รมว.แรงงานกัมพูชา วอน JICA สนับสนุนการฝึกอาชีพ หวังดัน GDP โต 7%

Heng Sour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพ ได้ร้องขอให้หน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ในกัมพูชา ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาต่อไป เพื่อเพิ่มแรงผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาเป็นถึงร้อยละ 7 โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมกับ Sanui Kazumasa ประธาน JICA ณ กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าการเสริมสร้างการฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดการลงทุนมายังกัมพูชามากขึ้น โดยเฉพาะจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญสำหรับกัมพูชาในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ถึงประมาณน้อยละ 7 ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือต่อไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในขณะที่รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ยกระดับความสัมพันธ์เป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม” ภายในปี 2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501361304/labour-minister-asks-jica-to-continue-vocational-technical-training-to-boost-cambodias-economic-growth-to-7/

คาดเงินกู้ญี่ปุ่นกระตุ้นการขยายท่าเรือสีหนุวิลล์ในกัมพูชา

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกู้ให้กับกัมพูชาเพื่อทำการขยายพื้นที่ในการจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือสีหนุวิลล์ ด้วยวงเงินกู้ยืม 306 ล้านดอลลาร์ จากญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรี ฮุนเซน คาดหวังว่าเงินกู้ข้างต้นจะช่วยให้กัมพูชาขยายและปรับปรุงท่าเรืออิสระสีหนุวิลล์ให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญในระดับภูมิภาค ซึ่งทาง Hem Vanndy รัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา และ Kamei Haruko หัวหน้าผู้แทนสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) กัมพูชา ได้ทำการลงนามร่วมกันเกี่ยวกับสัญญาเงินกู้ดังกล่าว โดยท่าเรือแห่งนี้จดทะเบียนเป็นท่าเรือน้ำลึกเชิงพาณิชย์แห่งเดียวในกัมพูชา ซึ่งมีรายได้รวม 93.2 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันท่าเรือแห่งนี้รองรับตู้คอนเทนเนอร์ 6.9 ล้านตันในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยโครงการขยายท่าเรือมีกำหนดที่จะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2025 ระยะที่ 2 และ 3 ของโครงการ จะเริ่มในปี 2028 และ 2029 ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501128516/japan-loan-boosts-sihanoukville-port-expansion/

ญี่ปุ่นทุ่มเงินกว่า 2 แสนล้านกีบ เพื่อสนับสนุนด้านวิศวกรรมศาสตร์ใน สปป.ลาว

ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสปป.ลาวได้มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างผู้แทนสำนักงานองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และและอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการวางแผนและการลงทุน ในการให้เงินสนับสนุนจำนวน 2,105 ล้านเยน (ประมาณ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 200,000 ล้านกีบ) เพื่อเป็นทุนในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องปฏิบัติการด้านวิศกรรม และพัฒนาการผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาว โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ลงนามจนถึงเดือนธันวาคม 2569 ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถผลิตวิศวกรที่ตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมของประเทศสปป.ลาว ได้

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_provides_60.php

ธนาคารโลกชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามชะลอตัว ตามอายุของประชากร

ตามรายงานภายใต้ชื่อ “เวียดนาม: การปรับตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย” ร่วมจัดจัดทำโดยธนาคารโลก (WB) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เวียดนามกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากรของสังคมผู้สูงวัยไปก่อนหน้าของการยกระดับเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัวที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการเกิดที่ลดลงและอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุอาจมีสัดส่วนของประชากร 10-20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2578 ในขณะที่ด้านการใช้จ่ายของสังคมสูงวัย จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.4-4.6% ของ GDP นอกจากนี้ เวียดนามจำเป็นต้องหาแนวทางจัดการกับสังคมผู้สูงวัย โดยอิงจากบทเรียนของประเทศอื่นที่เคยประสบปัญหากับการเปลี่ยนแปลงของประชากร โดยเฉพาะญี่ปุ่น ตลอดจนปรับปรุงกำลังแรงงานและดำเนินตามนโยบาย 4 ด้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเติบโตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ตลาดแรงงาน เงินบำนาญ สุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1052936/viet-nams-economy-to-slow-as-population-ages-wb-report.html

7 เดือนของปีงบ 63-64 ยอดส่งออกไปญี่ปุ่น พุ่ง 582 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-เม.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 อยู่ที่ 582.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าเพียง 231.87 ล้านดอลาสร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ มูลค่าการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ในปีงบประมาณ 62-63 อยู่ที่ 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 61-62 อยู่ที่ 1.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 60-61 อยู่ที่ 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 59-60 อยู่ที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปีงบประมาณ 58-59 อยู่ที่ 1.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ขณะที่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้เสนอเงินกู้ ODA เพื่อนำไปพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://gnlm.com.mm/exports-to-japan-cross-582-mln-in-seven-months/

โครงการก่อสร้างถนนสายพระตะบองเชื่อมบันทายมีชัยของกัมพูชาใกล้แล้วเสร็จ

โครงการก่อสร้างส่วนถนนสายพระตะบองเชื่อมบันทายมีชัยความยาว 87 กิโลเมตรใกล้แล้วเสร็จ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงถนนแห่งชาติหมายเลข 5 ที่มีความยาวรวม 366 กิโลเมตร เชื่อมเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ผ่านจังหวัดกัมปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และจังหวัดบันทายมีชัย โดยข้อมูลล่าสุดรายงานโดยองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศกัมพูชา ได้กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างถนนสายใหม่ซึ่งแล้วเสร็จไปแล้วประมาณร้อยละ 50 ซึ่งถนนแห่งชาติหมายเลข 5 สร้างขึ้นด้วยทุนสนับสนุนของญี่ปุ่นมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จถนนเส้นนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงอาเซียนที่เชื่อมระหว่างกัมพูชา ไทยและเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50887824/battambang-banteay-meanchey-road-construction-project-nears-completion/

MADB จับมือ JICA ปล่อยกู้ 500 ล้านจัตให้เกษตรกรมัณฑะเลย์

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา ธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) สาขามัณฑะเลย์ ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ปล่อยเงินกู้ประมาณ 500 จัตล้านให้แก่เกษตรกรจาก 9 เมืองในเขตมัณฑะเลย์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปซื้อเครื่องจักรการเกษตรที่ทันสมัย ผู้จัดการ สามารถเพิ่มผลผลิตการทำฟาร์มได้โดยการเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรแบบอุตสาหกรรมส่งผลให้มาตรฐานดีขึ้นต้นทุนต่ำลงและคนมีงานทำมากขึ้น รายงานล่าสุดระบุว่า JICA มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมา ซึ่งได้ลงนามข้อตกลงกับกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานเพื่อร่วมมือในโครงการห่วงโซ่คุณค่าพืชผลทางการเกษตรที่ครอบคลุมผลผลิต เช่น ผักขม ฟักทอง มะเขือเทศ แครอท และบรอกโคลี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/k500-million-loans-granted-mandalay-farmers.html

เมียนมาจับมืออินเดียร่วมผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19

เมียนมาอยู่ระหว่างการหารือเพื่อซื้อและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19 ร่วมกับบริษัทยาของอินเดียในประเทศ จากการหารือระหว่างนาย Saurabh Kumar เอกอัครราชทูตอินเดียประจำเมียนมาและกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา (MOHS) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 63 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีตัวเลือกผลิตวัคซีน 13 ชนิด แต่กำลังพิจารณาผลิตวัคซีนบางชนิดในประเทศโดยร่วมมือกับอินเดียและร่วมมือกันจัดตั้งหน่วยงานด้านเภสัชกรรมในการผลิตยา ปัจจุบันอินเดียมีการลงทุนมูลค่า 773 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 35 ภาคธุรกิจในเมียนมา ซึ่งเมียนมากำลังสร้างสภาพแวดล้อมการลงทุนที่น่าดึงดูดและยืดหยุ่นเพื่อต้อนรับนักลงทุนจากอินเดีย ขณะนี้กำลังขอทุนจากธนาคารโลก, ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย, สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เกือบ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อผลิตวัคซีน ในปีงบ 63-64 แต่ละกระทรวงอาจถูกขอให้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งใหม่เพื่อจ่ายค่าวัคซีนหากจำเป็น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกระทรวงต่างๆ ได้รับการร้องขอให้จัดสรรงบประมาณอีก 10% ให้กับแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID-19 ทั้งนี้ MOHS กำลังหารือกับจีนและรัสเซียเพื่อขอรับวัคซีนเพิ่มเติม เมียนมาคาดว่าจะสามารถใช้ฉีดวัคซีนได้ในเดือนเมษายน 64 ประมาณ 20% จากจำนวนประชากร 54.4 ล้านคน ภายในสิ้นปีหน้าคาดว่า 40% ของจำนวนประชากรจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และจะต้องได้รับการรับรองจาก WHO

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-talks-india-buy-make-covid-19-vaccines.html

World Bank ชี้ ธุรกิจครอบครัวเมียนมายังน่าเป็นห่วง

จากรายงานของธนาคารโลกกว่าร้อยละ 85 ของธุรกิจครอบครัวและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมียนมายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากพิษของ COVID-19 ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจาก COVID-19 Monitoring Platform โดยธนาคารโลกของเมียนมาในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมซึ่งได้สำรวจธุรกิจประมาณ 500 แห่งจาก 12 ภาคส่วนใน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตย่างกุ้งเ ขตมัณฑะเลย์ และรัฐชิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต บริการ และภาคอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรมและการค้า จากการสำรวจร้อยละ 85 มองว่าธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว ในความเป็นจริงความเสียหายได้เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยร้อยละ 81 เห็นว่ารุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 69 ในเดือนมีนาคม ซึ่งธุรกิจในย่างกุ้งจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลได้รวบรวมกองทุน COVID-19 มูลค่า 1 แสนล้านจัต เพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 12 เดือนให้กับธุรกิจ SMEs จำนวน 3,000 ถึง 4000 รายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองทุนเงินกู้นี้มาจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) จำนวนเงิน 15,000 ล้านเยน (190 พันล้านจัต) ภายใต้โครงการเงินกู้ฉุกเฉินสองขั้นตอนกับ Myanma Economic Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ขณะนี้กองทุนเงินกู้ชุดที่สามได้รับการอนุมัติและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐฉาน รัฐคายาห์ และเขตทานินธารี เงินกู้จำนวน 500 ล้านจัตจะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้โดยจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอกชน 11 แห่งซึ่งกู้ยืมจาก Myanma Economic Bank ในระยะเวลาเงินกู้ 5 ปีและอัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-recovery-sight-myanmar-family-businesses-world-bank.html

JICA ปล่อยเงินกู้ให้เมียนมา 280 ล้านดอลลาร์เพื่อสู้กับวิกฤติ COVID-19

รัฐบาลเมียนมาและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้มูลค่า 30 พันล้านเยน (280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเนปยีดอเมื่อวันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) และนโยบายที่เกี่ยวข้องสำหรับการลงทุนและการส่งเสริมการค้ารวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน ซึ่งตามแผน CERP คาดว่าจะมีการกู้เงินมาเพื่อใช้ตามแผนมูลค่ารวม 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนี้ถือเป็นมาตรการที่สองของ JICA ซึ่งในเดือนมิถุนายน 63 ที่ผ่านมาได้เปิดตัวโครงการจัดหาเงินทุนสำหรับ SME มูลค่า 5,000 ล้านเยน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหภาพยุโรปและเมียนมาได้ลงนามข้อตกลงด้านการเงินเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรและโภชนาการ  โดยจะลงทุน 180 พันล้านจัตในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/jica-gives-myanmar-280m-loan-budget-support.html