ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่ได้รับอนุญาตจะต้องขายสกุลเงินต่างประเทศในราคาควบคุม: ธนาคารกลางเมียนมา

ตามประกาศของ ธนาคารกลางเมียนมา ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรามีหน้าที่ขายสกุลเงินต่างประเทศตามอัตราที่กำหนดของธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) หากไม่ทำเช่นนั้นจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากบัตรเดบิตและบัตรเครดิตสำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศแล้ว CBM ยังอนุญาตให้ผู้แลกเงินที่ได้รับอนุญาตขายสกุลเงินต่างประเทศได้ที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) หรือเคาน์เตอร์ที่กำหนดของตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินสดย่อยและควบคุม โดยเริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำหรับธุรกรรมที่ผิดกฎหมายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศ ไปรับการรักษาพยาบาล และศึกษาต่อต่างประเทศ และเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2566 สำหรับผู้แสวงบุญและเข้าร่วมเวิร์คช็อปหรือการประชุมตามคำเชิญขององค์กรภาครัฐต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หากชาวเมียนมาต้องการแลกเปลี่ยนสกุลเงินมากกว่าเงินสดที่มีอยู่ สามารถใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังมีการเยี่ยมเยียนร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งและข้อบังคับที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/authorized-money-changers-must-sell-foreign-currencies-at-regulated-prices-cbm/

ธนาคารกลางเมียนมาดำเนินนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพราคา ในวันที่ 3 พ.ค. ทั้งนี้ CBM กำลังวางนโยบายการเงินเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากวิเคราะห์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนสินเชื่อของธนาคารต่อ GDP อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เป็นต้น นอกจากนี้ ในบรรดานโยบายการเงิน แทนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ อัตราเงินสำรองของธนาคารเอกชนในสกุลเงินเมียนมาและการจ่ายดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินก็เช่นกัน ส่งผลให้ปัจจุบันเงินฝากธนาคารและสินเชื่อมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินหมุนเวียนและลดอัตราเงินเฟ้อ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำจึงเพิ่มขึ้นเป็น 3.75 จากร้อยละ 3.5 ดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินก็เพิ่มขึ้นเป็น 3.8 จากร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม 2567 การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินอาจสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยรายปีสำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และส่งผลให้ภาคเอกชนมีแหล่งเงินทุนมากขึ้น สามารถลดจำนวนเงินหมุนเวียนและลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่อธนาคารฝากเงินในบัญชี CBM ในปัจจุบันมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-implements-monetary-policies-to-curb-inflation/

ธนาคารกลางเมียนมาปรับเพิ่มอัตราสำรองขั้นต่ำ

เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและควบคุมการเพิ่มขึ้นของเงินสดหมุนเวียน ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ได้ปรับเพิ่มอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำของสกุลเงินท้องถิ่นจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.75 ในสินทรัพย์สภาพคล่อง ตามประกาศคำสั่ง (4/2024) ลงวันที่ 30 เมษายน 2567 โดยการแก้ไขอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำนี้จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ดังนั้น ธนาคารของรัฐ ธนาคารเอกชน และสาขาของธนาคารต่างประเทศ มีสิทธินำเงินสดเข้าธนาคาร (CAB) ได้ร้อยละ 3 เพื่อเข้าบัญชีเงินฝากของธนาคารกลางเมียนมาและถือ CAB ร้อยละ 0.75 รวมทั้ง ยังได้กำหนดดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินโดยเฉลี่ยไว้ที่ร้อยละ 3.8 เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของธนาคาร และธนาคารที่ถือเงินสำรองส่วนเกินโดยเฉลี่ยเกินกว่า 7 พันล้านจ๊าด อย่างน้อยก็มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย ทุนสำรองส่วนเกินที่ธนาคารถืออยู่นั้นจำกัดอยู่ที่ 50 พันล้านจ๊าด อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินต้องดำรงอัตราส่วนเงินฝากเข้าธนาคารกลางเมียนมา โดยเฉลี่ยจนถึงวันสุดท้ายของระยะเวลาดำรงเงินสำรองที่กำหนด ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับจากธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-hikes-minimum-reserve-requirement-ratio/#article-title

รองผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเมียนมา เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอาเซียนครั้งที่ 20

ดร. ลิน ออง รองผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเมียนมา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูง ได้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอาเซียน (ACDM) ครั้งที่ 20 และการประชุมเจ้าหน้าที่การเงินและธนาคารกลางอาเซียน (AFCDM) เมื่อวานนี้ โดยรองผู้ว่าการธนาคารกลางลาว กล่าวถึง การจัดหาเงินทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ในภูมิภาคในปี พ.ศ. 2567 จากนั้น ผู้เข้าร่วมได้ให้ข้อมูลเชิงลึกแก่คณะทำงานต่างๆ รวมถึง การเปิดเสรีบัญชีทุน, กรอบบูรณาการการธนาคารของอาเซียน, การรวมกลุ่มทางการเงิน, ระบบการชำระเงินและการชำระบัญชี, การเปิดเสรีบริการทางการเงิน รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Swap ของอาเซียน และความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ของอาเซียนและแพลตฟอร์มการแบ่งปันข้อมูล อย่างไรก็ดี สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้นำเสนอเกี่ยวกับสถานะของความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน พิมพ์เขียว AEC พ.ศ. 2568 วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2588 และรายงานการติดตามบูรณาการทางการเงินของอาเซียน พ.ศ. 2567 ในระหว่างการประชุม AFCDM หลังจากนั้น คณะทำงานต่างๆ ได้ให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับความคืบหน้าของคณะกรรมการระดับอาวุโสด้านการบูรณาการทางการเงินของอาเซียน และสรุปภารกิจสำหรับปีงบประมาณ 2024-2568

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-deputy-governor-attends-20th-asean-central-bank-deputies-meeting-virtually/

ธนาคารกลางเมียนมา ดำเนินการกับตัวแทนจำหน่ายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

ธนาคารกลางแห่งเมียนมาได้เพิกถอนใบอนุญาตของผู้ค้าเงินตราต่างประเทศ 4 รายเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติภายใต้กฎหมายว่าด้วยการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หลังจากมีการตรวจสอบทันที โดยตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตเหล่านี้ ได้แก่ Thura Nay Tun (ร้านรับแลกเงินที่มีชื่อเสียง), Lead Star Money Changer, Steber Group Money Changer และ Asia Shwe Thee Money Changer อย่างไรก็ดี การตรวจสอบได้ดำเนินการในย่างกุ้งเมื่อวันที่ 6 และ 8 มีนาคม โดยทีมงานร่วมที่นำโดยคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลตลาดทองคำและสกุลเงิน รวมถึงธนาคารกลางแห่งเมียนมา คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง ฝ่ายบริหารทั่วไป องค์กรบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ธนาคารกลางเมียนมา กำลังทำการตรวจสอบเคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสถานที่ว่าปฏิบัติตามคำสั่งภายใต้กฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือไม่ และจะดำเนินการสุ่มตรวจสอบต่อไปตามข้อกำหนดภายใต้กฎหมาย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-takes-administrative-action-against-4-non-compliant-foreign-exchange-dealers-by-suspending-their-licenses-for-3-months/#article-title

ธนาคารกลางเมียนมาขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 200 ล้านบาทในตลาดการเงิน

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 200 ล้านบาทเข้าสู่ตลาดการเงิน โดยขายเงินเข้าสู่ตลาดฟอเร็กซ์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ได้ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และบนแพลตฟอร์มการซื้อขายสำหรับผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าออนไลน์ 5 ล้านดอลลาร์และ 50 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ คิดเป็นมูลค่ารวม 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 250 ล้านบาท โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่กำหนดโดย CBM คือ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดที่ไม่เป็นทางการอยู่ที่ประมาณ 3,500 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ, 99 จ๊าดต่อบาทไทย และ 490 จ๊าดต่อหยวนจีน อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ธนาคารกลางเมียนมา ขายเงินดอลลาร์ได้ 68.33 ล้านดอลลาร์ ขายเงินบาทได้ 313.5 ล้านบาท และขายเงินหยวนได้ 4.2 ล้านหยวน รวมทั้งยังมีการอัดฉีดเงินลงทุน 22.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ภาคน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-sells-us11m-200m-thai-baht-into-financial-market-on-5-feb/

ธนาคารกลางเมียนมาขายเงินสกุลดอลลาร์ได้กว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 15 วัน

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) มีการขายเงินสกุลดอลลาร์ได้เกือบ 44 ล้านดอลลาร์ภายใน 15 วัน โดยแบ่งเป็น 12.93 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 1 มกราคม 16 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 5 มกราคม และ 15 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 15 มกราคม นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมา ยังอัดฉีดเงิน 22.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่กลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิงในปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ธันวาคม ขายได้ 9.72 ล้านดอลลาร์ และในวันที่ 21 ธันวาคม 12.43 ล้านดอลลาร์ สำหรับบริษัทนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งธนาคารกลางเมียนมาไม่ได้เปิดเผยอัตราแลกเปลี่ยนในการขายดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางเมียนมามีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงอยู่ที่ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดที่ไม่เป็นทางการ อยู่ที่ 3,450 จ๊าดต่อดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-sells-almost-us44-million-in-15-days/#article-title

อัตราแลกเปลี่ยนจ๊าด-ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวที่ประมาณ 3,450 จ๊าด

ธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) รายงานว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินจ๊าดเทียบกับดอลลาร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 3,450 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ตลาดซื้อขายแบบไม่เป็นทางการตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2566 ในขณะเดียวกัน อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ยังถูกคงไว้อยู่ที่ 2,100 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) อนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) ดำเนินการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างอิสระตามอัตราตลาด ที่กำหนดตามกลไกตลาดของอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ ธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) ยังได้แจ้งว่าการโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-us-dollar-exchange-rate-stable-at-around-k3450/

เงินสกุลจ๊าดอ่อนค่าลงกว่า 3,500 จ๊าดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลจ๊าดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,380 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าลงอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 3,550 จ๊าด/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ว่าไม่ได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงอีกต่อไป และอนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับใบอนุญาตซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถแลกเปลี่ยนในอัตราที่เสรีมากขึ้น  อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์ยังได้กล่าวอีกว่าจะไม่เข้าแทรกแซงตลาด Forex ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และธนาคารที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิ์ดำเนินการซื้อขายออนไลน์ตามอัตราตลาดตามอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ การโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-weakens-to-over-k3500-against-us-dollar/#article-title

ค่าเงินจ๊าดในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการอ่อนค่าลงอยู่ที่ 3,400 จ๊าดเทียบกับดอลลาร์

ในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 จ๊าตอ่อนค่าลงทำให้อัตราแลกเปลี่ยนขยับตัวอยู่ในช่วง 3,400–3,425 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จาก K3,230 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน แม้ว่าธนาคารกลางเมียนมาร์ (CBM) กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ที่ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางเมียนมาร์ ได้กำหนดกรอบการซื้อขายสกุลเงินตราต่างประเทศไว้ที่ร้อยละ 0.3 เพื่อดูแลความผันผวนระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการทำธุรกรรมการซื้อ-ขาย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 โดยกำหนดให้สถาบันการเงินรวมถึงธนาคารและการแลกเปลี่ยนเงินนอกระบบควบคุมอัตราและเปลี่ยนการซื้ออยู่ที่ 2,094 จ๊าดต่อดอลลาร์ และ 2,106 จ๊าดต่อดอลลาร์ สำหรับการขาย ทั้งนี้ แม้จะมีช่องว่างราคาที่ค่อนข้างมากระหว่างอัตราอ้างอิงของ CBM และอัตราตลาดอย่างไม่เป็นทางการ แต่ธนาคารกลางเมียนมาร์ ก็ไม่สามารถกำหนดราคาใหม่ได้ตามประกาศที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2023 นอกจากนี้ ภายใต้มาตรา 9 ของกฎหมายการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เฉพาะนิติบุคคลที่ถือใบอนุญาตตัวแทนจำหน่ายเงินตราต่างประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเช็คเดินทาง ผู้ที่ถือเงินตราต่างประเทศโดยไม่มีใบอนุญาตที่ถูกต้องจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายตามประกาศของ CBM ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ตามประกาศ 7/2557 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-weakens-to-k3400-against-greenback-in-grey-market/