World Bank มอบเงินช่วยเหลือตลาดแรงงานกัมพูชา 1.2 พันล้านดอลลาร์

ธนาคารโลก (World Bank) ระบุในรายงานล่าสุดว่าโครงการช่วยเหลือทางสังคมที่มอบเงินให้แก่กัมพูชาในการช่วยเหลือตลาดแรงงานกัมพูชาภายใต้โครงการจัดสรรเงินโอนสู่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ถือเป็นโครงการที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชา ซึ่งกรอบความช่วยเหลือนับตั้งแต่ในช่วงเดือนมิถุนายน 2020 จนถึงเดือนกันยายน 2022 คิดเป็นวงเงินรวม 1.2 พันล้านดอลลาร์ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการป้องกันเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมถึงข้อจำกัดการเดินทาง ข้อจำกัดการรวมตัวของคนจำนวนมาก และการปิดเมืองอย่างเข้มงวด แม้ว่าวิธีดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส แต่ก็ส่งผลทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก ด้านธนาคารโลกยังกล่าวอีกว่า การสนับสนุนทางการเงินแก่คนงานที่ถูกเลิกจ้างยังช่วยในตลาดแรงงานของกัมพูชา ซึ่งได้รับผลกระทบจากการส่งออกสินค้าที่ซบเซา งานในภาคการผลิต (ข้อมูลทางการ) ลดลงจาก 1.05 ล้านตำแหน่ง ในเดือนกรกฎาคม 2022 เหลือเพียง 1.0 ล้านตำแหน่ง ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2023 ก่อนที่จะฟื้นตัวบางส่วนเป็น 1.02 ล้านตำแหน่งในเดือนสิงหาคม 2023 ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อตลาดแรงในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501478392/covid-19-cash-assistance-of-1-2b-helped-labour-market/

World Bank วิเคราะห์เศรษฐกิจ สปป.ลาว ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

World Bank หรือธนาคารโลก คาดการณ์เศรษฐกิจ สปป.ลาว จะเติบโตที่ร้อยละ 4.1 ในปี 2567 แต่ความท้าทายจะยังคงมีอยู่ จากผลของอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น หนี้ต่างประเทศที่สูง และขาดแคลนแรงงาน การขยายตัวทางเศรษฐกิจ สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยว บริการขนส่งและโลจิสติกส์ และการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการเติบโตต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า ตามข้อมูลของธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการบริโภคและธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือนในด้านอาหาร การศึกษา และสุขภาพลดลง อัตราเงินเฟ้อยังทำให้เงินออมลดลง ส่งผลให้หลายครอบครัวเสี่ยงต่อการตกอยู่ในความยากจน “แม้ว่าราคาสินค้านำเข้าบางชนิดในตลาดโลกจะลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อของลาวยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสูงถึงร้อยละ 26 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของราคาอาหารอยู่ที่ร้อยละ 29 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครัวเรือนที่ยากจน” นอกจากนี้ ค่าเงินของประเทศที่อ่อนค่าลงเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉลี่ยแล้ว ค่าเงินกีบที่ลดลงร้อยละ 1 จะทำให้ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงจนกว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เงินกีบอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2566 โดยมีมูลค่าลดลงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับเงินบาท และร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจนถึงเดือนตุลาคม ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศและการไหลเข้าของรายได้จากการส่งออกที่จำกัด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจลาว

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_235Laossees_23.php

ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจกัมพูชายังคงขยายตัว แม้หลายประเทศในภูมิภาคมีแนวโน้มหดตัว

ธนาคารโลก (World Bank: WB) ระบุว่าประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงสองทศวรรษ และมีความผันผวนน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่หลังจากวิกฤตการเงินในเอเชียช่วงปี 1997-1998 ภูมิภาคนี้เริ่มมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ค่อนข้างจำกัด ส่งผลทำให้การเปลี่ยนแปลงเชิงผลิตภาพขยายตัวเพียงเล็กน้อย แม้จะเปิดกว้างสำหรับภาคการค้าและการลงทุนในภาคการผลิต ผลที่ตามมาคือ การเติบโตของผลิตภาพในเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหลายแห่งปรับตัวลดลงตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกในปี 2008-2009 ถึงอย่างไรภาคอุตสาหกรรมของทั้งกัมพูชาและเวียดนามกลับมีการเติบโตที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดย WB คาดการณ์ GDP ของกัมพูชาในปี 2023 ไว้ที่ร้อยละ 5.2

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501265854/cambodia-is-regional-exception-to-falling-trend-in-manufacturing/

“ธนาคารโลก” คาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามปี 65 โต 7.5%

ตามรายงานของธนาคารโลก (World Bank) เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2022 ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามปี 2565 ขยายตัว 7.5% ส่วนปี 2566 อยู่ที่ 6.7% สืบเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ยืดหยุ่นและการฟื้นตัวของภาคบริการ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว โดยเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 4/64 ขยายตัว 5.2% และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ที่ 3.8% ต่อปี

ทั้งนี้ นางแคโรลีน เติร์ก ผู้อำนวยการธนาคารโลกสาขาเวียดนาม เผยว่าข้อเสนอเชิงนโยบายของรายงานฉบับนี้จะช่วยลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและทำให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ คุณ Dorsati Madani ผู้ร่วมเขียน กล่าวว่าในขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามค่อนข้างคงที่ แต่ก็ไม่ใช่ทุกภาคส่วนที่อยู่ในสถานการณ์ปกติ อย่างเรื่องผลกระทบต่อแรงงานและภาคครัวเรือนในช่วงวิกฤตินั้น ประมาณ 45% รายได้ลดลงในเดือนธ.ค. 64 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตลอดจนลกระทบของการแพร่ระบาดเชื้อโรคที่ยังคงมีอยู่ในธุรกิจต่างๆ และปัญหาการขาดแคลนแรงงานอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/wb-forecasts-vietnams-economic-growth-at-75-in-2022-45747.html

เวิลด์แบงก์คาดจีดีพีไทยปีนี้ 2.9% ราคาน้ำมัน-สินค้าแพง ดันเงินเฟ้อพุ่ง 5.2%

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า เวิลด์แบงก์ออกรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับใหม่ โดยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 2.9% ซึ่งปรับลดลง 1% จากคาดเดิมเมื่อเดือนเดือนธ.ค.64 โดยไทยได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาพลังงานสูงและราคาสินค้าแพง กดดันเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นมาก และยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีนไม่ฟื้นตัวจากการปิดเมือง รวมทั้งความเสี่ยงจากโควิดที่อาจกลับมาระบาดได้อีกครั้ง ส่วนปัจจัยสนับสนุนเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะกลับเข้ามาได้ 6 ล้านคนในปีนี้ ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยได้พึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งจึงกระทบต่อไทย แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะได้รับแรงกระตุ้น และกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาดโควิดในไตรมาสที่ 4 ของปี 65 จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ลดลงและการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางข้ามพรมแดนของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคนในปี 65 เพิ่มขึ้นจาก 4 แสนคนในปี 64 และเพิ่มขึ้นเป็น 24 ล้านคน หรือ 60% ของระดับก่อนการระบาดภายในปี 67 จึงคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 4.3% ในปี 66 และขยายตัว 3.9% ในปี 67 ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ 5.2% ในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 14 ปี ตลอดปี 65 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.3 การส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัว 4.1% ในปี 65 ชะลอตัวลงจากผลของปี 64 ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ 18.8% สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์โลกที่ลดลงและปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลกที่ยืดเยื้อ

ที่มา : https://www.businesstoday.co/business/29/06/2022/85098/

‘เวิลด์แบงก์’ พร้อมสนับสนุนดันเวียดนามเป็นเศรษฐกิจที่มีรายได้สูง ปี 2045

มานูเอลา วี. เฟอโร รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เดินทางมาเยือนเวียดนามนับว่าเป็นวันที่ 5 (วันที่ 25 มี.ค.) ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเวียดนาม “ฟาม มินห์ จิญ” และนายนายเวือง ดิ่งห์ เหวะ ประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม โดยทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับความท้าทายของเวียดนามในการยกระดับประเทศ รวมถึงวิธีการที่จะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนเวียดนาม ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญในการมาเยือนเวียดนามในครั้งนี้ คือการจัดทำร่างแผนและแนวทางแก้ไขเพื่อให้เวียดนามบรรลุเป้าที่จะกลายมาเป็นเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงภายในปี 2045 อีกทั้ง มานูเอลา วี. เฟอโร เน้นย้ำว่าธนาคารโลกถือเป็นหุ้นส่วนพัฒนาที่สำคัญแก่ประเทศเวียดนามและเสนอโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรม เพื่อรองรับความท้าทายใหม่ๆ

ที่มา : https://vir.com.vn/wb-pleges-to-support-vietnam-to-become-high-income-economy-by-2045-92233.html

 

‘ธนาคารโลก’ จ่อมอบเงินทุน 221.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หนุนฟื้นฟูเวียดนาม เหตุโควิด-19

รัฐบาลเวียดนามและธนาคารโลก (WB) ตกลงร่วมบันทึกลงนามการจัดหาเงินทุนเป็นมูลค่า 221.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเวียดนามจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านการปฏิรูปนโยบายและเพิ่มความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยงบประมาณดังกล่าว เป็นการให้ความช่วยเหลือรูปแบบเงื่อนไขผ่อนปรน มีระยะเวลา 30 ปี และทำการปฏิรูปนโยบายเสาหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) ช่วยการฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจของเวียดนาม การลดภาะภาษีของธุรกิจและปรับปรุงมาตรการทางการเงินช่วยเหลือแก่กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น 2) สนับสนุนนโยบายการค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เร่งให้เป็นรัฐบาลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
ที่มา : http://hanoitimes.vn/world-bank-provides-us2215-million-to-support-vietnam-recovery-from-covid-19-319638.html

“เวิลด์แบงก์” คงประมาณการจีดีพีของเวียดนามปี 65 ขยายตัวเป็นบวก

Jacques Morisset หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และหัวหน้ากลุ่มโครงการของธนาคารโลกประจำเวียดนาม ประมาณการณ์ตัวเลข GDP ของเวียดนามในปี 2565 เติบโต 6%-6.5% กรณีที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ และรักษาระดับของความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ในขณะเดียวกันปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจเวียดนามในปีหน้านั้น ยังคงเป็นปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มีการกลายพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นที่มีผลต่อเศรษฐกิจ สังเกตได้จากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และอีกปัจจัยหนึ่งคือเรื่องของเงินเฟ้อ โดยได้ตั้งเข้าสังเกตไว้ว่าเศรษฐกิจชุมชนกำลังเผชิญกับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าอุปทาน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนในการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1) เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นไปที่การกระจายห่วงโซ่อุปทาน 2) เวียดนามสามารถใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์จากเศรษฐกิจสีเขียว และ 3) อุปสงค์ในประเทศ จำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มสูงขึ้น
ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/wb-remains-positive-on-vietnamese-gdp-growth-target-for-next-year-post914137.vov

‘เวิลด์แบงก์’ ชี้เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัว หลังคลายล็อกดาวน์

Dorsati Madani นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวจากการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจหลายประการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เศรษฐกิจเวียดนามก็ได้รับข้อพิสูจน์แล้วว่าเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นและมีพลวัต ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และการที่วัคซีนมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมาตรการเยียวยาทางการเงินเพื่อช่วยเหลือธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์หวังว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคตข้างหน้า อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีนและสหภาพยุโรป เป็นต้น

ที่มา : http://baobinhduong.vn/en/vietnam-s-economy-will-recover-after-lockdown-is-lifted-wb-economist-a256151.html

 

‘เวิลด์แบงก์’ หั่นคาดการณ์ GDP เวียดนามปี 64 เหลือโต 4.8%

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของเวียดนามในปี 64 ลงเหลือ 4.8% เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 “เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หรือขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดจนการเปิดตัวใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและมาตรกาช่รวยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ” ทั้งนี้ ในเดือนธ.ค. ธนาคารคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ 6.8% แต่ปัจจุบัน ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า 365,000 ราย ตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย. ทำให้ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจ ขณะที่ในเดือนก.ค. ยอดค้าปลีกลดลง 19.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ, ดุลการค้าขาดดุลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนต่างชาติได้แสดงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างชัดเจน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/world-bank-cuts-vietnam-gdp-growth-projection-to-4-8-pct-4345936.html