‘S&P Global’ เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเวียดนาม ขยายตัวต่อเนื่อง

เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 50.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 50.3 ในเดือน ม.ค. และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 50.0 นับเป็นการเติบโต 2 เดือนติดต่อกัน และจากรายงานแสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่างๆ ยังคงลดต้นทุนด้านการจัดซื้ออย่างต่อเนื่องและหันมาใช้สินค้าคงคลัง เพื่อรองรับกับผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อแทน ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต่างๆ ปรับขึ้นราคาสินค้า เนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นสองเดือนติดต่อกัน โดยกลุ่มตัวอย่างบางรายได้รับคำสั่งซื้อใหม่จากต่างประเทศมากขึ้น แต่ว่าอัตราของคำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651266/manufacturing-sector-continues-to-grow-business-sentiment-at-one-year-high-pmi.html

‘GDP เวียดนาม’ ปี 67 โต 6.5% เหตุส่งออกฟื้นตัว

วินาแคปปิตอล กรุ๊ป (VinaCapital Group) บริษัทจัดการกองทุนเวียดนาม คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปี 2567 จะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า โดยได้แรงหนุนมาจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก และได้ตั้งข้อสังเกตว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามเป็นไปในเชิงบวก จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมที่เป็นแรงผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในปีหน้า

ทั้งนี้ สินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ในช่วงปลายปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญมาจากธุรกิจต่างๆ สั่งซื้อมากจนเกินไปในช่วงห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก เนื่องจากโควิด-19 ในปี 2564 และความคาดหวังว่ามีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังวิกฤตโควิด แต่ว่าไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้

ด้วยเหตุนี้ บริษัทสหรัฐฯ จึงต้องจัดการกับสินค้าคงคลังส่วนเกินตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังสิ้นสุดลงแล้ว แสดงให้เห็นว่ายอดคำสั่งซื้อและผลผลิตในเวียดนามจะกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-gdp-growth-to-rebound-to-65-in-2024-vinacapital/270154.vnp

ราคาข้าวสารส่งออกของเวียดนาม ปรับตัวลดลงหลังจากทำสถิติต่ำสุด

ราคาข้าวสารส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 7-8 ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังจากที่เตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยผู้ส่งออกข้าวส่วนใหญ่ตั้งฐานการผลิตอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทำให้ธุรกิจขายได้ในราคาที่สูง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘ราคาข้าวสารส่งออกเริ่มมีการปรับตัวลดลง ไม่กี่วันที่ผ่านมา เป็นผลมาจากจีนและฟิลิปปินส์ระงับการนำเข้าข้าวชั่วคราว’ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ผู้ประกอบการข้าวส่วนใหญ่ยังคงมีข้าวคงค้างสต๊อกจำนวนมาก อาทิ บริษัท Viet Hung ระบุว่าบริษัทได้ส่งออกข้าวราว 50,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของแผนที่ตั้งเป้าส่งออกทั้งปี ในขณะเดียวกัน ยังมีสินค้าคงคลังมากกว่า 10,000 ตัน ที่ต้องรอการเพาะปลูกพืชพันธุ์ฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ นอกจากนี้ เวียดนามขายข้าวได้ในระดับราคาที่สูงในตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง จีน เป็นต้น ถึงแม้ว่ากลุ่มประเทศดังกล่าวจะให้โควตาเต็มแล้วก็ตาม ขณะที่ ฟิลลิปปินส์หยุดการนำเข้าข้าวและกำลังรอคำสั่งจากรัฐบาล

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rice-export-price-begins-to-decline-following-record-high-414708.vov