CBM อนุญาตให้ใช้เงินหยวน-จัต ซื้อขาย ในเขตชายแดนจีน-เมียนมา

ธนาคารกลางเมียนมา หรือ CBM ประกาศ อนุญาตให้ใช้หยวนหรือจัตในการทำธุรกรรมในขตชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนเพื่อสนับสนุนการค้าของสองประเทศ ซึ่งผู้ค้าชาวเมียนมาสามารถเปิดบัญชีที่ธนาคารที่กำหนดโดยสามารถชำระเงินหยวน-จัต ได้โดยตรง ทั้งนี้ธนาคารต้องปฏิบัติตามแนวทางการใช้เงินหยวนหรือจัดอย่างเคร่งครัดในการค้าขายข้ามพรมแดน โดยด่านข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมา และจีน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านมูเซ ด่านลิวจี, ด่านชินฉ่วยฮ่อ, ด่านคามาไพติ และด่านเชียงตุง ซึ่งด่านมูเซ เป็นด่านชายแดนที่มีความสำคัญมากที่สุด จากข้อมูล พบว่า เมียนมามีมูลค่าการค้าข้ามแดนผ่านด่านมูเซ 4.057 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยเป็นการส่งออกมีมูลค่า 2.9 พันดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yuan-kyat-direct-trade-allowed-in-sino-myanmar-border-areas/

ธนาคารในเมียนมาผ่อนปรนนโยบายการชำระหนี้เพื่อช่วยลูกค้า

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) อนุญาตให้ธนาคารในประเทศปรับโครงสร้างและกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือลูกค้าภายในประเทศ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งCBM คาดว่าผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะรุนแรงที่สุด โดยธุรกิจที่มีประวัติการชำระหนี้ดีสามารถเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ได้ KBZ Bank เป็นหนึ่งในธนาคารในประเทศที่เปิดตัวโครงการช่วยเหลือผู้กู้ ได้มีโครงการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ COVID-19 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs โดยลูกค้าสามารถยื่นขอขยายเวลาเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมซึ่งธนาคารจะชะลอการชำระทั้งต้นและดอกเบี้ยออกไป 6 เดือน ธนาคารอื่น ๆ รวมถึงธนาคาร Yoma, CB Bank และ uab Bank ได้เปิดตัวโครงการที่คล้ายกันคือเลื่อนการชำระคืนเงินกู้และการชำระดอกเบี้ย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/banks-myanmar-ease-repayment-policy-help-clients.html

ธนาคารกลางของเมียนมาขยายเวลาทำการธนาคารเพื่อลดความแออัด

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ได้ขยายชั่วโมงการทำการของธนาคารเป็นเวลา 9.30 น. – 15.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 63 หลังจากที่ภาคธุรกิจและประชาชนเรียกร้องให้พิจารณาขยายเวลาทำการในปัจจุบัน โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายน 63 CBM ได้สั่งให้ธนาคารท้องถิ่นเปิดทำการตั้งแต่ 10.00 น. – 14.00 น. เพื่อลดความแออัดและเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 แต่เนื่องด้วยเวลาที่ถูกเร่งรัดมากเกินไปทำให้ประชาชนและนักธุรกิจต้องเร่งรีบมากขึ้นจนทำให้เกิดความแออัดมากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-central-bank-reinstates-banking-hours-after-complaints-emerge.html

ธนาคารกลางเมียนมาลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1.5% เป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 27 เมษายน 63 ที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของ COVID-19  CBM ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก 0.5 % ในวันที่ 12 มีนาคม ครั้งที่สองในวันที่ 24 มีนาคม และวันที่ 27 เมษายน 63 รวมเป็น 3% ภายในสองเดือน การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคาดว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้กู้และช่วยผลักดันเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-cuts-interest-rates-again.html

CBM อาจลดดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหากมีความเป็น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันคือ 10% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขั้นต่ำตั้งไว้ที่ 8% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่ 13% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยในเมียนมาจะสูงกว่านี้มาก ขณะที่ สส.บางส่วนเห็นว่าควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้สินเชื่อในธุรกิจท้องถิ่นมีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาด้านการเงินแล้ว แต่เมียนมายังไม่ถึงขั้นนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งเมียนมา (Hluttaw) CBM จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเพราะอยู่ในอัตราที่เหมาะสมแล้ว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/cbm-set-reduce-interest-rates-if-needed.html

ธนาคารกลางเมียนมาเล็งเปิดอัตราดอกเบี้ยเสรีเพิ่ม

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะพิจารณาการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและอนุญาตให้ธนาคารเอกชนมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดอัตราการดอกเบี้ยเพื่อการแข่งขัน โดย CBM จะขอความช่วยเหลือจาก IMF และสังเกตว่าประเทศอื่นเริ่มไปก่อนแล้ว ปัจจุบันธนาคารเอกชนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 8% และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม 13% ที่กำหนดโดย CBM ขณะที่อัตราของธนาคารกลางคือ 10% ซึ่งการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยบางประเทศใช้เวลานานถึง 20 ปี และไม่สามารถลดหรือเพิ่มได้ทันที ซึ่งประเทศนั้นต้องมีความเข้าใจในตลาดทุนพอสมควรและยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน ในขณะเดียวกันยังกำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบสำหรับสถาบันการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินและส่งเสริมให้ตลาดทุนมีความสำคัญยิ่งขึ้น ณ สิ้นปีงบประมาณ 60-61 มีทุนชำระแล้วในภาคธนาคาร เกือบ 3 ล้านล้านจัต เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปัจจุบัน CBM กำลังเตรียมการเพื่อกำหนดกรอบการควบคุมสกุลเงินต่างประเทศเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-will-consider-further-rate-liberalisation.html