‘เวียดนาม’ เผยดัชนี CPI ปรับขึ้น 4.4% เหตุราคาน้ำมันพุ่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน เม.ย.67 เพิ่มขึ้น 0.07% และเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องมาจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันในประเทศที่เพิ่มขึ้น 4.78% และราคาน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 2.01% ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งและบริการ เพิ่มขึ้น 1.95% โดยเฉพาะค่าขนส่งทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก 10.42% มาจากความต้องการเดินทางแออัดในช่วงวันหยุดยาว 5 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. ในขณะเดียวกัน ราคายาและค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ เพิ่มขึ้น 0.92% เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีผู้ป่วยมากขึ้น ทั้งจากการติดเชื้อโรคปอดบวม อีสุกอีใสและโรคมือเท้าปากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนต้องซื้อยา เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.17% จากเดือนก่อน และ 2.79% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/cpi-in-april-rises-44-year-on-year-on-petroleum-price-hike-post1092103.vov

สปป.ลาว แจ้งปรับราคาน้ำมันวันนี้ เบนซินปรับขึ้น ดีเซลปรับลดลง

ทางการ สปป.ลาว แจ้งปรับราคาขายปลีกน้ำมันมีผล 06.00 น. วันที่ 18 เมษายน 2567 โดยราคาน้ำมันเบนซิน 95 ปรับขึ้น 550 กีบต่อลิตร มาอยู่ที่ 33.200 กีบต่อลิตร เบนซิน 91 ปรับขึ้น 440 กีบต่อลิตร มาอยู่ที่ 25.250 กีบต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซล ปรับลดลง 160 กีบต่อลิตร มาอยู่ที่ 21.120 กีบต่อลิตร ซึ่งเป็นราคาสำหรับขายปลีกในแขวงเวียงจันทน์ อย่างไรก็ตาม ราคาที่ปรับขึ้นเป็นไปตามราคาตลาดโลกและน้ำมันสำเร็จรูปนำเข้า และจะเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงทุกๆ 7 วัน

ที่มา : https://www.vientianetimeslao.la/%e0%bb%81%e0%ba%88%e0%bb%89%e0%ba%87%e0%ba%9b%e0%ba%b1%e0%ba%9a%e0%ba%a5%e0%ba%b2%e0%ba%84%e0%ba%b2%e0%ba%99%e0%bb%89%e0%ba%b3%e0%ba%a1%e0%ba%b1%e0%ba%99-%e0%bb%81%e0%ba%ad%e0%ba%b1%e0%ba%94%e0%ba%8a/

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง 50-85 จ๊าดต่อลิตรในวันที่ 1 มีนาคม หลังจากเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 อยู่ที่ 2,770 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันค่าออกเทน 95 2,885 จ๊าดต่อลิตร, สำหรับราคาดีเซลอยู่ที่ 2,565 จ๊าดต่อลิตรและราคาดีเซลพรีเมียม 2,610 จ๊าดต่อลิตร และราคาได้ปรับลดลงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 อยู่ที่ 2,715 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันค่าออกเทน 95 อยู่ที่ 2,835 จ๊าดต่อลิตร, สำหรับราคาดีเซลอยู่ที่ 2,485 จ๊าดต่อลิตรและราคาดีเซลพรีเมียม 2,525 จ๊าดต่อลิตร อย่างไรก็ตา ความผันผวนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดภายในประเทศมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับดัชนีราคาที่กำหนดโดย Mean of Platts Singapore (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์กลั่นหลายชนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลดลงของราคา MOPS ส่งผลต่อราคาเชื้อเพลิงตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าน้ำมัน การจัดเก็บและการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงระบุ ดังนั้น คณะกรรมการจึงทำหน้าที่ขับเคลื่อนตลาดเพื่อให้มั่นใจถึงเสถียรภาพด้านราคาและความมั่นคงของน้ำมันเชื้อเพลิง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fuel-oil-prices-set-to-dip/#article-title

พีระพันธุ์ เคาะอุ้มเบนซินต่อ ดึงเงินกองทุนโปะเพิ่ม 1 บ. แทนภาษีสรรพสามิต

นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) โดยมี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เห็นชอบการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าพยุงราคากลุ่มน้ำมันเบนซิน 1 บาทต่อลิตร เริ่มวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เนื่องจากสิ้นสุดมาตรการลดการจัดเก็บภาษีกรมสรรพสามิตน้ำมันกลุ่มเบนซิน 1 บาท(7 พฤศจิกายน 2566-31 มกราคม 2567) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ประกอบกับปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังมีความผันผวน โดยราคาน้ำมันเบนซินระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 95.72 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยการดูแลราคาเป็นการปฏิบัติภารกิจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 2562 ในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนในสถานการณ์ที่ราคาพลังงานยังมีความผันผวน รายงานข่าวแจ้งว่า มาตรการลดราคากลุ่มน้ำมันเบนซิน ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน 2566-31 มกราคม 2567 ใช้กลไกลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน 1 บาทต่อลิตร จากกระทรวงการคลัง ร่วมกับเงินอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ทำให้ราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินลดลงสูงสุด 2.50 บาทต่อลิตร ประกอบด้วย ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ลดลง 2.50 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ลดลง 1 บาทต่อลิตร ขณะที่ อี20 และ อี85 ลดลง 80 สตางค์ต่อลิตร ดังนั้นเมื่อมาตรการภาษีจบลง กองทุนน้ำมันฯจะเข้าอุดหนุนส่วนต่างทั้งหมด

ที่มาภาพจาก : มติชนออนไลน์, ประชาชาติธุรกิจ

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_4403115

ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในวันที่ 26 มกราคม

ราคาน้ำมันของเมียนมาแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในหนึ่งวัน 120 จ๊าดต่อลิตรในตลาดเชื้อเพลิงในประเทศ โดยเมื่อวันที่ 25 มกราคม ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 อยู่ที่ 2,585 จ๊าดต่อลิตร น้ำมันค่าออกเทน 95 อยู่ที่ 2,720 จ๊าดต่อลิตร ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,705 จ๊าดต่อลิตร ในขณะน้ำมันค่าออกเทน 95 อยู่ที่ 2,845 จ๊าดต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซล และดีเซลพรีเมียมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2,430 จ๊าดต่อลิตร และ 2,495 จ๊าดต่อลิตร ในวันที่ 25 มกราคม เป็น 2,450 จ๊าดต่อลิตร และ 2,515 จ๊าดต่อลิตร ในวันที่ 26 มกราคม อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาที่กำหนดโดย Mean of Platts Singapore (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์กลั่นจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราคาเชื้อเพลิงในประเทศ ตามการระบุของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้า การจัดเก็บ และการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ รัฐกำลังขับเคลื่อนตลาดเพื่อลดการสูญเสียระหว่างผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้พลังงาน รวมทั้งพยายามจำหน่ายน้ำมันในราคาที่สมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/petrol-prices-indicate-sharp-rise-on-26-jan/#article-title

ราคาน้ำมันออกเทนในเมียนมาร์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในวันที่ 22 พฤศจิกายน

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันออกเทน 92 อยู่ที่ 2,150 จ๊าดต่อลิตร น้ำมันออกเทน 95 มีราคาอยู่ที่ 2,240 จ๊าดต่อลิตร หลังจากนั้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน ราคาน้ำมันออกเทน 92 และออกเทน 95 ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2,210 จ๊าดต่อลิตร และ 2,350 จ๊าดต่อลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลยังคงทรงตัวที่ 2,125 จ๊าดต่อลิตร และดีเซลพรีเมี่ยมอยู่ที่ 2,215 จ๊าดต่อลิตร ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้า การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงระบุ ดัชนีราคาน้ำมันของเมียนมาร์ถูกกำหนดโดย Mean of Platts Singapore (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์กลั่นจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราคาเชื้อเพลิงในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนภาคการจัดเก็บและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในตลาดภายในประเทศ และเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาสำหรับผู้ใช้พลังงาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/octane-prices-see-slight-increase-on-22-nov/#article-title

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ เผยเศรษฐกิจเวียดนามมีเสถียรภาพ ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลก

ดร.เหงียน จิ ฮิว นักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและการธนาคาร กล่าวว่าผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เด่นชัดที่สุด คือ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่ผู้ส่งออกน้ำมัน เวียดนามขายน้ำมันดิบและนำเข้าน้ำมันสำหรับกระบวนการผลิต ด้วยเหตุนี้เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พลังงาน นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลกที่ทวีความรุนแรงสูงขึ้น ได้ผลักดันราคาสินทรัพย์ปลอดภัย รวมไปถึงทองคำและเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนกระทบต่อเงินด่องเวียดนามให้อ่อนค่าลง โดยปัจจัยเหล่านี้เกิดความยากลำบากในการควบคุมเงินเฟ้อและการรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnamese-economy-stable-amidst-geopolitical-instability-2214122.html

‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำมันพุ่ง 15% เดือน ก.ค.

ราคาน้ำมันในเมียนมา เดือน ก.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 300 จ๊าตต่อลิตร หรือราว 15% หลังจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับทรงตัวมาแล้วในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สถานการณ์ราคาน้ำมันในเมืองมัณฑะเลย์ วันที่ 30 มิ.ย. – 30 ก.ค. พบว่าราคาน้ำมันออกเทน 92 เพิ่มขึ้นจาก 1,990 จ๊าตต่อลิตร ขึ้นมาอยู่ที่ 2,280 จ๊าตต่อลิตร ในขณะที่ราคาน้ำมันออกเทน 95 เพิ่มขึ้นจาก 2,085 จ๊าตต่อลิตร ขึ้นมาอยู่ที่ 2,395 จ๊าตต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก 1,975 จ๊าตต่อลิตร ขึ้นมาอยู่ที่ 2,360 จ๊าตต่อลิตร

ที่มา : https://www.mizzima.com/article/myanmar-petrol-prices-15-cent-july

เงินเฟ้อ ‘สปป.ลาว’ สูงทุบสถิติ ทะลุ 40.3% ในเดือนม.ค

สำนักงานสถิติของสปป.ลาวเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนม.ค. พุ่งขึ้น 40.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงสุดในรอบ 23 ปี และสิ่งนี่อาจเป็นภาวะเงินเฟ้อที่เลวร้ายที่สุดที่สปป.ลาวประสบกับวิกฤตทางการเงินในเอเชีย ปี 2540-2541 ในขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินกีบเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงค่าเงินบาทไทยและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในสปป.ลาวเพิ่มขึ้น และยังทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมากในการนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี รัฐบาลพยายามควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาสินค้าและบริการไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten26_January_y23.php

ต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงของกัมพูชาพุ่งสูง 52% ในปี 2022

ต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงกัมพูชา อาทิเช่น น้ำมันและก๊าซขยายตัวกว่าร้อยละ 52.6 ในปี 2022 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ซึ่งต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากเกิดสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 รวมถึงมาตรการจำกัดการเดินทางต่างๆ ในขณะที่ปี 2021 กัมพูชาได้นำเข้าเชื้อเพลิงอยู่ที่มูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 โดยปัจจุบันกัมพูชาพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซเพียงอย่างเดียว ยังไม่สามารถผลิตเองได้ ด้าน Suy Sem รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน กล่าวว่า ความต้องการเชื้อเพลิงในกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านตันในปี 2030 เพิ่มขึ้นจาก 2.8 ล้านตัน ในปี 2020

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501223912/cambodias-fuel-import-cost-shot-up-over-52-in-2022/