การสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผ่านชายแดนเมียนมา-ไทย

กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2567 เพื่อเดินหน้าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไป-กลับ ย่างกุ้ง-เกาะสอง-ระนอง เพื่อการค้าชายแดนเมียนมา-ไทย ซึ่งผู้ค้าสามารถสอบถามเกี่ยวกับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการค้าชายแดนไทย-เมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการ ทั้งนี้ ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลใบอนุญาตมีการกล่าวถึงในระบบ Myanmar Tradenet 2.0 โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องเลือกย่างกุ้งในลำดับที่ 6 และ 7 สำหรับการนำเข้า และย่างกุ้งในลำดับที่ 6 และระนองในลำดับที่ 7 สำหรับการส่งออก นอกจากนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า และขอความช่วยเหลือด้านเทคนิค สามารถติดต่อฝ่ายส่งออกและนำเข้าผ่านหมายเลขติดต่อ 067 3408294 สำหรับการนำเข้า และ 067 3408325 สำหรับการส่งออก และฝ่ายสารสนเทศและเทคโนโลยี ผ่าน 067 3408221 และ 067 3408723

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/enquiry-available-for-container-shipping-process-via-myanmar-thailand-border/#article-title

การค้าชายแดนเมียนมา-ไทยมีมูลค่าสูงถึง 4.1 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 11 เดือน

การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศไทยมีมูลค่ารวม 4.136 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-มีนาคม) ของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงจาก 4.99 พันล้านดอลลาร์ที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งลดลงอย่างมากที่ 857.145 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาดำเนินการค้าข้ามพรมแดนกับไทยผ่านทางท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด บ้านพุน้ำร้อน และมอตอง ซึ่งชายแดนบ้านพุน้ำร้อน มีการค้าขายที่ครอบคลุมมากที่สุดซึ่งมีมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ที่ชายแดนเมียวดีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 1.097 พันล้านดอลลาร์ ที่ท่าขี้เหล็ก 150.597 ล้านดอลลาร์ ที่มะริด 132.668 ล้านดอลลาร์ ที่เกาะสอง 199.131 ล้านดอลลาร์ และที่มอตอง 21.6 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-tops-us4-1-bln-in-11-months/

เมียนมาบรรลุเป้าการค้าชายแดน มูลค่า 26.567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์

รายงานระบุว่า เมียนมาดำเนินการค้าขายมูลค่ารวม 25.9768 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านด่านการค้าชายแดน มอตอง เกาะสอง และกัมไปติ เมื่อจำแนกตัวเลขแล้ว ชายแดนมอตองมีมูลค่าการค้ารวม 0.9648 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นการส่งออก 0.6582 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.3066 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ ด่านการค้าเกาะสอง มีการส่งออกรวม 4,922.645 ตันและการนำเข้า 1,354.572 ตัน ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 6.065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกหลักประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมายังประเทศไทยภายใต้ระบบ FOB สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึกยักษ์ ปลาหมึก ปู และน้ำมันปาล์ม ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ในทำนองเดียวกัน ชายแดนกัมไปติก็มีปริมาณการค้าเป้าหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 123.91 โดยมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 18.947 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี จำนวนการค้าเป้าหมายสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ตั้งไว้ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ มูลค่าการค้าที่แท้จริงอยู่ที่ 26.567 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายถึง 130 เปอร์เซ็นต์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exceeds-border-trade-targets-achieving-us26-567m-in-feb-third-week/

เดือนก.พ. 66 ค้าชายแดนท่าขี้เหล็ก-เกาะสอง ของเมียนมา แตะ 32.549 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย เดือนกุมภาพันธ์ 2566 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมากับประเทศเพื่อนบ้าน ณ ชายแดนท่าขี้เหล็กและเกาะสอง มีมูลค่าประมาณ 32.549 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย ชายแดนท่าขี้เหล็กมีมูลค่าการค้ารวม 12.573 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 6.268 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 6.305 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนการค้าชายแดนเกาะสองมีมูลค่ารวม 19.976 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 17.537 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 2.439 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย มูลค่าการค้ารวมของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เมื่อนำมาเทียบกับช่วงเดียวกับของปีก่อน (กุมภาพันธ์ 2565) พบว่า ลดลงถึง 9.003 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-carries-out-trade-worth-32-549-mln-via-tachilek-kawthoung-borders-in-feb/

ต.ค. 64 ชาวประมงมีรายได้จากการส่งออกไประนอง 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายได้รวม 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกประมงมากกว่า 14,037 ตัน ไปยังจังหวัดระนอง ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 21 ต.ค. พ.ศ. 2564 เนื่องจากอำเภอเกาะสอง เขตตะนาวศรี ประกอบธุรกิจการประมงเป็นหลัก ซึ่งช่วงนี้เป็นฤดูจับปลาชาวประมงมีกำไรจาการการจับปลา ได้อย่างน้อย 22 วันต่อเดือน โดยปัจจุบันราคาสินค้าประมงในตลาด ได้แก่ กุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ กก.ละ 60 บาท และเต่าขนาดเล็กราคา 90 บาท และขนาดใหญ่กว่า กก.ละ 120 บาท ซึ่งอนุญาตให้ใช้อวนจับปลาตามที่กรมประมงกำหนดเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/usd-15-42-million-earned-from-fishery-exports-to-ranong-in-october/#article-title