‘PMI’ ภาคการผลิตเวียดนามลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

เอสแอนด์พี โกลบอล เวียดนาม (S&P Global Vietnam) รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ลดลงสู่ระดับ 49.9 ในเดือน มี.ค. จากระดับ 50.4 ในเดือน ก.พ. แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การผลิตของธุรกิจมีแนวโน้มที่จะคงที่หรือไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าที่มีการเติบโตดีขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่อผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่ลดลง

ทั้งนี้ นาย Andrew Harker ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของ S&P Global Market Intelligence กล่าวว่าการเติบโตของภาคการผลิตเวียดนามได้หยุดชะงักในเดือน มี.ค. เนื่องมาจากความต้องการหรืออุปสงค์ที่ชะลอตัวลง ทำให้ยอดคำสั่งซื้อและการผลิตใหม่เกิดหยุดชะงัก รวมถึงอุปสงค์ที่ยังอ่อนแอ สะท้อนให้เห็นจากดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อของต้นทุนวัตถุดิบ และราคาสินค้าที่ลดลง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1653138/production-dips-for-first-time-in-three-months-pmi.html

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้เศรษฐกิจเวียดนามโตตามคาด

ผู้เชี่ยวชาญ เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสแรกของปี 2567 จะขยายตัว 5.5% เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ธนาคารยูโอบี (ประเทศสิงคโปร์) ประเมินตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวไปในทิศทางที่เป็นบวก โดยการส่งออกของเวียดนามขยายตัวและภาคอุตสาหกรรม 17.6% และ 5.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม อยู่ในทิศทางที่เป็นบวก เนื่องจากดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ในช่วงเดือน ม.ค. และ ก.พ. บ่งชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสากรรมแข็งแกร่ง แม้ว่าจะฟื้นตัวเล็กน้อย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-economy-proceeding-as-predicted-experts/283125.vnp

‘S&P Global’ เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเวียดนาม ขยายตัวต่อเนื่อง

เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 50.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 50.3 ในเดือน ม.ค. และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 50.0 นับเป็นการเติบโต 2 เดือนติดต่อกัน และจากรายงานแสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่างๆ ยังคงลดต้นทุนด้านการจัดซื้ออย่างต่อเนื่องและหันมาใช้สินค้าคงคลัง เพื่อรองรับกับผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อแทน ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต่างๆ ปรับขึ้นราคาสินค้า เนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นสองเดือนติดต่อกัน โดยกลุ่มตัวอย่างบางรายได้รับคำสั่งซื้อใหม่จากต่างประเทศมากขึ้น แต่ว่าอัตราของคำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651266/manufacturing-sector-continues-to-grow-business-sentiment-at-one-year-high-pmi.html

‘S&P Global’ เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตของเวียดนามฟื้นตัวรอบ 5 เดือน

เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำระดับโลก รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม เดือน ม.ค.67 อยู่ที่ระดับ 50.3 จาก 48.9 ในเดือน ธ.ค.66 แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของเวียดนามฟื้นตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยสาเหตุที่กลับมาฟื้นตัวมาจากยอดคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ นาย Gabor Fluit ประธานหอการค้ายุโรปในเวียดนาม กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนามไปในทิศทางเชิงบวก และเพื่อรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เวียดนามจำเป็นที่จะต้องมุ่งไปที่การส่งเสริมนวัตกรรม การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับตลาดส่งออกหลักของประเทศ และยกระดับมูลค่าการส่งออก ในขณะเดียวกัน ดร. เลยวีบิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ Economica Vietnam มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ดี สังเกตได้มาจากเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลักที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของสินค้าและบริการเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sp-global-vietnams-pmi-rebounds-after-five-months/279506.vnp

‘S&P Global’ เผยดัชนี PMI ของเวียดนามลดลงสู่ระดับต่ำสุดรอบ 5 เดือน

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ‘S&P Global’ เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม เดือน พ.ค. ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน สู่ระดับ 47.3 จากระดับ 49.6 ในเดือน ต.ค. โดยสาเหตุที่ภาคการผลิตเวียดนามปรับตัวลดลง เนื่องมาจากผู้ผลิตเวียดนามเผชิญกับคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงในเดือน พ.ค. รวมถึงอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอลงและสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันธุรกิจเผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้ธุรกิจต่างๆ ปรับขึ้นราคาสินค้าเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ด้วยเหตุนี้ ภาคธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องลดขนาดการผลิต การจ้างงาน การจัดซื้อ ตลอดจนจำกัดปริมาณสินค้าคงคลัง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-pmi-drops-to-lowest-level-in-five-months-sp-global-post1062915.vov

‘S&P Global’ เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเวียดนาม ปรับตัวลดลงเล็กน้อย มียอดคำสั่งซื้อใหม่ เดือน ก.ย.

รายงานของ S&P Global ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม เดือน ก.ย.66 อยู่ที่ระดับ 49.7 จากระดับ 50.5 ในเดือน ส.ค.66 ได้ส่งสัญญาถึงภาวะถดถอยทางธุรกิจแก่ภาคอุตสาหกรรมในเวียดนาม ถึงแม้ว่ายอดคำสั่งซื้อใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่สองติดต่อกัน อย่างไรก็ดี จากข้อมูลพื้นฐานแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมทางการตลาดมีความแข็งแกร่งและความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้น แต่หากพิจารณาในภาพรวมยังเผชิญกับอุปสรรคหลากประการ ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อสูง ผลผลิตและการจ้างงานลดลง ต้นทุนวัตถุดิบและราคาผลผลิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1594585/viet-nam-records-21-68-billion-trade-surplus-in-nine-months.html

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของเวียดนามเดือน มี.ค. กลับมาลดลง

ผลการสำรวจของ S&P Global รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ลดลงสู่ระดับ 47.7 ในเดือนมีนาคม จากระดับ 51.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนียังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ส่งสัญญาแนวโน้มปรับตัวลดลง ทั้งนี้ คำสั่งซื้อใหม่ลดลงเป็นครั้งที่ 4 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลมาจากอุปสงค์ที่ค่อนข้างอ่อนแอ ขณะที่ธุรกิจใหม่จากตลาดต่างประเทศลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่าท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงในไตรมาสแรก ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นเริ่มชะลอตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี ดัชนีที่กลับมาลดลงในเดือนมีนาคม หวังว่าจะเป็นเพียงปัญหาชั่วคราว เนื่องจากบริษัทต่างๆ ยังมีความมั่นใจแรงอุปสงค์และสภาวะตลาดที่มีเสถียรภาพในปีหน้า

ที่มา : https://english.news.cn/20230403/d5edf52a2f1140bc86fa87b826e3073b/c.html

เปิดหน้าต่างบานใหม่ของการส่งออกไทยในยามเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

โดย วิชาญ กุลาตี, ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

การส่งออกสินค้าไทยหดตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอลง

การส่งออกสินค้าที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเริ่มหดตัวตามอุปสงค์โลกที่ชะลอลง ในระยะต่อไปการส่งออกไทยดูไม่สดใสนัก สะท้อนจากดัชนี Global Manufacturing PMI ในเดือนมกราคมที่ยังหดตัว กอปรกับยอดคำสั่งซื้อใหม่และยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ การส่งออกไทยจะเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าโลก เช่น การเริ่มใช้ภาษี Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) และกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป รวมถึงการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของอินเดียที่จะส่งผลต่อสินค้าส่งออกไทยหลายชนิด โดย SCB EIC คาดว่าการส่งออกสินค้าไทยจะขยายตัวได้เพียง 1.2% ในปี 2023 (ตัวเลขในระบบดุลการชำระเงิน)

 

ท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาสสำหรับการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดตะวันออกกลาง CLMV และลาตินอเมริกา

ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวชะลอลงเป็น 1.7% ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลก และการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าโลกที่กำลังเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกไทย ภาคเอกชนและภาครัฐจึงจำเป็นต้องหาตลาดส่งออกใหม่ SCB EIC ประเมินว่า มีตลาดสามแห่งที่มีศักยภาพน่าจับตา ได้แก่ ตลาดตะวันออกกลางที่อาจได้รับอานิสงส์จากการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย ตลาด CLMV ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตดีและได้รับการผลักดันจากหน่วยงานภาครัฐ และตลาดลาตินอเมริกาที่เป็นตลาดส่งออกเป้าหมายใหม่ในเชิงนโยบายของไทย

 

ตลาด CLMV

SCB EIC ประเมินว่า การส่งออกจากไทยไป CLMV จะขยายตัวได้ในช่วง 6-8% ในปี 2023 โดยมีแนวโน้มที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลางตามเศรษฐกิจ CLMV ที่จะเติบโตได้สูงกว่าเศรษฐกิจโลก อีกทั้ง ไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน รวมถึงตลาดนี้ยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐต่อเนื่อง

อ่านต่อ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/trade-140223

ผลสำรวจดัชนี ‘PMI’ ภาคการผลิตเวียดนามธ.ค. 65 หดตัว

ผลสำรวจของ S&P Global รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ปรับตัวลงสู่ระดับ 46.4 ในเดือนธันวาคม 2565 จากระดับ 47.7 ในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนให้เห็นว่าสัญญาภาคการผลิตของเวียดนามมีแนวโน้มแย่ลง ซึ่งเป็นการหดตัวสองเดือนติดต่อกันและอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนธันวาคม 2565 ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศทยอยปรับลดลง โดยกิจการต่างๆ ได้ลดการจ้างงานและชะลอคำสั่งซื้อ ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-manufacturing-pmi-falls-in-december-2022-post994561.vov

ดัชนี PMI ภาคการผลิตเวียดนาม ต่ำสุดรอบ 13 เดือน

ตามรายงานของ S&P Global เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับ 50.6 จุด ลดลงจากระดับ 52.5 จุด ในเดือน ก.ย. ถึงแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่เหนือระดับ 50.0 จุด แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ไม่มีเปลี่ยนแปลงและเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือนที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนี PMI ในเดือน ต.ค. ชะลอตัวนั้นเป็นผลมาจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในเวียดนาม ทั้งด้านคำสั่งซื้อใหม่และการส่งออก ตลอดจนความกังวลต่อภาวะอุปสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไรนัก โดยราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การสต็อกสินค้าที่สั่งซื้อและสินค้าสำเร็จรูปลดลงในเดือน ต.ค.

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/pmi-growth-at-13-month-low/