2023 NBC อัดฉีดเงิน 139 ล้านดอลลาร์ รักษาเสถียรภาพสกุลเงินเรียล

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) อัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า 139.1 ล้านดอลลาร์ เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเรียล และเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภายใต้ความร่วมมือของ NBC กับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ เพื่อลดสัดส่วนเงินสกุลดอลลาร์ และเพิ่มสัดส่วนสกุลเงินเรียลในระบบเศรษฐกิจของกัมพูชา สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของเรียลต่อดอลลาร์อยู่ที่ 4,110 ในปีที่แล้ว และในเดือนธันวาคมเพียงเดือนเดียว สกุลเงินเรียลแข็งค่าขึ้นเป็น 4,081 เรียล สะท้อนให้เห็นว่ามูลค่าเงินเรียลเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022 ด้าน NBC ตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงสกุลเงินเรียลอย่างต่อเนื่องเนื่อง จากปัจจัยตามฤดูกาลและความกดดันของเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501431035/nbc-injected-139-million-to-stabilise-riel-in-2023/

“ดองเวียดนาม” เป็น 1 ใน สกุลเงินที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในเอเชีย

รายงานการวิเคราะห์ตลาดของบริษัท มิแร แอสเซ็ท ซีเคียวริตีส์ เวียดนาม (Mirae Asset Securities Vietnam) แสดงให้เห็นว่าในเดือน เม.ย. อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อดองเวียดนาม ปรับตัวลดลง 0.2% และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 23,500 ดอง/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวอยู่ในระดับทรงตัวตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. ในขณะที่ธนาคารยูโอบี (UOB) ได้จัดอันดับให้สกุลเงินดองของเวียดนามเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในเอเชีย ถึงแม้ว่าจะมีความกังวลกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและความไม่มีเสถียรภาพของระบบธนาคารในสหรัฐฯ ตลอดจนการประมาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-dong-one-of-most-stable-currencies-in-asia-experts/252792.vnp

คาดกัมพูชาได้รับผลกระทบเชิงบวก หลังธนาคารโลกคาดราคาข้าวตลาดโลกขยายตัว

ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ราคาข้าวสารในตลาดโลกจะขยายตัวถึงร้อยละ 17 จากปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 510 ดอลลาร์ต่อตัน ในปี 2023 ก่อนที่จะลดลงมาอยู่ที่ 490 ดอลลาร์ต่อตันในปี 2024 ซึ่งได้เผยแพร่ไว้ในรายงานประจำปี “Commodity Market Outlook” สำหรับในช่วงไตรมาสแรกราคาข้าวสารได้เพิ่มขึ้นไปกว่าร้อยละ 11 เนื่องจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและอุปทานที่ตึงตัวจากประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก รวมถึงการแข็งค่าของสกุลเงินเมื่อเทียบกับดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501281716/world-bank-expects-international-rice-prices-to-climb-by-17-percent-this-year/

เมียนมาผ่อนผันคำสั่งแปลงสกุลเงินให้ผู้ค้าที่ชายแดนจีน-ไทย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ได้ขยายระยะเวลาบังคับแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นเงินจัตสำหรับผู้ส่งออกที่ทำการค้าที่ชายแดนกับจีนและไทย โดยผู้ส่งออกที่ซื้อขายภายใต้โครงการการค้าชายแดนจีน-เมียนมา และไทย-เมียนมา ไม่จำเป็นต้องแปลงรายได้จากการส่งออกเป็นสกุลเงินจัตภายในหนึ่งวันทำการอีกต่อไป และอนุญาตแปลงรายได้ของตนเองที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาเป็นเงินจัตได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ ธนาคารกลางยังมีคำสั่งให้ธนาคารตัวแทนที่ได้รับอนุญาตดำเนินการตรวจสอบการบังคับนำรายได้ของผู้ส่งออกเข้าบัญชีธนาคารของรัฐสำหรับรายได้จากการส่งออก นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ผู้นำเข้าสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศกับธนาคารที่กำหนด โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ.

ที่มา: https://english.news.cn/20220428/c939e28c2cdf49dab0f244300c49df72/c.html

CBM อนุญาตให้ใช้เงินหยวน-จัต ซื้อขาย ในเขตชายแดนจีน-เมียนมา

ธนาคารกลางเมียนมา หรือ CBM ประกาศ อนุญาตให้ใช้หยวนหรือจัตในการทำธุรกรรมในขตชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนเพื่อสนับสนุนการค้าของสองประเทศ ซึ่งผู้ค้าชาวเมียนมาสามารถเปิดบัญชีที่ธนาคารที่กำหนดโดยสามารถชำระเงินหยวน-จัต ได้โดยตรง ทั้งนี้ธนาคารต้องปฏิบัติตามแนวทางการใช้เงินหยวนหรือจัดอย่างเคร่งครัดในการค้าขายข้ามพรมแดน โดยด่านข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมา และจีน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านมูเซ ด่านลิวจี, ด่านชินฉ่วยฮ่อ, ด่านคามาไพติ และด่านเชียงตุง ซึ่งด่านมูเซ เป็นด่านชายแดนที่มีความสำคัญมากที่สุด จากข้อมูล พบว่า เมียนมามีมูลค่าการค้าข้ามแดนผ่านด่านมูเซ 4.057 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยเป็นการส่งออกมีมูลค่า 2.9 พันดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yuan-kyat-direct-trade-allowed-in-sino-myanmar-border-areas/

กัมพูชาวางแผนลดบทบาทสกุลเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเป็นหลักภายใต้กลยุทธ์การพัฒนาภาคการเงินในประเทศ โดยกล่าวถึงความมั่นคงของค่าเงินเรียลที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐบาลในการสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนในด้านเสถียรภาพทางเงิน ซึ่งคำนึงถึงปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในระบบเป็นสำคัญ โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้ตัดสินใจที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการจัดการและเข้าแทรกแซงในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา NBC มีส่วนในการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ที่ประมาณ 4,050 เรียลต่อดอลลาร์ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 4 และเป็นการลดความผันผวนที่อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้นำเข้าและส่งออกภายในประเทศกัมพูชาที่จะต้องทำการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์กลับมาเป็นสกุลเงินเรียล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50829303/de-dollarisation-finds-willing-and-eager-base-in-rural-communities/

กัมพูชาตั้งเป้าเพิ่มปริมาณสกุลเงินเรียลในระบบ และลดมูลค่าสกุลเงินดอลลาร์

กัมพูชาดำเนินไปสู่เป้าหมายในการลดปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลง ร่วมกับการเพิ่มการหนุนเวียนสกุลเงินเรียลเพื่อลดการผูกขาดกับสกุลเงินต่างประเทศและหันมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยรายงานของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่าสกุลเงินของประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ประสบกับภาวะตกต่ำในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคมเนื่องจากประธานาธิบดีโจไบเดนที่เพิ่งขึ้นรับดำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากการเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าขึ้นส่งผลดีมากกว่าผลเสียต่อกัมพูชาเพราะตามทฤษฎีแล้วการอ่อนค่าของสกุลเงินต่างประเทศ ส่งผลให้กัมพูชาที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักได้รับผลในเชิงบวก แม้ว่าสกุลเงินเรียลของกัมพูชาจะไม่รวมอยู่ในดัชนีของ MSCI แต่ข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ก็สนับสนุนการวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก ที่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเรียลแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 4,055 KHR / USD จาก 4,030 KHR / USD ซึ่งแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.61 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805815/rielisation-and-dollars-provide-kingdom-with-an-economic-moat/

ผู้อำนวยการ NBC กล่าวถึงสกุลเงินเรียลและดอลลาร์ในช่วง Covid-19

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้เรียกร้องให้สาธารณชนเพิ่มการใช้สกุลเงิน riels เพื่อช่วยให้ธนาคารกลางใช้สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศเป็นเครื่องมือในการกำหนดมูลค่าและอัตราดอกเบี้ยให้มีเสถียรภาพในตลาดในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 โดยทั่วไปเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นให้สถาบันสินเชื่อดำเนินการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้การปล่อยสินเชื่อภาครัฐในอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่อง นี่คือสาเหตุที่ธนาคารกลางเสนอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนให้ชาวกัมพูชานำเงินออกไปใช้ในระบบให้เป็นสกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีนโยบายเหล่านี้สินเชื่อบนสกุลเงิน riels ได้ลดลงจาก 25% ในปี 2559 เหลือ 10% ในปี 2563

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710320/nbc-director-general-explains-economics-of-riels-and-dollars-during-the-covid-19-crisis/

สกุลเงินเรียลของกัมพูชาในยุคดิจิตอล

ในบริบทของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการชำระเงิน อย่างไรก็ตามการปรับตัวของเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) ในระบบธนาคารของกัมพูชายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการชำระเงินภายในตลาดท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสังคมการชำระเงินแบบไร้เงินสด รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการ Bakong คาดว่าจะเปิดตัวได้อย่างสมบูรณ์ในปีนี้จะเป็นแกนหลักของระบบการชำระเงินในกัมพูชาเพื่อเชื่อมโยงธนาคารและผู้ให้บริการด้านการชำระเงินด้วยการใช้แอปพลิเคชัน Bakong ที่มีฟังก์ชั่นที่สามารถทำการโอนเงินแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้ใช้โอนเงินทั้งในสกุล เรียลและดอลลาร์สหรัฐไปยังอีกแพลตฟอร์มหนึ่งได้จากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีสถาบันการเงิน 12 แห่ง ที่เข้าร่วมระบบรวมถึงธนาคาร ACLEDA Bank, Foreign Trade Bank (FTB), Wing (Cambodia) Ltd, Specialised Bank, Cambodia Post Bank, Sathapana, Canadia, Chip Mong, AMK and Speed Pay.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705458/riel-money-in-the-digital-era/

สปป.ลาวทำข้อตกลงกับจีนในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินโดยตรง

เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนและสปป.ลาวได้ลงนามทำข้อตกลงเรื่องการแลกเปลี่ยนเงินตราโดยตรงของกีบลาว(LAK)กับหยวนจีน(CNY)แทนที่จะต้องทำการแปลงผ่านสกุลเงินอื่น ๆ จุดประสงค์หลักของข้อตกลงคือเพื่อส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นและอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนตามนอกจากการการทำข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างทั้งสองประเทศจะลดลง ซึ่งจะเกิดประโยชน์จากความร่วมมือนี้และส่งเสริมนโยบายการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่หลากหลายจะช่วยลดความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งลาวต้องนำเข้ามาใช้ในการนำเข้าสินค้าเพราะในปัจจุบันเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำต้นทุนของผู้ผลิตในประเทศสูงขึ้นรวมถึงการบริโภคสินค้าในประเทศก็สูงขึ้นข้อตกลงดังกล่าวจะเข้ามาข่วยแก้ปัญหาได้โดยตรงและส่งผลดีต่อไปกับประเทศในอนาคด้านการค้าและการลงทุน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_China_8.php