‘ราคาข้าวเวียดนาม’ พุ่ง

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) รายงานว่าราคาข้าวเปลือกของเวียดนามปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะราคาข้าวรับจากเกษตรกร เฉลี่ย 8,000 ด่องต่อกิโลกรัม และราคาข้าวรับซื้อหน้าโรงสีเฉลี่ย 9,475 ด่องต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาข้าวหัก 5% อยู่ที่ 14,200 ด่องต่อกิโลกรัม ตามมาด้วยราคาข้าวหัก 15% และ 25% อยู่ที่ 13,950 ด่อง และ 13,750 ด่อง ตามลำดับ

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาราคาส่งออกข้าวของเวียดนาม พบว่าราคาข้าวหัก 5% อยู่ที่ 582 เหรียญสหรัฐต่อตัน สูงกว่าราคาข้าวไทยที่ 579 เหรียญสหรัฐต่อตัน และราคาข้าวปากีสถาน 581 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในขณะเดียวกัน ราคาข้าวหัก 25% ของเวียดนาม อยู่ที่ 557 เหรียญสหรัฐต่อตัน เทียบกับราคาข้าวไทยจะอยู่ที่ 530 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnamese-rice-prices-on-the-hike-post135006.html

‘เวียดนาม’ ซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ที่สุดในตลาดสิงคโปร์

สำนักงานการค้าเวียดนาม ประจำประเทศสิงคโปร์ รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ อันดับของผู้ส่งออกข้าวอย่างเวียดนามแซงหน้าคู่แข่ง อินเดียและไทย เป็นครั้งแรกในตลาดสิงคโปร์ โดยมูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังสิงคโปร์ อยู่ที่ 36.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 80.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 32.03% รองลงมาไทยและอินเดีย มีมูลค่าการส่งออก 33.63 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 33.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม สำนักงานการค้าแนะนำให้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาคุณภาพข้าวอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1654252/viet-nam-to-have-many-opportunities-from-digitalisation-green-transformation-imf.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกข้าวไตรมาสแรก โตพุ่ง 42%

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 2.1 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ซื้อข้าวเวียดนามรายใหญ่ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน กานา มาเลเซียและสิงคโปร์ ส่งผลให้ยอดการส่งออกข้าวเติบโตอย่างน่าประทับใจ

อย่างไรก็ดี กลุ่มประเทศเหล่านี้มองหาการกระจายอุปทานข้าว ซึ่งทำให้ลดการพึ่งพาข้าวจากเวียดนามอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ กระทรวงฯ ร้องขอให้ผู้ส่งออกข้าวในชนบทมองหาตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

นอกจากนี้ ในฐานะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก เวียดนามตั้งเป้าที่จะสร้างรายได้จากการส่งออกข้าวในปีนี้ มูลค่าราว 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-q1-rice-exports-grow-42-y-o-y/

‘เวียดนาม’ เตรียมกู้เงินจากธนาคารโลก 380 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการปลูกข้าวคุณภาพสูง

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) เตรียมกู้เงินจากธนาคารโลก มูลค่ากว่า 360 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9 ล้านล้านดอง เพื่อดำเนินโครงการที่ตั้งเป้าเพาะปลูกข้าวคุณภาพสูง 1 ล้านเฮกตาร์ โดยการหารือเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวจะทำการประชุมกับคณะกรรมการบริหารโครงการของกระทรวงฯ ในวันที่ 8 เม.ย.

ขณะที่นายหลี่ กัว (Li Guo) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของธนาคารโลก กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะอยู่ภายใต้โครงการปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืนของเวียดนาม (VnSAT) และมองว่าเวียดนามจะเป็นผู้นำทางด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้าทางการเกษตรของโลก ตลอดจนธนาคารโลกจะร่วมมือกับกระทรวงฯ อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ โครงการการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมข้าวเวียดนามได้อย่างยั่งยืน ยกระดับรายได้ของเกษตรกร พร้อมกับปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-seeks-us360-million-loan-from-wb-for-high-quality-rice-project/

การเปลี่ยนแปลงของตลาดข้าวและแนวโน้มราคาก่อนเทศกาล Thingyan ในย่างกุ้ง

ตามรายงานของตลาด เนื่องจากช่วงวันหยุด Thingyan ใกล้เข้ามา ราคาของข้าวที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมียมในฤดูร้อนชนิดใหม่จึงลดลงในตลาดย่างกุ้ง แม้ว่าราคาข้าวมรสุม (ทั้งที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมี่ยมและพรีเมี่ยม) จะยังคงสูงอยู่ ซึ่งในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน 2024 ราคาข้าวใหม่ที่ไม่ใช่พรีเมี่ยม ฤดูร้อนอยู่ที่ 76,000 จ๊าดต่อถุง ซึ่งลดลงจาก 80,000 จ๊าดต่อถุง ณ สิ้นเดือนมีนาคม ปัจจุบัน ข้าวมรสุมที่ไม่ใช่พรีเมี่ยมมีราคาอยู่ที่ 86,000 จ๊าดต่อถุง ข้าวมรสุมที่ไม่ใช่พรีเมี่ยมที่เพิ่งเก็บเกี่ยว (พันธุ์ 90 วัน) อยู่ที่ 93,000 จ๊าด และข้าวมรสุมเก่าที่ไม่ใช่พรีเมี่ยม 90 วันอยู่ที่ 110,000 จ๊าดต่อ ถุง ข้าวพันธุ์ Pawkywe ใหม่มีราคาอยู่ที่ 100,000 จ๊าดต่อถุง ข้าวพันธุ์ Ayeyawady อยู่ระหว่าง 123,000 ถึง 141,000 จ๊าด และ ข้าวพันธุ์ Shwebo อยู่ระหว่าง 150,000 ถึง 160,000 จ๊าด ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ตลาดค้าส่งข้าวจะปิดทำการเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ตามที่ระบุไว้ในรายงาน นอกจากนี้ การขนส่งข้าวจากเมืองอื่นๆ ไปยังย่างกุ้งก็จะถูกระงับในช่วงหลายวันก่อนถึงเทศกาล นอกจากนี้ ผู้ค้าข้าวคาดการณ์ว่าความต้องการทั้งข้าวที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมี่ยมและพันธุ์จะสูงตามหลังเทศกาล Thingyan ส่งผลให้ราคาในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-market-dynamics-and-price-trends-ahead-of-thingyan-festival-in-yangon/

เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก 250,000 ตัน มูลค่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม

ตามข้อมูลของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา รายงานว่า ในช่วงเดือนมีนาคมของปีนี้ จากบริษัท 55 แห่งของเมียนมามีการส่งออกข้าว 147,041 ตัน และการส่งออกข้าวหัก 109,996 ตัน คิดเป็นยอดรวม 257,037 ตัน สร้างรายได้จากการส่งออกทั้งหมดกว่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากยอดรวมดังกล่าวเป็นการค้าต่างประเทศอยู่ที่ 252,993 ตัน และการค้าชายแดนอยู่ที่ 4,077 ตัน ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในการส่งออกข้าวของเมียนมาโดยมีการส่งออกไป 41,000 ตัน, แคเมอรูน 28,645 ตัน, โกตดิวัวร์ 24,000 ตัน, เบลเยียม 9,000 ตัน, สเปน 8,380 ตัน และประเทศอื่นๆ 36,016 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออกข้าวหักเมียนมา ส่งออกไปยังเบลเยียม 45,022 ตัน, จีน 33,299 ตัน, สเปน 10,000 ตัน, ฟิลิปปินส์ 4160 ตัน, อินโดนีเซีย 4160 ตัน และประเทศอื่นๆ 133,55 ตันตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-250000-tonnes-of-rice-and-broken-rice-worth-us-133-mln-in-march/

‘ข้าวเวียดนาม’ เผชิญกับการแข่งขันในตลาดฟิลิปปินส์

สำนักงานการค้าเวียดนาม ประจำประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับแจ้งมาว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ดำเนินการลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวเวียดนาม โดยจะกระจายแหล่งอุปทานหรือผลผลิตที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

นาย Phung Van Thanh ที่ปรึกษาสำนักงานการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ กล่าวว่าธุรกิจข้าวของเวียดนามมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ ได้สร้างชื่อเสียงและความไว้วางใจให้กับคู่ค้ามาเป็นระยะเวลายาวนาน ในขณะที่ข้าวเวียดนามตรงกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ ตลอดจนมีราคาไม่แพง ด้วยเหตุนี้จึงสามารถแข่งขันได้

นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติพบว่าฟิลิปปินส์มีความต้องการนำเข้าข้าวสูงถึง 3.5-3.8 ล้านตันในปีนี้ และฟิลิปปินส์ยังเป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของเวียดนามมาหลายปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1653095/vietnamese-rice-facing-competition-in-the-philippines.html

‘ส่งออกข้าวเวียดนาม’ ส่งสัญญาณเชิงบวก

เหงียนอันเซิน ผู้อำนวยการฝ่ายนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ประเมินว่าอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนามมีการเติบโตที่โดดเด่นผ่านการปฎิรูปทั้งด้านการผลิตและการส่งออก รวมถึงปรับปรุงคุณภาพสินค้าและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น เพื่อขยายตลาดและยกระดับอันดับข้าวเวียดนามในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป สหรัฐฯ เกาหลีใต้และตะวันออกกลาง ซึ่งประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มต้องการข้าวเวียดนามที่มีคุณภาพสูง

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ตลาดข้าวในปีนี้ เห็นได้ว่าตลาดข้าวมีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น ปริมาณอาจมากกว่า 9 แสนตันในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ ร้องขอให้หน่วยงานท้องถิ่นและสมาคมธุรกิจข้าวให้แบ่งปันข้อมูลและเสนอแนวทางแก้ไขในการพัฒนาตลาด เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมข้าว ใช้ประโยชน์จากการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศและยกระดับแบรนด์ข้าวเวียดนาม

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/positive-outlook-for-vietnams-rice-exports/

อินโดนีเซียเตรียมนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา เพื่อรองรับเทศกาล Eid al-Fitr

รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา เพื่อเติมเต็มคลังข้าวภายในประเทศ รองรับความต้องการบริโภคในช่วงก่อนเทศกาลอีฎิ้ลฟิตริ (Eid al-Fitr) ตามที่สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Agency – Bapanas) แถลง โดยให้ความสำคัญกับข้าวที่ผลิตภายในประเทศเป็นอันดับแรก แต่ในครั้งนี้ทางการได้ตัดสินใจว่า บูลอก (Bulog – บริษัทโลจิสติกส์ของรัฐบาล) จะทำการจัดซื้อข้าวจากต่างประเทศ ว่าจะนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา กล่าวโดย Arief Prasetyo Adi หัวหน้า Bapanas กล่าว ณ กรุงจาการ์ตา สำหรับปีที่แล้วรัฐบาลอินโดนีเซียได้แจกจ่ายข้าวสารช่วยเหลือประชาชนกว่าผู้ซึ่งได้รับประโยชน์กว่า 22 ล้านคน เป็นระยะเวลา 7 เดือน ขณะที่ปีนี้รัฐบาลตั้งเป้าที่จะแจกจ่ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501459050/indonesia-to-import-22500-tonnes-rice-from-cambodia-for-eid-al-fitr/

‘เวียดนาม’ อนุมัติแผนโครงการพัฒนาข้าวคุณภาพสูงและปล่อยคาร์บอนต่ำ มูลค่า 375 ล้านเหรียญฯ

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) รายงานว่ามีแผนที่จะดำเนินการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเพาะปลูกข้าวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยโครงการนี้ริเริ่มมาจากรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนานาข้าวคาร์บอนต่ำและมีคุณภาพสูง และจะเริ่มดำเนินการใน 12 จังหวัดภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2569-2574

ทั้งนี้ Nguyen Thế Hinh รองหัวหน้าคณะกรรมการบริหารโครงการ กล่าวว่าค่าใช้จ่ายของโครงการดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 375 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินกับธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) และจากรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยผ่านการพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกรและสหกรณ์ ในขณะเดียวกันก็ระดมทรัพยากรสินเชื่อสำหรับพื้นที่ที่ใช้แนวปฏิบัติคาร์บอนต่ำ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1652331/375-mln-fund-to-boost-high-quality-low-carbon-rice-production.html