‘เวียดนาม’ เผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้น

คุณ เหงียน ถิ เฮือง (Nguyen Thi Huong) หัวหน้าสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่าภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. ถึงแม้ว่าจะได้รับแรงกดดันอย่างมากจากตลาดระหว่างประเทศและในประเทศ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 3.93% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ใกล้กับเพดานที่ตั้งเป้าไว้ในปีนี้ที่ระดับ 4-4.5%

ในขณะเดียวกัน นายเหงียน บิช ลา (Nguyen Bich Lam) นักเศรษฐศาสตร์ มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกอย่างมาก รวมถึงการแข่งขันที่รุงแรงในตลาดต่างประเทศ และความตึงเครียดในทะเลแดง ซึ่งอาจเกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและเกิดความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก

นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐต่อด่องเวียดนาม มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตข้างหน้า เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐยังไม่มีแผนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย จากตัวเลขเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง สิ่งเหล่านี้จะถือว่าเป็นภาระต้นทุนในการนำเข้าและเงินเฟ้อในประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mounting-inflationary-pressure-requires-governments-flexible-moves-post286015.vnp

จ๊าดพม่าอ่อนค่าลงทะลุ 3,900 จ๊าดต่อดอลลาร์

ข้อมูลจากตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรายงานว่าสกุลเงินจ๊าดของเมียนมา ในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการ อ่อนค่าลงอีกครั้งที่ระดับกว่า 3,900 จ๊าดต่อดอลลาร์ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อวันที่ 12 เมษายนก่อนเทศกาล Thingyan อยู่ที่ 3,890 จ๊าดต่อดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 3,960 จ๊าดต่อดอลลาร์ ในวันที่ 27 เมษายน ซึ่งเพิ่มขึ้น 70 จ๊าดต่อดอลลาร์ภายใน 15 วัน อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ได้พยายามทำการอัดฉีดเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ตลาดเพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งมีการร่วมมือกับหน่วยงานด้านกฎหมายเพื่อให้สามารถดำเนินคดีกับผู้ที่พยายามแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายใต้กฎหมายที่มีอยู่

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-kyat-depreciates-surpassing-k3900-per-dollar/

ราคาทองคำในประเทศเมียนมาเกิน 4.3 ล้านจ๊าดต่อ tical

หลังจากที่ราคาทองคำพุ่งขึ้นเหนือ 2,170 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ และค่าเงินจ๊าดในตลาดอ่อนค่าลงประมาณ 3,740 จ๊าดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ราคาทองคำในประเทศแตะจุดสูงสุดใหม่ที่ 4.31 ล้านจ๊าดต่อ tical (1 tical = 0.578 ออนซ์ หรือ 0.016 กิโลกรัม) ในขณะเดียวกัน สมาคมผู้ประกอบการทองคำย่างกุ้ง (YGEA) กำหนดราคาอ้างอิงที่ 3.7989 ล้านจ๊าดต่อ tical ซึ่งแสดงถึงช่องว่างระหว่างราคาที่แท้จริงในตลาดกับราคาอ้างอิงกว่า 500,000 จ๊าดต่อ tical อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังตรวจสอบสาเหตุของความผันผวนของราคา และกำลังดำเนินคดีตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ YGEA จึงขอให้ตัวแทนจำหน่ายทำธุรกรรมทองคำให้ต่ำกว่าราคาอ้างอิงที่ตั้งไว้ และหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ข่าวเท็จและการบิดเบือนราคา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-gold-price-exceeds-k4-3-mln-per-tical/#article-title

อัตราแลกเปลี่ยนจ๊าด-ดอลลาร์ในตลาดลดลงอยู่ที่ 3,500 จ๊าด

ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา การอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจ๊าดเทียบกับดอลลาร์ชะลอตัวลงที่ประมาณ 3,500 จ๊าดที่ตลาดซื้อขายที่เคาน์เตอร์อย่างไม่เป็นทางการหลังจากแตะ 3,560 จ๊าด เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) เข้ามาแทรกแซงตลาดสกุลเงินโดยการอัดฉีดเงินดอลลาร์เข้าสู่ตลาดการเงินเพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในตลาดฟอเร็กซ์ โดยในวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา CBM อัดฉีดเงินตราต่างประเทศ รวมมูลค่า 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 250 ล้านบาท ในแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมียนมาที่กำหนดไว้อยู่ที่ 2,100 จ๊าด/ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ธนาคารกลางแห่งเมียนมาได้อนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) ดำเนินการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างอิสระตามอัตราตลาดที่กำหนดโดยกลไกของตลาดอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ CBM ยังได้แจ้งว่าการโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-dollar-exchange-rate-dips-to-k3500-in-market/#article-title

ธนาคารกลางเมียนมาขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 200 ล้านบาทในตลาดการเงิน

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 200 ล้านบาทเข้าสู่ตลาดการเงิน โดยขายเงินเข้าสู่ตลาดฟอเร็กซ์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ได้ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และบนแพลตฟอร์มการซื้อขายสำหรับผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าออนไลน์ 5 ล้านดอลลาร์และ 50 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ คิดเป็นมูลค่ารวม 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 250 ล้านบาท โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่กำหนดโดย CBM คือ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดที่ไม่เป็นทางการอยู่ที่ประมาณ 3,500 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ, 99 จ๊าดต่อบาทไทย และ 490 จ๊าดต่อหยวนจีน อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ธนาคารกลางเมียนมา ขายเงินดอลลาร์ได้ 68.33 ล้านดอลลาร์ ขายเงินบาทได้ 313.5 ล้านบาท และขายเงินหยวนได้ 4.2 ล้านหยวน รวมทั้งยังมีการอัดฉีดเงินลงทุน 22.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ภาคน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-sells-us11m-200m-thai-baht-into-financial-market-on-5-feb/

ธนาคารกลางเมียนมาขายเงินสกุลดอลลาร์ได้กว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 15 วัน

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) มีการขายเงินสกุลดอลลาร์ได้เกือบ 44 ล้านดอลลาร์ภายใน 15 วัน โดยแบ่งเป็น 12.93 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 1 มกราคม 16 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 5 มกราคม และ 15 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 15 มกราคม นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมา ยังอัดฉีดเงิน 22.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่กลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิงในปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ธันวาคม ขายได้ 9.72 ล้านดอลลาร์ และในวันที่ 21 ธันวาคม 12.43 ล้านดอลลาร์ สำหรับบริษัทนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งธนาคารกลางเมียนมาไม่ได้เปิดเผยอัตราแลกเปลี่ยนในการขายดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางเมียนมามีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงอยู่ที่ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดที่ไม่เป็นทางการ อยู่ที่ 3,450 จ๊าดต่อดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-sells-almost-us44-million-in-15-days/#article-title

อัตราแลกเปลี่ยนจ๊าด-ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวที่ประมาณ 3,450 จ๊าด

ธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) รายงานว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินจ๊าดเทียบกับดอลลาร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 3,450 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ตลาดซื้อขายแบบไม่เป็นทางการตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2566 ในขณะเดียวกัน อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ยังถูกคงไว้อยู่ที่ 2,100 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) อนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) ดำเนินการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างอิสระตามอัตราตลาด ที่กำหนดตามกลไกตลาดของอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) ยังได้แจ้งว่าการโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-us-dollar-exchange-rate-stable-at-around-k3450/

เงินสกุลจ๊าดอ่อนค่าลงกว่า 3,500 จ๊าดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลจ๊าดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,380 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าลงอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,550 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ว่าไม่ได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงอีกต่อไป และอนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับใบอนุญาตซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถแลกเปลี่ยนในอัตราที่เสรีมากขึ้น  อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ยังได้กล่าวอีกว่าจะไม่เข้าแทรกแซงตลาด Forex ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และธนาคารที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิ์ดำเนินการซื้อขายออนไลน์ตามอัตราตลาดตามอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ การโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-weakens-to-over-k3500-against-us-dollar/#article-title

ค่าเงินจ๊าดในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการอ่อนค่าลงอยู่ที่ 3,400 จ๊าดเทียบกับดอลลาร์

ในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 จ๊าตอ่อนค่าลงทำให้อัตราแลกเปลี่ยนขยับตัวอยู่ในช่วง 3,400–3,425 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จาก K3,230 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน แม้ว่าธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ที่ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางเมียนมาร์ ได้กำหนดกรอบการซื้อขายสกุลเงินตราต่างประเทศไว้ที่ร้อยละ 0.3 เพื่อดูแลความผันผวนระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการทำธุรกรรมการซื้อ-ขาย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 โดยกำหนดให้สถาบันการเงินรวมถึงธนาคารและการแลกเปลี่ยนเงินนอกระบบควบคุมอัตราและเปลี่ยนการซื้ออยู่ที่ 2,094 จ๊าดต่อดอลลาร์ และ 2,106 จ๊าดต่อดอลลาร์ สำหรับการขาย ทั้งนี้ แม้จะมีช่องว่างราคาที่ค่อนข้างมากระหว่างอัตราอ้างอิงของ CBM และอัตราตลาดอย่างไม่เป็นทางการ แต่ธนาคารกลางเมียนมาร์ ก็ไม่สามารถกำหนดราคาใหม่ได้ตามประกาศที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2023 นอกจากนี้ ภายใต้มาตรา 9 ของกฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เฉพาะนิติบุคคลที่ถือใบอนุญาตตัวแทนจำหน่ายเงินตราต่างประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเช็คเดินทาง ผู้ที่ถือเงินตราต่างประเทศโดยไม่มีใบอนุญาตที่ถูกต้องจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายตามประกาศของ CBM ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ตามประกาศ 7/2557 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-weakens-to-k3400-against-greenback-in-grey-market/

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ เผยเศรษฐกิจเวียดนามมีเสถียรภาพ ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลก

ดร.เหงียน จิ ฮิว นักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและการธนาคาร กล่าวว่าผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เด่นชัดที่สุด คือ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่ผู้ส่งออกน้ำมัน เวียดนามขายน้ำมันดิบและนำเข้าน้ำมันสำหรับกระบวนการผลิต ด้วยเหตุนี้เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พลังงาน นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลกที่ทวีความรุนแรงสูงขึ้น ได้ผลักดันราคาสินทรัพย์ปลอดภัย รวมไปถึงทองคำและเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนกระทบต่อเงินด่องเวียดนามให้อ่อนค่าลง โดยปัจจัยเหล่านี้เกิดความยากลำบากในการควบคุมเงินเฟ้อและการรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnamese-economy-stable-amidst-geopolitical-instability-2214122.html