เช็คลิสต์สินค้าไทยโอกาสทองส่งออกไปCLMV

หลังจากการสถานการณ์การค้าชายแดนและผ่านแดนเริ่มคลี่คลายหลังจากสถานการณ์โควิดมีทิศทางที่ดีขึ้นและประเทศเพื่อนบ้านเริ่มเปิดด่านและมีกิจกรรมจากเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้การค้าชายแดนและผ่านแดนในปีที่ผ่านมากลับคึกคัก โดยการค้าชายแดนและผ่านแดนของปี 2565 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,790,520 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.44% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามแม้ว่าการค้าชายแดนและผ่านแดนในเดือนมกราคาละลดลงแต่สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไม่ว่าจะเป็น  น้ำยางข้น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์อื่นๆ ของรถยนต์ น้ำมันดีเซล น้ำมันสำเร็จรูปอื่นๆ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป  รถยนต์นั่ง (เครื่องสันดาปภายใน) รถปิคอัพ รถบัส และรถบรรทุก (เครื่องสันดาปภายใน) เครื่องดื่มอื่นๆ (นม UHT น้ำมะพร้าว กาแฟ) และโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดเพื่อนบ้าน แสดงให้เห็นว่าโอกาสของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ยังคงมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี  ซึ่งปัจจัยสนับสนุนการส่งออกยังคงเป็นค่าเงินบาท ซึ่งช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น   บวกกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าจำเป็นทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งสินค้าไทยยังคงได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการในตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศ CLMV และการฟื้นตัวในภาคการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า/เศรษฐกิจโลก

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/560221

สปป.ลาว เปิด ด่านค้าชายแดน12 แห่ง หนุนส่งออกผลไม้ไทยไปจีน

ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนแรก (ม.ค.) ปี 2566 ที่ 2.02 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว 4.5% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยังเป็น การหดตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2565 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัยจะหดตัว 3.0% ทั้งนี้อัตราการหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า จากผลกระทบการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทผันผวน สอดคล้องกัน ตัวเลขการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ผ่านด่านพรมแดนหนองคาย เดือนม.ค. 2566 หดตัวทั้งมูลค่าการค้าชายแดน การส่งออกและการค้าผ่านแดน ด้วยตัวเลขมูลค่าการค้าชายแดนรวม 7,149.38 ล้านบาท ลดลง 7.50% แต่ยอดส่งออกยังสูงกว่านำเข้าได้ดุลการค้า 4,156.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 91.50 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.25%

อีกทั้ง โอกาสนี้ไทยได้ขอให้ สปป.ลาว เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเปิดด่านพรมแดนที่ติดกับไทยเพิ่มอีก 12 แห่ง และช่วยอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าไทย ผ่านแดน สปป.ลาวไปยังจีน เพื่อให้คล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าผลไม้ ซึ่งกำลังเข้าสู่ช่วงฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากเร็วๆ นี้

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/559913

เงินเฟ้อ ‘สปป.ลาว’ สูงทุบสถิติ ทะลุ 40.3% ในเดือนม.ค

สำนักงานสถิติของสปป.ลาวเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนม.ค. พุ่งขึ้น 40.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงสุดในรอบ 23 ปี และสิ่งนี่อาจเป็นภาวะเงินเฟ้อที่เลวร้ายที่สุดที่สปป.ลาวประสบกับวิกฤตทางการเงินในเอเชีย ปี 2540-2541 ในขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินกีบเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงค่าเงินบาทไทยและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในสปป.ลาวเพิ่มขึ้น และยังทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมากในการนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี รัฐบาลพยายามควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาสินค้าและบริการไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten26_January_y23.php

สรท.หวังส่งออกปีนี้โต 10% อานิงสงส์จากเงินบาทอ่อน

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า  สรท.คาดการณ์การส่งออกรวมปี 2565 ทั้งปีที่ 6-8%  โดยมีปัจจัยบวกมาจากค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (PMI) เดือนมิ.ย.ของประเทศคู่ค้าสำคัญเช่น สหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น ยังทรงตัวเหนือเส้น Baseline ระหว่าง 50-60 ขณะที่จีนเริ่มฟื้นกลับมาเหนือระดับ Baseline หลังจากก่อนหน้า PMI หดตัวต่ำกว่าที่คาดสะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกิจกรรมการผลิตและเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1. ขอให้ธปท. คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อประคองให้การฟื้นตัวภาคธุรกิจยังคงดำเนินการได้ และขอให้ธนาคารพาณิชย์ เร่งออกแคมเปญเพื่อช่วยเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการส่งออกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต  เร่งสร้างโอกาสทางการในตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ เช่น CLMV รวมถึงตลาดที่มีกำลังซื้อสูง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1018581

‘บาทอ่อน’ทำสถิติใหม่ ‘กรุงศรี’ชี้สัปดาห์นี้แตะ 34.20

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-34.20 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 33.63 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างสัปดาห์แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 ปี ท่ามกลางแรงซื้อดอลลาร์เป็นวงกว้างในตลาดโลก ขณะที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งยังประเมินว่าไตรมาส 3 เป็นจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจซึ่งจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยยังคงประมาณการขยายตัวของจีดีพีปีนี้ที่ 0.7% และเพิ่มคาดการณ์ปี 2565 เป็นเติบโต 3.9% จากที่เคยคาดไว้ที่ 3.7% ขณะที่เห็นว่ามาตรการด้านการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดดอกเบี้ย

ที่มา: https://www.naewna.com/business/606601

หอการค้า จี้แก้ค่าเงินบาทแข็ง โลจิสติกส์ เจรจาการค้าให้คืบหน้า ก่อนไทยเสียหายแข่งขันไม่ได้

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าอาหารไทยขยายตัวไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งทางหอการค้าไทยเห็นว่าวิกฤตระยะสั้นที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนประเทศไทยแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งมาก ส่งผลทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง โดยมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถแข่งขันได้ควรอยู่ที่ 32 บาท นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือและการขาดแคลนคอนเทนเนอร์ในการขนส่ง การปรับค่าระวางเรือที่สูงขึ้นแบบไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และอีกปัญหาสำคัญคือการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าในขณะที่ประเทศคู่แข่งหลายประเทศได้แต้มต่อเรื่องของภาษีและมีการเข้าร่วมการเจรจาต่าง ๆ แล้ว ทั้งการทำ FTA ไทย-อียู,อังกฤษ และ CPTPP รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_45591/

ค่าเงินบาทพุ่ง กระทบผู้ค้าชายแดนนเมียวดีขาดทุนหนัก

เงินบาทของประเทศไทยมีมูลค่าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองเมียวดี ชายแดนเมียนมา – ไทยในขณะที่จัตของเมียนมากลับดิ่งค่าลงทำให้ผู้ที่ค้าขายด้วยเงินจัตต้องขาดทุนหลายแสน ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 64 ค่าเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่กองทัพประกาศภาวะฉุกเฉินในเมียนมาเมื่อสองวันก่อน ผลักดันให้ประชาชนซื้อทองคำและเงินดอลลาร์กักตุนไว้จำนวนมาก ค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นประมาณ 11% ในช่วงสองวันที่ผ่านมาซึ่งเป็นสัดส่วนที่ขาดทุน 5 ล้านจัตต่อผู้ที่ถือเงิน 100 ล้านจัต ขณะที่การค้าชายแดนเมียวดีค่าเงิน 100,000 จัตมีค่าเท่ากับ 2,310 บาท ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ราคาตัวเป็น 2,210 บาท อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 45.24 จัตต่อบาทในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 64 ซึ่งจะมีผลดีต่อผู้ส่งออกส่วนการนำเข้าจะได้รับผลกระทบพอสมควร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myawady-see-rise-in-thai-baht-value-kyat-holders-suffer-losses

เงินบาทไทยแข็งค่ารั้งอันดับ 2 รองจากรูเปียห์อินโดนีเซีย

ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ เคลื่อนไหวที่ระดับ 31.70-32.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เกาะติดปัญหาความขัดแย้งสหรัฐฯ-จีน การประชุมอีซีบี ระบุเดือนพ.ค.บาทไทยแข็งค่ารั้งอันดับ 2 ในภูมิภาค  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้าคาดว่าเคลื่อนไหวที่ระดับ 31.70-32.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแนวโน้มแข็งค่า เนื่องจากธนาคารกลางยุโรปจะออกมาตรการการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม  หลังจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นและมีแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐกดดันให้ดอลลาร์ฯอ่อนค่าลง ด้านการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาค.พบว่า รูเปียห์-อินโดนีเซียแข็ง 1.86 % บาท-ไทยแข็งค่า 1.72% เยน-ญี่ปุ่นทรงตัว 0%  ส่วนสกุลอื่นอ่อนค่า เช่น  ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.1 % เปโซ-ฟิลิปปินส์  0.37% รูปี-อินเดีย 0.68%  ริงกิต-มาเลเซีย 0.96 % หยวน-จีน 1.07 % วอน -เกาหลีใต้1.6%  อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินบาทผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศและในประเทศ ดังนั้นผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกควรป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขาย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/777448

บจ.อ่วมผลงาน’ทรุด’พิษศก.-เงินบาทแข็ง

ตลท. เผยบริษัทจดทะเบียนรับผลกระทบรอบด้าน เศรษฐกิจชะลอ กระทบค่าเงิน ราคาปิโตรฯ การแข่งขันรุนแรงฉุดยอดขายทรุด หนี้พุ่ง กำไรงวด 9 เดือนลดลง 15% เฉพาะไตรมาส 2 ร่วงไปกว่า 18% โดยนายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงาน ผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลักทรัพย์จดทะเบียนจำนวน 693 หลักทรัพย์ หรือคิดเป็น 97.1% จากทั้งหมด 714 หลักทรัพย์ นำส่งผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2562  มียอดขายรวม 8,623,725 ล้านบาท ลดลง 1.3% มีกำไรจากการดำเนินงานหลัก 660,734 ล้านบาท ลดลง 24.6% มีกำไรสุทธิ 645,647 ล้านบาท ลดลง 15.4% จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งหมวดธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานเติบโตได้ดี คือ หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์  จากการขยายสินเชื่อส่วนบุคคล, หมวดอาหารและเครื่องดื่มจากกลุ่ม อาหารสด เครื่องดื่ม และการขยายตลาดไปกลุ่มประเทศ CLMV รวมถึง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งยอดขายและกำไรสุทธิปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 พ.ย. 2562

ภาคเอกชนวอนคลัง-แบงก์ชาติช่วยดูแลค่าบาทด่วน

ประธานสมาคมธนาคารไทยเปิดเผยว่า กกร.ยังมีความกังวลต่อเรื่องเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปอีกหากธนาคารกลางสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ยิ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถการแข่งขันภาคการส่งออกและการลงทุนของไทย จึงอยากให้ภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทยหารือและออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าโดยด่วน ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าวว่าตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่า 10% เมื่อเทียบกับจีนและแข็งค่ามากถึง 14% เมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ ซึ่งจะส่งผลกระทบชัดเจนเรื่องการเข้ามาลงทุนในไทย และเรื่องค่าบาทแข็งยังกระทบกับส่งออกและการท่องเที่ยวอีกด้วย โดยธปท.และกระทรวงการคลังต้องหารือกัน เช่น อาจมีเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือสนับสนุนนำนักลงทุนไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น มาตรการป้องปรามการเก็งกำไร หรือช่วยเรื่องวงเงินพันธบัตรก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้ และต้องผลักดันให้ออกเร็วขึ้น อีกทั้งประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่าสิ่งที่ภาคเอกชนต้องช่วยตัวเองคือเสนอราคาให้เป็นเงินบาทในการค้าขายสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ประเทศในเอเชียตอนใต้หรือออสเตรเลีย เพื่อลดความเสี่ยงจากค่าเงินผันผวน และต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนมาตรการใดก็ได้ในช่วงบาทแข็ง เช่น การนำเข้าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต เป็นต้น

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/729696