2023 NBC อัดฉีดเงิน 139 ล้านดอลลาร์ รักษาเสถียรภาพสกุลเงินเรียล

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) อัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า 139.1 ล้านดอลลาร์ เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเรียล และเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภายใต้ความร่วมมือของ NBC กับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ เพื่อลดสัดส่วนเงินสกุลดอลลาร์ และเพิ่มสัดส่วนสกุลเงินเรียลในระบบเศรษฐกิจของกัมพูชา สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของเรียลต่อดอลลาร์อยู่ที่ 4,110 ในปีที่แล้ว และในเดือนธันวาคมเพียงเดือนเดียว สกุลเงินเรียลแข็งค่าขึ้นเป็น 4,081 เรียล สะท้อนให้เห็นว่ามูลค่าเงินเรียลเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022 ด้าน NBC ตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงสกุลเงินเรียลอย่างต่อเนื่องเนื่อง จากปัจจัยตามฤดูกาลและความกดดันของเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501431035/nbc-injected-139-million-to-stabilise-riel-in-2023/

ผู้ว่าการ NBC รายงานการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ทศวรรษ

Chea Serey ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวถึงการเติบโตของการใช้สกุลเงินท้องถิ่น อย่างสกุลเงินเรียลเติบโตเป็นอย่างมาก สำหรับในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยวัตถุประสงค์ในการลดค่าของเงินดอลลาร์ (de-dollarize) เพื่อให้สกุลเงินท้องถิ่นกลับมามีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางการพยายามที่จะปรับสมดุลการใช้สกุลเงินดอลลาร์ ให้เป็นตามกลไกตลาดด้วยการดำเนินมาตรการนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมการใช้เงินสกุลเรียลมานับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 ซึ่งปัจจุบันปริมาณเงินเรียลที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเพิ่มขึ้นจาก 0.85 ล้านล้านเรียล (ประมาณ 211 ล้านดอลลาร์) เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็น 14.5 ล้านล้านเรียล (ประมาณ 3.51 พันล้านดอลลาร์) ในปัจจุบัน สะท้อนไปยังการเพิ่มขึ้นทางด้านเสถียรภาพของสกุลเงินท้องถิ่นกัมพูชาได้เป็นอย่างดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501390501/nbc-governor-says-cambodia-has-seen-big-increase-in-local-currency-usage-in-past-2-decades/

กัมพูชาวางแผนลดบทบาทสกุลเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเป็นหลักภายใต้กลยุทธ์การพัฒนาภาคการเงินในประเทศ โดยกล่าวถึงความมั่นคงของค่าเงินเรียลที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐบาลในการสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนในด้านเสถียรภาพทางเงิน ซึ่งคำนึงถึงปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในระบบเป็นสำคัญ โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้ตัดสินใจที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการจัดการและเข้าแทรกแซงในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา NBC มีส่วนในการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ที่ประมาณ 4,050 เรียลต่อดอลลาร์ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 4 และเป็นการลดความผันผวนที่อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้นำเข้าและส่งออกภายในประเทศกัมพูชาที่จะต้องทำการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์กลับมาเป็นสกุลเงินเรียล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50829303/de-dollarisation-finds-willing-and-eager-base-in-rural-communities/

กัมพูชาตั้งเป้าเพิ่มปริมาณสกุลเงินเรียลในระบบ และลดมูลค่าสกุลเงินดอลลาร์

กัมพูชาดำเนินไปสู่เป้าหมายในการลดปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลง ร่วมกับการเพิ่มการหนุนเวียนสกุลเงินเรียลเพื่อลดการผูกขาดกับสกุลเงินต่างประเทศและหันมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยรายงานของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่าสกุลเงินของประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ประสบกับภาวะตกต่ำในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคมเนื่องจากประธานาธิบดีโจไบเดนที่เพิ่งขึ้นรับดำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากการเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าขึ้นส่งผลดีมากกว่าผลเสียต่อกัมพูชาเพราะตามทฤษฎีแล้วการอ่อนค่าของสกุลเงินต่างประเทศ ส่งผลให้กัมพูชาที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักได้รับผลในเชิงบวก แม้ว่าสกุลเงินเรียลของกัมพูชาจะไม่รวมอยู่ในดัชนีของ MSCI แต่ข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ก็สนับสนุนการวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก ที่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเรียลแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 4,055 KHR / USD จาก 4,030 KHR / USD ซึ่งแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.61 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805815/rielisation-and-dollars-provide-kingdom-with-an-economic-moat/

ดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง หวั่นกระทบส่งออกเมียนมา

ผู้ส่งออกเมียนมากังวลการค้าระหว่างประเทศและรายได้จากการส่งออกซึ่งได้รับผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงและอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงจากธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน อยู่ที่ 1,287.4 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 ปี กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปริมาณการค้าในช่วงสามสัปดาห์แรกของปีงบประมาณปัจจุบันน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ที่ได้รับในช่วงเวลาเดียวกันของงบประมาณ 62-63 ตลาดส่งออกเริ่มแย่ลงจากพิษ COVID-19 ยังได้รับผลกระทบค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า หากยังลดลงอย่างนี้ผู้ส่งออกย่อมมีโอกาสขาดทุน รัฐบาลและ CBM จะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น นักวิเคราะห์การเงินคาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจยังคงต่ำกว่า 1300 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐไปอีกระยะ ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐได้พิมพ์และใช้เงินจำนวน 3 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาและหากยังพิมพ์ธนบัตรต่อไปยิ่งทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงไปอีก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-exporters-concerned-over-falling-dollar-rate.html