‘IMF’ ชี้เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวแรง เหตุได้แรงหนุนจากมาตรการส่งเสริมของภาครัฐ

จากการหารือในประเด็น 2024 Article IV ระหว่างวันที่ 12-26 มิ.ย. นำโดยนาย Paulo Medas นักวิเคราะห์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หลังจากเผชิญกับอุปสรรคในปลายปี 2565 และต้นปี 2566

และจากการสัมภาษณ์ล่าสุดของเจ้าหน้าที่ เปิดเผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวได้ดีตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรก ขยายตัว 6.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนมาจากการส่งเสริมของภาครัฐ และธนาคารแห่งชาติเวียดนาม (SBV) ที่ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ย การขับเคลื่อนการลงทุนของรัฐบาลและค่าจ้าง

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังคงกังวลถึงความเสี่ยงที่แฝงอยู่ในภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงการอ่อนค่าของสกุลเงินและค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น บ่งชี้ให้เห็นว่าเวียดนามต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://thoibaotaichinhvietnam.vn/vietnamese-economy-recovers-rapidly-thanks-to-drastic-actions-imf-expert-154872.html

IMF คาดอัตราเงินเฟ้อกัมพูชาทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในปี 2024

IMF คาดอัตราเงินเฟ้อกัมพูชาจะยังคงทรงตัวในปีนี้ที่ร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.1 ในปี 2023 สอดคล้องกับภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิก ตามรายงานของ IMF Regional Economic Outlook ในเดือนเมษายน 2024 จากข้อมูลของ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวกว่าร้อยละ 6 ในปีนี้ และเติบโตสู่ร้อยละ 6.1 ในปี 2025 เป็นรองแค่เพียงฟิลิปปินส์ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับประเทศในโซนเอเซีย ขณะที่ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้รายงานเสริมว่าในช่วงปี 2024 การเติบโตของกัมพูชาจะถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 8.6 ในขณะที่ภาคบริการจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 และภาคการเกษตรที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 สำหรับความท้าทายต่อเศรษฐกิจกัมพูชา ได้แก่ หนี้ภาคเอกชนที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น การฟื้นตัวที่อ่อนแอจากภาคการก่อสร้าง ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง และจำนวนเที่ยวบินสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต่ำ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501483848/imf-says-cambodias-inflation-to-be-stable-at-2-3-percent-in-2024/

‘IMF’ ชี้เวียดนาม จุดหมายปลายทางของนักลงทุนต่างชาติ

จากการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นายเปาโล เมดาส หัวหน้าฝ่ายการคลังของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประจำประเทศเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดของนักลงทุนต่างชาติ จากปัจจัยหนุนทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมีเสถียรภาพ ตลอดจนตลาดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่และความพร้องทางการศึกษาของคนรุ่นใหม่

โดยจากข้อมูลของ Medas เปิดเผยว่าถึงแม้ในปัจจุบันจะเผชิญกับความไม่มั่งคงทางงภูมิรัฐศาสตร์โลก แต่เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 5.66% ในไตรมาสแรกของปีนี้ และทิศทางการส่งออกที่เติบโตดีขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามยังได้รับปัจจัยหนุนจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้นอย่างมาก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-an-enticing-destination-for-foreign-investors-imf-expert/284911.vnp

‘IMF’ เผยการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ดันโอกาสเศรษฐกิจเวียดนาม

นายกฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการแผนกเอเชียและแปซิฟิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าเศรษฐกิจของเวียดนามมีทิศทางที่จะขยายตัว 6.5% จากปัจจัยหนุนทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ จากการประเมินเศรษฐกิจในภูมิภาค คาดว่าจะขยายตัว 4.5% ปี 2567

อย่างไรก็ดี ผลการประเมินเศรษฐกิจดังกล่าวขึ้นอยู่กับพื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจอินเดียในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ความท้าทายของการดำเนินนโยบายการเงิน รัฐบาลควรให้ความสำคัญในเรื่องหนี้สาธารณะและการปรับกันชนทางการคลังให้ดีขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1654252/viet-nam-to-have-many-opportunities-from-digitalisation-green-transformation-imf.html

‘GDP เวียดนาม’ ก้าวกระโดด มูลค่าทะลุ 430 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 66

จากรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม มีมูลค่าราว 433.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 และอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย มูลค่า 1.54 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ไทย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของโลกในปีที่แล้ว คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 104.48 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยสหรัฐอเมริกายังคงมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าที่ 26.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์และวิเคราะห์เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร (CEBR) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าการจัดอันดับของขนาดเศรษฐกิจเวียดนาม มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในอนาคตข้างหน้าและคาดว่าเวียดนามจะขึ้นอันดับที่ 24 ภายในปี 2576 ด้วยขนาดเศรษฐกิจสูงถึง 1,050 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://en.baochinhphu.vn/vietnamese-gdp-size-hits-over-us430-billion-in-2023-111240312092316328.htm

‘IMF’ ชี้แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนาม ขยายตัวสูง

นายเปาโล เมดาส หัวหน้าฝ่ายการคลังของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประจำประเทศเวียดนาม ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ‘Dau Tu’ บอกถึงข้อสังเกตของทิศทางเศรษฐกิจในปีนี้ว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถส่งเสริมการบริโภคและการผลิต ขณะที่เร่งการเบิกจ่ายจากงบประมาณการลงทุนภาครัฐได้อีกด้วย และแนวโน้มชองเศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวได้ดี

ทั้งนี้ ธนาคารกลางควบคุมอัตราเงินเฟ้อของประเทศและบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยไม่สูญเสียทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันยังไม่เห็นช่องทางในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง

นอกจากนี้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 5.8% ในปี 2567 เนื่องมาจากได้แรงหนุนจากการส่งออก แต่สิ่งสำคัญที่เวียดนามต้องเร่งแก้ไขอย่างรวดเร็ว คือ ภาคอสังหาฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อตลาดตราสารหนี้ขององค์กร

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-likely-to-maintain-high-economic-growth-in-medium-term-imf-expert-2251714.html

IMF รายงานการเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชาโต 5.3% ในปี 2023

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในช่วงปี 2023 เติบโตกว่าร้อยละ 5.3 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่มาก โดยเฉพาะการเติบโตที่อ่อนแอของสหรัฐฯ ซึ่งครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 40 ของการส่งออกของกัมพูชาอีกทั้งเศรษฐกิจจีนยังคงมีความเสี่ยงในหลายด้าน นอกจากนี้ ภาวะการเงินที่ตึงตัวของสหรัฐฯ และระดับหนี้ภาคเอกชนในกัมพูชาที่สูงอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของประเทศ ภายใต้ภาวะขาดดุลทางด้านการคลัง โดยคาดว่านับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปการขาดดุลของกัมพูชาจะขาดดุลลดลง ตามความมุ่งมั่นของทางการกัมพูชาที่ได้กำหนดไว้ ภายใต้มาตรการที่กำหนดไว้อย่างอย่างครอบคลุม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501434518/cambodias-economy-projected-to-have-grown-by-5-3-in-2023-imf/

IMF ชี้การส่งออก-ท่องเที่ยว จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สปป.ลาว โต 4% ในปี 2567

IMF คาดการณ์เศรษฐกิจ สปป.ลาว ปี 2567 แนะให้เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว การลงทุนจากต่างประเทศ และการส่งออก เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจลาวที่กำลังตกต่ำกลับมาขยายตัวได้ 4% ในปี 2567 อย่างไรก็ตาม IMF แนะเพิ่มเติมเรื่องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีระดับสูงมากกว่า 25% ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เสียงสะท้อนของประชาชนท้องถิ่นของลาว ได้สะท้อนถึงกำลังซื้อที่ลดลงและความยากจนที่มีมากขึ้น จากผลของราคาสินค้าที่สูงในขณะที่ค่าจ้างเท่าเดิม อีกทั้งสินค้าส่วนใหญ่ที่ขายในตลาดท้องถิ่นล้วนแต่เป็นสินค้านำเข้า

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/imf-growth-forecast-10232023180356.html

IMF คงการคาดการณ์ GDP เวียดนามไว้ที่ 4.7% ในปีนี้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังคงคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของเวียดนามไว้ที่ร้อยละ 4.7 สำหรับในปี 2023 สำหรับระยะกลาง IMF คาดการณ์การเติบโตของ GDP เวียดนามไว้ที่ร้อยละ 5.8 และ 6.9 ในปี 2024 และ ปี 2025 ตามลำดับ ตามรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของ IMF ด้าน Shanaka Peiris หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ IMF กล่าวว่า มีสัญญาณมากมายของการฟื้นตัวในระบบเศรษฐกิจเวียดนาม ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 แต่ยังคงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับการเติบโตในปีนี้ เนื่องด้วยเวียดนามกำลังเผชิญกับความยากลำบากสำหรับภาคการส่งออก อสังหาริมทรัพย์ และการเงิน ภายใต้การฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP เวียดนามในปี 2023 ไว้ที่ร้อยละ 5.8 จากการประมาณการครั้งก่อนที่ได้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5 ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ที่มา : https://english.news.cn/20231019/cc8d98e2736a436c8f33b4fa6793c4bc/c.html

IMF คาดเศรษฐกิจเอเชียกระทบหนัก เหตุวิกฤตอสังหาจีนฉุดดีมานด์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุในบล็อกวันนี้ ว่า เศรษฐกิจจีนที่กลับมาคึกคักหลังพ้นช่วงล็อกดาวน์สมัยโควิดนั้นเสียแรงผลักดันเร็วกว่าคาด ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐก็ไม่ได้ช่วยเอเชียได้มากนัก เพราะสหรัฐโฟกัสกับภาคบริการมากกว่า

นอกจากนี้ การที่สภาวะทางการเงินในหลายประเทศทั่วโลกเข้มงวดขึ้นอาจทำให้เงินทุนไหลออกจากเอเชีย และทำให้ค่าเงินในเอเชียอ่อนค่าลงด้วย ทั้งนี้ ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) IMF คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2566 ที่ระดับ 3% ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม แต่ปรับลดการคาดการณ์ปี 2567 ลงจากเดิม 3.0% เหลือ 2.9%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/world/578513