โดยราคาข้าวดีดตัวขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี หลังจากอินเดียได้สร้างความตกตะลึงให้กับประเทศผู้ซื้อโดยการประกาศระงับการส่งออกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อควบคุมราคาข้าวในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq34/3444442

“เมียนมาเฮ” รับราคามะม่วงเซ่งตะโลงพุ่ง ปี 66

นาย U Kyaw Soe Naing เลขาธิการสมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีเมียนมาร์ (มัณฑะเลย์) กล่าวว่าราคาส่งออกของมะม่วงเพชรน้ำหนึ่ง (Sein Ta Lone) หรือมะม่วงพันธุ์ “เซ่งตะโลง” ไปยังตลาดจีนนั้น มีราคาค่อนข้างสูงในช่วงต้นฤดูมะม่วงของปีนี้ ซึ่งการที่ได้ราคาที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้าและการขนส่ง ในขณะที่ผู้ปลูกบางรายได้เก็บผลมะม่วงก่อนกำหนดของฤดูกาลในปีที่แล้ว ทำให้ผู้ปลูกรายอื่นขาดทุน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/seintalone-mango-fetches-good-price-this-year/#article-title

ราคาถั่วลิสงในเมียนมา พุ่งขึ้น! หลังความต้องการทั้งในประเทศ-ต่างประเทศ เริ่มฟื้นตัว

ศูนย์ค้าส่งสินค้ามัณฑะเลย์ เผย ปัจจุบันราคาถั่วลิสงขยับขึ้นเป็น 7,000 จัตต่อ viss  (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จากความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาเคยร่วงลงอยู่ระหว่าง 4,700-5,750 จัตต่อ viss ในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยมีผู้ค้าชาวจีนเข้ามารับซื้อที่ศูนย์ค้าส่งสินค้ามัณฑะเลย์เป็นจำนวนมากส่งผลให้ตลาดกลับมาคึกคักอีกครั้ง ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 จนถึงวันที่ 13 มกราคม 2566 ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกถั่วลิสงผ่านช่องทางชายแดนไปแล้วมากกว่า 15,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 17.336 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/peanut-price-rebounds-on-strong-domestic-foreign-demand/#article-title

ราคามะม่วง Yingwe ในเมียนมา ดิ่งลง เมื่อเทียบกับปีก่อน

เกษตรกรในรัฐฉานตอนใต้ เผย เนื่องจากฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มะม่วง Yingwe  เกิดความเสียหาย ราคาดิ่งลงอยู่ที่ประมาณ 10,000 จัตต่อตะกร้าลดลงจากปีก่อนที่ 20,000 จัตต่อตะกร้า ทั้งนี้เกษตรกรในรัฐฉานส่วนใหญ่ส่งออกมะม่วง Seintalone และมะม่วง Machitsu ไปยังจีน ส่วนมะม่วง Yingwe ส่งไปขายยังตลาดย่างกุ้งเป็นหลัก จากสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่สามารถส่งออกมะม่วงไปยังจีนได้ ทำให้เกษตกรมีรายได้ลดลงอย่างมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-yingwe-mango-weak-in-domestic-market/#article-title