CGCC ค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการกัมพูชากว่า 2,000 แห่ง มูลค่ากว่า 170 ล้านดอลลาร์

บริษัท ประกันสินเชื่อแห่งกัมพูชา (CGCC) ได้ให้การค้ำประกันสินเชื่อมูลค่ารวมกว่า 170 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนมกราคมปีนี้ โดยค้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการกว่า 1,977 แห่ง เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจ ซึ่งเงินกู้ค้ำประกันคงค้างในปัจจุบันอยู่ที่ 119 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่จำนวนเงินค้ำประกันคงค้างอยู่ที่ 85.8 ล้านดอลลาร์ โดยรายงานระบุว่ามีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSME) กว่า 1,854 ราย และธุรกิจขนาดใหญ่ 154 รายในกัมพูชา สำหรับ CGCC ได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 ด้วยงบประมาณของรัฐ 200 ล้านดอลลาร์ กำหนดให้เป็นสถาบันรับประกันสินเชื่อในกัมพูชา ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงิน และพัฒนาการเติบโตของ SMEs เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501443502/cgcc-provides-170m-credit-guarantees-to-nearly-2000-businesses/

ปริมาณสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคในกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่า 5% ในไตรมาสก่อน

การขอสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคในกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 สำหรับในช่วงไตรมาส 4 ปี 2023 เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณสินเชื่ออุปเพื่อโภคบริโภคทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะมูลค่าสินเชื่อรวมกว่า 15.01 พันล้านดอลลาร์ สำหรับจำนวนบัญชีสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 1.76 ล้านบัญชี โดยร้อยละ 80.27 อยู่ในหมวดการเงินส่วนบุคคล รองลงมาร้อยละ 11.53 อยู่ในหมวดสินเชื่อจำนอง และร้อยละ 8.20 อยู่ในหมวดบัตรเครดิต ซึ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณบัญชีสินเชื่ออุปโภคบริโภคสูงสุดในช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับคุณภาพของสินเชื่อผู้บริโภคที่วัดด้วยอัตราส่วน 30+ DPD (เกินกำหนดชำระมากกว่า 30 วัน) เพื่อบ่งชี้ความน่าเชื่อถือทางเครดิตและความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ มีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.14 บ่งชี้ว่าคุณภาพสินเชื่อลดลงเล็กน้อย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501434280/consumer-loan-applications-go-up-by-5-in-q4-last-year/

CGCC อนุมัติสินเชื่อสำหรับ SMEs กัมพูชา มูลค่ารวมกว่า 160 ล้านดอลลาร์

บริษัทประกันเครดิตแห่งกัมพูชา (CGCC) ได้ให้การค้ำประกันสินเชื่อมูลค่ารวมกว่า 164.7 ล้านดอลลาร์ ให้แก่ SMEs ในกัมพูชา ณ เดือนธันวาคม 2023 โดยมีผู้ประกอบการกว่า 1,928 แห่ง ได้รับการอนุมัติ เพื่อหวังกระตุ้นการลงทุน และการขยายธุรกิจ สำหรับยอดเงินกู้ค้ำประกันคงค้างในปัจจุบันอยู่ที่มูลค่า 116.1 ล้านดอลลาร์ และยอดค้ำประกันคงค้างอยู่ที่ 83.6 ล้านดอลลาร์ ที่ทาง CGCC เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งปัจจุบันได้ค้ำประกันร่วมกับสถาบันการเงินกว่า 27 แห่ง (PFI) เพื่อกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501427481/cgcc-provides-over-us160-million-credit-supports-to-smes/

สินเชื่อคงค้างของภาคการเงินรายย่อยกัมพูชาแตะ 5.13 พันล้านดอลลาร์ สำหรับ Q3/2023

ข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่โดยสมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) ระบุว่า ยอดสินเชื่อคงค้างในภาคการเงินรายย่อยกัมพูชาอยู่ที่ 5.13 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 โดยมีจำนวนผู้กู้ยืมสูงถึง 1.60 ล้านคน โดยร้อยละ 55 เป็นผู้หญิง ซึ่งยอดเงินฝากของสถาบันการเงินรายย่อยทุกแห่งในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.24 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ CMA สำหรับภาคการเงินรายย่อยของกัมพูชามีการเติบโตมากกว่าร้อยละ 20 ทั้งในแง่ของสินเชื่อและเงินฝากภายในสิ้นปี 2022 โดยพอร์ตสินเชื่อเติบโตขึ้นเป็น 9.135 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 ซึ่งมีบัญชีลูกค้ามากกว่า 2 ล้านบัญชี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501422993/mfi-outstanding-loans-stood-at-5-13-billion-in-2023-q3/

บลูมเบิร์กตีข่าว KBANK-SCB ร่วมประมูลซื้อกิจการ non-bank ในเวียดนาม

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ธนาคารรายใหญ่ของไทย 2 แห่งซึ่งได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้เข้าร่วมการประมูลในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อซื้อกิจการ Home Credit Vietnam ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้บริโภคของเวียดนาม ทั้งนี้ Home Credit Vietnam เป็นธุรกิจในเครือ Home Credit Group ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ของเนเธอร์แลนด์ โดย Home Credit Vietnam เริ่มดำเนินธุรกิจในปี 2551 ปัจจุบันมีพนักงานราว 6,000 คน และมีลูกค้า 12 ล้านราย โดยบริษัทมีสาขาจำนวน 9,000 แห่งในเวียดนาม โดยมีการปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อย รวมทั้งให้สินเชื่อสำหรับการผ่อนซื้อมอเตอร์ไซค์และสินค้าเพื่อผู้บริโภค

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/348816?fbclid=IwAR1gxRdFs4HKIX0L3VHoS1_vIyla6g2wMDPgpOdtANLruR_K8n0q1-HG4Po

สถาบันค้ำประกันสินเชื่อกัมพูชา ค้ำประกัน SME แตะ 140 ล้านดอลลาร์

ณ เดือนกรกฎาคมปีนี้ สถาบันค้ำประกันสินเชื่อแห่งกัมพูชา (CGCC) ให้การค้ำประกันสินเชื่อมูลค่ารวมกว่า 139.5 ล้านดอลลาร์แก่ภาคธุรกิจต่างๆ สำหรับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน การลงทุน และการขยายธุรกิจ โดยมีการค้ำประกันสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจกว่า 1,648 แห่ง ซึ่งในจำนวนดังกล่าวคิดเป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSME) 1,510 แห่ง และธุรกิจขนาดใหญ่ 138 แห่ง ที่ได้รับการค้ำประกันเงินกู้ ภายใต้โครงการของ CGCC มีสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ (PFIs) กว่า 30 แห่ง ในการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจที่สนใจเข้าร่วม โดยหวังว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจนเข้าสู่ภาวะปกติ จะส่งผลทำให้ธุรกิจ SME กลับมาเเติบโตอีกครั้ง ด้าน Mey Vann รัฐมนตรีต่างประเทศของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง กล่าวว่า โครงการค้ำประกันสินเชื่อมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างผู้ประกอบการและปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงินในกัมพูชาเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501346090/credit-guarantees-to-smes-reach-nearly-140-million/

SME Bank ปล่อยกู้ 54 ล้านดอลลาร์ แก่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวกัมพูชา

ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งกัมพูชา (SME Bank) ปล่อยเงินกู้รวม 54 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ให้แก่ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศกัมพูชา ผ่านโครงการความร่วมมือทางการเงินเพื่อการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนเงินกู้ที่เบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 36 ของเป้าหมายในการปล่อยกู้เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจที่กำหนดไว้ที่ 150 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวคิดเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลมูลค่ารวม 75 ล้านดอลลาร์ ร่วมกับเงินสมทบของสถาบันการเงินอีก 75 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันมีบริษัท/องค์กรกว่า 349 แห่ง ที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวเข้าร่วมโครงการในการฟื้นฟูธุรกิจหลังนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาท่องเที่ยวยังกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภายใต้โครงการดังกล่าวให้สินเชื่อสูงสุด 400,000 ดอลลาร์ต่อราย ที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6.5 ต่อปี และมีระยะเวลาเงินกู้สูงสุด 7 ปี สำหรับภาคการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักของเศรษฐกิจกัมพูชา โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดกัมพูชาดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 6.6 ล้านคนในช่วงปี 2019 สร้างรายได้รวมกว่า 4.9 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501337906/sme-bank-disburses-54m-loans-to-tourism-related-biz/

กระทรวงฯ พร้อมหนุน SMEs เพื่อความยั่งยืน

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกัมพูชา ถือมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้านกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (MISTI) จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมให้ SMEs ด้วยหลักการของความยั่งยืนให้เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ ผ่านกลยุทธ์ IBeeC ซึ่งได้หารือกันในระหว่างการประชุม Sustainable Business Forum ที่จัดโดย Oxfam and Young Entrepreneurs Association of Cambodia (YEAC) เพื่อเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ร่วมกับภาคองค์กรพัฒนาเอกชนจะสามารถช่วยให้ SME/MSMEs ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ในขณะเดียวกัน Credit Guarantee Corporation of Cambodia (CGCC) พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการโดยในช่วงที่ผ่านมาองค์กรได้ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการไปแล้วมูลค่ากว่า 113.6 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ กระจายไปยังภาคธุรกิจต่างๆ เกือบ 1,300 แห่ง ทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501321304/ministry-urges-smes-to-embrace-sustainability-inclusiveness/

“แบงก์ชาติ” เผยกลุ่มสินเชื่อเวียดนามที่มีความเสี่ยงสูง อยู่ภายใต้การควบคุม

นาย Dao Minh Tu รองผู้ว่าการธนาคารเวียดนาม กล่าวว่ากลุ่มกู้ยืมสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงของเวียดนามยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม โดยในภาพรวมของการเติบโตของสินเชื่อ (ณ วันที่ 15 มิ.ย.) อยู่ที่ 3.36% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่สูงเท่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ตลาดตราสารหนี้และตลาดทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 4% และธนาคารกลางเวียดนามเข้าซื้อเงินตราต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มเงินทุนสำรองของประเทศ นอกจากนี้ ธนาคารกลางประกาศที่จะลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกันในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากภาคการผลิตของประเทศที่อ่อนแอลงเป็นไปตามอุปสงค์โลกที่หดตัวเช่นเดียวกัน

ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/business/vietnam-credit-high-risk-sectors-under-control-central-bank-3576701

ธนาคารกลาง สปป.ลาว ออกนโยบายสินเชื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

ธนาคารแห่ง สปป.ลาว (BOL) ได้รายงานแจ้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของนโยบายสินเชื่อเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามมติของสมัชชาแห่งชาติ โดยการประชุมเพื่อร่างวัตถุประสงค์ของนโยบายจัดขึ้นที่สำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (30 พ.ค.) ซึ่งมี ดร.Bounleua Sinxayvoravong ผู้ว่าการ BOL เป็นประธาน ร่วมกับรัฐมนตรีจากกระทรวงต่างๆ รองผู้ว่าการมณฑลและนายกเทศมนตรีนครเวียงจันทน์เข้าร่วมการประชุม โดยนโยบายสินเชื่อมุ่งเน้นไปที่ภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคบริการ เป็นสำคัญ เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงการสร้างงาน การรักษาเสถียรภาพการเงิน และการเงินในระดับมหภาค ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งจากรายงานสรุปของ BOL ที่นำเสนอในที่ประชุม นโยบายสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น 2 นโยบายย่อย คือ นโยบายสินเชื่อเพื่อเติมเต็มช่องว่างดอกเบี้ยงบประมาณ 5 แสนล้านกีบ ระยะเวลาโครงการ 5 ปี และนโยบายสินเชื่อเพื่อกระจายแหล่งทุนสู่ท้องถิ่น จำนวนเงินสูงถึง 1,500 พันล้านกีบ ระยะเวลาโครงการไม่เกิน 5 ปี ภายใต้สกุลเงินกีบ (LAK)

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Central104.php