‘ข้าวเวียดนาม’ เผชิญกับการแข่งขันในตลาดฟิลิปปินส์

สำนักงานการค้าเวียดนาม ประจำประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับแจ้งมาว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ดำเนินการลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวเวียดนาม โดยจะกระจายแหล่งอุปทานหรือผลผลิตที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

นาย Phung Van Thanh ที่ปรึกษาสำนักงานการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ กล่าวว่าธุรกิจข้าวของเวียดนามมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ ได้สร้างชื่อเสียงและความไว้วางใจให้กับคู่ค้ามาเป็นระยะเวลายาวนาน ในขณะที่ข้าวเวียดนามตรงกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ ตลอดจนมีราคาไม่แพง ด้วยเหตุนี้จึงสามารถแข่งขันได้

นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติพบว่าฟิลิปปินส์มีความต้องการนำเข้าข้าวสูงถึง 3.5-3.8 ล้านตันในปีนี้ และฟิลิปปินส์ยังเป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของเวียดนามมาหลายปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1653095/vietnamese-rice-facing-competition-in-the-philippines.html

‘คณะผู้แทน’ สำรวจความต้องการผู้บริโภคในช่วงเทศกาลเต็ต พุ่ง 20-30%

คณะผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า และคณะกรรมการประชาชนของเทศบาล รายงานผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. พบว่าความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 20-30% ภายหลังเทศส่งเทพเจ้าเตาไฟ โดยซูเปอร์มาร์เก็ตและธุรกิจต่างๆ คาดการณ์ว่าความต้องการจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษญวน หรือเรียกเต็ต (Tet) และยังได้มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ตลอดจนลงนามสัญญาต่างๆ กับองค์กร เพื่อที่จะเพิ่มผลผลิตสินค้า โดนเฉพาะสินค้าจำเป็น อาหารและของชำ

นอกจากนี้ ธุรกิจต่างๆ เริ่มหันมาเข้าสู่การค้าดิจิทัลออนไลน์ ตั้งแต่การพัฒนาช่องทางการขายของออนไลน์ไปจนถึงการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการให้บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านและเชื่อมต่อไปยังเมืองและจังหวัดต่างๆ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/consumer-demand-up-20-30-in-run-up-to-tet-post1075927.vov

“มินอ่องหล่าย” เดินหน้าตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ เหตุมั่งคงด้านอาหาร

พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และคณะ ได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานในพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (Thilawa) และมีการรายงานชี้แจ้งถึงผลการดำเนินงานในเขตพื้นที่ดังกล่าวเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ผ่านระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ตลอดจนการกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในเขตย่างกุ้งที่มีความจำเป็นต้องให้แน่ใจว่าอาหารมีเพียงพอและราคาอยู่ในระดับเหมาะสมต่อผู้บริโภคในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจ้งถึงความสำคัญของการขยายพื้นที่เพาะพันธุ์การเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรและกำชับหน่วยงานให้ปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

ที่มา : https://www.myanmaritv.com/news/food-sufficiency-sg-inspects-thilawa-multipurpose-agriculture-livestock-zone

ถั่วลิสงล้นตลาด กระทบราคาน้ำมันถั่วลิสง ดิ่งลงอย่างหนัก

ผู้ค้าในมัณฑะเลย์ เผย  ผลผลิตถั่วลิสงจำนวนมากที่ส่งไปขายยังตลาดมัณฑะเลย์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันถั่วลิสงลดลงเหลือ 12,000 จัตต่อ viss จากเดือนก่อน ที่ 14,000 จัตต่อ viss โดยราคาของผลผลิตถั่วเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ 7,000-7,600 จัตต่อ viss แต่ราคาในสัปดาห์นี้ร่วงลงเหลือ 6,300-7,000 จัตต่อ viss เนื่องจากผลผลิตออกมาล้นตลาดจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันถั่วลิสงลดลงไปด้วย จากสถานการณ์ดังกล่าวย่อมส่งผลดีต่อผู้บริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ การปลูกถั่วลิสงในเมียนมาส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ภาคซะไกง์ ภาคมะกเว และเขตอิระวดี ซึ่งนอกเหนือจากการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศแล้ว เมียนมายังส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/abundant-supply-of-peanuts-slashes-peanut-oil-prices/

คาดอุตสาหกรรมเกมมือถือกัมพูชาโตแตะ 34.28 ล้านดอลลาร์

หลังจากประชาชนคนกัมพูชาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีมือถือ ควบคู่ไปกับจำนวนประชากรในกลุ่มเยาวชนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมกลุ่มเกมมือถือขยายตัวอย่างรวดเร็วในกัมพูชา โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวกว่าร้อยละ 8.54 ซึ่งภายในปี 2027 คาดว่ามูลค่าตลาดภายในประเทศจะสูงถึง 47.57 ล้านดอลลาร์ โดยในปีนี้คาดว่ารายได้ของอุตสาหกรรมเกมมือถือจะอยู่ที่ประมาณ 34.28 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจาก statista.com ซึ่งได้คาดการเพิ่มเติมว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2027) จำนวนผู้บริโภคเกมมือถือในประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.1 ของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501230311/kingdoms-mobile-games-revenue-may-reach-34-28m/

ผลสำรวจชี้ “ผู้บริโภคเวียดนามยุคดิจิทัล” ใช้โซลูชั่นการเงิน

จากรายงาน SYNC Southeast Asia ที่ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าประชากรชาวเวียดนามทั่วประเทศกว่า 80% เป็นผู้บริโภคดิจิทัล และเวียดนามเป็นตลาดชั้นนำที่มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้ โดยกลุ่มผู้บริโภคดิจิทัลส่วนใหญ่ 58% มีการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงบริการแอปพลิเคชั่นที่ช่วยในการโอนเงินและธนาคารดิจิทัล ทั้งนี้ ส่วนแบ่งเฉลี่ยของอีคอมเมิร์ซและธุรกิจการค้าปลีกโดยรวมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 15% ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของอินเดียและจีน 10% และ 4% ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/nearly-60-of-digital-consumers-in-vietnam-use-fintech-solutions/240652.vnp

สื่อยอดนิยม CLMV แตกต่างจากไทย

โดย MI Group I Marketeer

CLMV คืออีกหนึ่งเป้าหมายที่แบรนด์ไทยต้องการไป แต่การไป CLMV ความท้าทายคือการเลือกใช้สื่อเข้าถึงผู้บริโภคในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดียที่กลายเป็นสื่อที่มีความสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าสื่อ Traditional เพราะผู้บริโภคในแต่ละประเทศ มีพฤติกรรมในการเสพสื่อไม่เหมือนกัน

จากข้อมูลของ MI Group ทำให้เราเห็นว่าแม้เฟซบุ๊กจะเป็นโซเชียลมีเดียหลักที่คนแต่ละประเทศใน CLMV เสพ แต่ถ้ามองลึก ๆ ลงไปในสื่อโซเชียลอื่น ๆ พบว่าผู้บริโภคแต่ละประเทศเสพสื่อไม่เหมือนกัน อย่างเช่นในประเทศไทยโซเชียลมีเดียยอดนิยมประกอบด้วย Facebook  64.4%, IG  11.5%, TikTok 7.6%, LINE   7.0%

  • กัมพูชา : Facebook 6%, Telegram 23.3%, Messenger 5.9% และ TikTok 3.9%
  • สปป.ลาว : Facebook5%, YouTube 13.3%, TikTik 11.6% และ Messenger 4.6%
  • เมียนมา : Facebook 73.7%, Messenger 4.8%, TikTok 4.4% และ Telegram 5%
  • เวียดนาม : Facebook 74.1%, TikTok 9.2%, Messenger 6.3% และ IG 6.0%

อ่านต่อ : https://marketeeronline.co/archives/285391

โควิด-19 กระทบพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนาม 85% ใช้บริการดิจิตอลแบงกิ้ง

‘Mambu’ แพลตฟอร์ม Clound Banking รายงานว่าผู้บริโภคชาวเวียดนาม 85% มีแนวโน้มที่จะใช้บริการออนไลน์และดิจิตอลแบงกิ้งมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วง 18 เดือนก่อนหน้า โดยจากการสำรวจผู้บริโภคทั่วโลก 4,500 ตัวอย่าง รวมถึงผู้บริโภคชาวเวียดนามคิดเป็นสัดส่วน 11% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่ากลุ่มตัวอย่างราว 2 ใน 3 (หรือ 61%) ใช้บริการดิจิตอลแบงกิ้งมากขึ้น และ 41% เริ่มใช้บริการดิจิตอลแบงกิ้งเป็นครั้งแรก สาเหตุจากโควิด-19 ทั้งนี้ คุณ Pham Quang Minh ซีอีโอของ Mambu Vietnam กล่าวว่าการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบธนาคาร เป็นคันเร่งให้เวียดนามปรับให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้าในยุคใหม่ ซึ่งลูกค้าของธนาคารในพื้นที่กว่า 87% ให้ความสำคัญกับการบริการผ่านทางธนาคารออนไลน์ และอีก 90% นิยมชำระบิล โอนเงินผ่านการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/pandemic-makes-85-of-vietnamese-consumers-likely-to-use-digital-banking-in-future-905776.vov