‘ธุรกิจพลาสติกเวียดนาม’ ปั้นรายได้พุ่งจากความต้องการตลาดโลก

ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารชั้นนำในตลาดเคมีภัณฑ์ระดับโลก ‘Independent Commodity Intelligence Services’ เปิดเผยผลการรายงาน คาดว่าความต้องการเม็ดพลาสติก (Plastic Resin) ของทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4.4% ต่อปี ในปี 2566-2568 โดยประเทศจีน กลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป นับเป็นตลาดหลักของเม็ดพลาสติกระดับโลก

ทั้งนี้ ผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ของเวียดนาม ‘An Thanh Bicsol’ เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์เม็ดพลาสติกชั้นนำของประเทศและส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปยัง 70 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 35,000 ตันต่อเดือน ในขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจมาจากโพลีเอทิลีนเรซินและโพรพิลีน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นสัดส่วน 37% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาเอเชียใต้และตะวันออกกลาง 32% สหภาพยุโรป อเมริกา แอฟริกาและจีน ตามลำดับ

ที่มา : https://vir.com.vn/vietnamese-plastic-firms-to-cash-in-on-global-demand-110578.html

‘เวียดนาม’ ซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ที่สุดในตลาดสิงคโปร์

สำนักงานการค้าเวียดนาม ประจำประเทศสิงคโปร์ รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ อันดับของผู้ส่งออกข้าวอย่างเวียดนามแซงหน้าคู่แข่ง อินเดียและไทย เป็นครั้งแรกในตลาดสิงคโปร์ โดยมูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังสิงคโปร์ อยู่ที่ 36.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 80.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 32.03% รองลงมาไทยและอินเดีย มีมูลค่าการส่งออก 33.63 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 33.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม สำนักงานการค้าแนะนำให้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาคุณภาพข้าวอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1654252/viet-nam-to-have-many-opportunities-from-digitalisation-green-transformation-imf.html

‘กรมศุลกากร’ เผย 11 เดือน เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยมากที่สุด

จากรายงานทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าไทยขายรถยนต์ให้กับเวียดนาม จำนวนทั้งสิ้น 50,144 คัน มูลค่ามากกว่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18% และ 22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาอินโดนีเซียและจีนที่เป็นซัพพลายเออร์รถยนต์รายใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 โดยมียอดขายรถยนต์ 40,474 คัน และ 9,843 คัน ลดลง 36.7% และ 39% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2566 พบว่าเพียงเดือนเดียว เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 7,508 คัน มูลค่า 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นปริมาณลดลง 21.9% และมูลค่าลดลง 24.3%

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-imports-most-cars-from-thailand-over-11-months-2227668.html

‘เวียดนาม’ หนึ่งในซัพพลายเออร์ยางพารารายใหญ่ของเกาหลีใต้

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าในปัจจุบัน เวียดนามเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่อันดับ 4 ของเกาหลีใต้ รองจากไทย อินโดนีเซียและจีน โดยการส่งออกยางพาราของเวียดนามไปยังเกาหลีใต้ มีมูลค่า 18.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 15% และปริมาณ 12,470 ตัน เพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ราคาส่งออกยางพาราของตลาดเกาหลีใต้ อยู่ที่ 1,517 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปรับตัวลดลง 19.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ กรมศุลกากรเกาหลีใต้ ระบุว่าไทย อินโดนีเซีย จีน เวียดนามและญี่ปุ่นเป็นซัพพลายเออร์ยางพารารายใหญ่อันดับ 5 ของตลาดเกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี เกาหลีใต้มีการเพิ่มสัดส่วนการนำเข้ายางพาราจากอินโดนีเซียและจีนมากขึ้น แต่ลดการนำเข้าจากไทย เวียดนามและญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับปี 2565

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnam-among-largest-rubber-suppliers-to-rok-post125709.html

“เวียดนาม” ซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ ระบุว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามยังคงเป็นซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ ด้วยมูลค่ากว่า 772.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 31.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยตั้งแต่เดือน ม.ค. – พ.ค. ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนาม 1.5 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนราว 90% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด นับว่าทำสถิติของการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดฟิลิปปินส์

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง คาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปรากฎการณ์เอลนีโญที่สร้างกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตอาหารในประเทศ ซึ่งมีประชากรกว่า 113 ล้านคน

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnam-remains-biggest-rice-provider-of-philippines-post127056.html

“อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนาม” มุ่งฟื้นฟูตลาดในประเทศ

จากข้อมูลของ Mercantile Exchange of Vietnam (MXV) เปิดเผยว่าราคาน้ำตาลในตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ (ICE) ของสหรัฐฯ ณ วันที่ 30 พ.ค. อยู่ที่ 559.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน นับว่าเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับสูงหลังจากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับต้นปีนี้ แม้ว่าเผชิญกับผลผลิตตกต่ำในประเทศ โดยเฉพาะอินเดียที่เป็นซัพพลายเออร์น้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลกที่ทำการส่งออกน้ำตาลได้เพียง 6 ล้านตันในปี 2565-2566 ซึ่งลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 12 ล้านตันจากครั้งก่อน ทั้งนี้ จากข้อมูลของคุณ Pham Quang Anh จากบริษัท MXV ระบุว่าราคาน้ำตาลคาดว่าจะยังคงสูงต่อไปในอนาคต เนื่องจากข่าวที่แพร่หลายในตลาดถึงเรื่องการขาดแคลนน้ำตาล เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลของเวียดนามและบริษัทน้ำตาลในประเทศที่จะกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-sugar-industry-hopes-to-regain-home-market-2150036.html

“Quanta” ซัพพลายเออร์ของ Apple เตรียมสร้างโรงงานในเวียดนาม

บริษัท Quanta Computer ซัพพลายเออร์ ของ Apple วางแผนที่จะตั้งโรงงานในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทางผู้ผลิต MacBook ได้ร่วมลงนามข้อตกลงกับเจ้าหน้าที่ของจังหวัดนามดิ่ง (Nam Dinh) เพื่อทำการก่อสร้างโรงงานในสวนอุตสาหกรรม และโรงงานแห่งนี้ นับเป็นโรงงานแห่งที่ 9 ของบริษัท Quanta ที่กระจายอยู่ทั่วโลก มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 22.5 เฮกตาร์

ที่มา : https://www.brecorder.com/news/40238493/taiwans-apple-supplier-quanta-plans-vietnam-factory

“ราคาข้าวเวียดนาม” ยังคงพุ่งสูงขึ้นในตลาดโลก

ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มสูงที่สุดในตลาดโลก นับตั้งแต่เดือน ส.ค.2565 แซงหน้าข้าวไทยที่อยู่ระดับ 15-27 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และอินเดียที่ 40-50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และเมื่อปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนาม 7.1 ล้านตัน สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ถึงแม้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวลดลงมากกว่า 20% ในเดือนแรกของปีนี้ แต่ราคาส่งออกข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ 519 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในช่วง 2 เดือนแรกของปี ทั้งนี้ สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ระบุว่าราคาส่งออกข้าวหัก 5% ในปัจจุบัน อยู่ที่ 463 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบปีที่แล้ว นอกจากนี้ สถานการณ์การส่งออกข้าวของเวียดนามเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากซัพพลายเออร์ต้นทุนต่ำรายอื่นๆ เช่น อินเดียและปากีสถาน รวมถึงข้อจำกัดของการกระจายตลาด

ที่มา : https://hanoitimes.vn/vietnams-rice-prices-stay-highest-in-world-market-323203.html

“เวียดนาม” เผย 9 เดือนแรกของปีนี้ ทุ่มเงินนำเข้าน้ำมันดิบ 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 เวียดนามนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 6.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.7% ในแง่ของปริมาณและ 131.% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากพิจารณาเฉพาะในเดือนกันยายน พบว่ามีการนำเข้าน้ำมันดิบ 627,652 ตัน เพิ่มขึ้น 34.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามนำเข้ามากกว่า 627,000 ตัน เป็นมูลค่า 676 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะมีการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันดิบหลายแห่งได้ปรับลดขนาดองค์กร เนื่องจากเผชิญกับภาวะอุปทานน้ำมันขาดแคลน ในขณะที่ภาคธุรกิจค้าน้ำมันร้องเรียนว่าการคำนวณอัตราคิดลดไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-spends-over-us68-billion-importing-petroleum-over-nine-months-post976490.vov

การผลิตรถยนต์ต่ำ ฉุดซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์เวียดนาม

ปริมาณการผลิตรถยนต์ขั้นต่ำอยู่ที่ 50,000 คันต่อปี สำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เวียดนาม แต่มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่สามารถบรรลุระดับการผลิตยานยนต์ดังกล่าวได้ ผู้ผลิตยานยนต์อย่างโตโยต้า (Toyota) และฮุนได้ (Hyundai) ผ่านเกณฑ์ระดับการผลิตยานยนต์ในปี 2564 ด้วยปริมาณการผลิตยานยนต์ 64,172 และ 56,028 คัน ตามลำดับ ในขณะที่เกีย (Kia) ไม่ผ่านระดับการผลิตยานยนต์อยู่ที่ 35,181 คัน รองลงมาวินฟาสต์ (VinFast) 34,746 คัน และมิตซูบิชิ (Mitsubishi) 26,346 คัน

ทั้งนี้ คุณ Truong Thị Chí Bình ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันยุทธศาสตร์และนโยบายอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม กล่าวว่าระดับการผลิตยานยนต์ขั้นต่ำถือเป็นความล้มเหลวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของเวียดนาม และปริมาณการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นถึงความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศต่ำ ทำให้ซัพพลายเออร์ไม่กล้าที่จะลงทุนในสายการผลิตใหม่

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1166036/low-level-of-car-production-holds-back-vietnamese-auto-part-suppliers.html