ทุเรียนกลายเป็น ‘ผลไม้ทอง’ ส่งออกของเวียดนาม

จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 110,000 เฮคเตอร์ และผลผลิตประมาณ 850,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เพาะปลูกอยู่ในพื้นที่ราบสูงตอนกลาง คิดเป็นสัดส่วนราว 47% ของพื้นที่ทั้งหมด และสาเหตุที่ทำให้เวียดนามผลักดันการส่งออกทุเรียน เนื่องมาจากมีความได้เปรียบทางด้านการตั้งราคาขายสูงและความต้องการนำเข้าของตลาดต่างประเทศ ทำให้ทุเรียนเวียดนามกลายมาเป็นผลไม้สำคัญเมื่อเทียบกับผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุนี้พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นประมาณ 25% ต่อปี

นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติแสดงให้เห็นว่าทุเรียนของเวียดนามส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดจีน มีสัดส่วนกว่า 99% ของการส่งออกผลไม้รวม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651246/durian-emerging-as-golden-fruit-among-viet-nam-s-exports.html

‘เมียนมา’ ส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ทะลุ 4 แสนตัน

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าเมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ (Pulses) ในไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 424,187 ตัน คิดเป็นมูลค่า 333 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ทั้งนี้ จากข้อมูลทางสถิติตั้งแต่เดือน 1 เม.ย. – 30 มิ.ย.2566 เมียนมาทำการซื้อขายถั่วและถั่วพัลส์ผ่านทางเรือ ประมาณ 369,237 ตัน และผ่านทางชายแดน 54,950 ตัน อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ ระบุว่าการส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาปรับตัวลดลงในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ถั่วและถั่วพัลส์นับเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ในเมียนมา รองจากข้าว โดยมีสัดส่วน 33% ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/myanmar-exports-over-420kt-of-beans-pulses/

จีนเข้าลงทุนเพาะปลูกกล้วยบนพื้นที่กว่า 600 เฮกตาร์ ในกัมพูชา

บริษัท Dize Nong Ye Fazhan จำกัด ลงทุนเพาะปลูกกล้วยบนพื้นที่กว่า 600 เฮกตาร์ ในจังหวัดกำปงจาม รวมถึงสร้างโรงงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์เมื่อสองปีก่อน ซึ่งสร้างการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นประมาณ 1,200 ตำแหน่ง โดยปัจจุบันสวนแห่งนี้ส่งออกผลิตภัณฑ์จากกล้วยไปยังจีนปีละ 2,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่ง 1 ตู้คอนเทนเนอร์มีน้ำหนัก 20 ตัน แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากกล้วยของกัมพูชามีความต้องการในตลาดจีนค่อนข้างสูง ซึ่งปัจจุบันประชากรจีนบริโภคกล้วยอยู่ที่ 600 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อวัน และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501305728/600-hectare-banana-orchard-mirrors-chinas-

“เมียนมา” เผยผลผลิตถั่วลูกไก่น้อย ดันราคาพุ่งสูงขึ้น

ศูนย์ค้าส่งสินค้าในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 22 เม.ย. 2566 พบว่าราคาถั่วลูกไก่ (Chick Pea) ขยับเพิ่มสูงขึ้นจาก 201,000 – 206,500 จั๊ตต่อ 56.25/57.25 Viss มาอยู่ที่ราว 207,000 – 219,000 จั๊ตต่อ 56.25/57.25 Viss โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงราคาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากภายในช่วง 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ ถั่วลูกไก่เป็นพืชผลเมืองหนาวและมักจะปลูกในเดือน ต.ค. และ พ.ย. ในขณะที่ฤดูเก็บเกี่ยวเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค. จนถึงเดือน เม.ย. นอกจากนี้ เมียนมาส่วนใหญ่เพาะปลูกข้าวเปลือก ข้าวโพด ฝ้ายและถั่วชนิดต่างๆ ซึ่งกำลังการผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับสอง คือ ถั่วพัลส์และบีน มีสัดส่วน 33% ของผลผลิตทางการเกษตร และยังครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20% ของทั่วประเทศ ตลอดจนในจำนวนผลผลิตดังกล่าว ถั่วดำ ถั่วลูกไก่และถั่วเขียว มีสัดส่วนรวมกัน 72% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วทั่วประเทศ บ่งชี้ให้เห็นว่าถั่วต่างๆ เป็นหนึ่งในสินค้าหลักของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/small-supply-of-chickpeas-pushes-up-prices/#article-title

“เมียนมา” ชี้ราคาข้าวในประเทศกลับมาฟื้นตัว

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยว่าราคาข้าวที่บริโภคในประเทศส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มสูงข้นอย่างมาก และจากข้อมูล ณ วันที่ 17 มี.ค. 2566 ราคาข้าวหอม ปอว์ ซาน (Paw San) อยู่ที่ 70,000 – 85,000 วอนต่อกระสอบ อย่างไรก็ตามราคาข้าวขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของแต่ละเมือง อาทิเช่น Shwebo, Myaungmya, Dedaye, Pyapon และ Pathein เป็นต้น และเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 ราคาข้าวหอม ปอว์ ซาน ขยับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 72,000 – 90,000 วอนต่อกระสอบ และราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ เพิ่มขึ้น 500 – 4,500 วอนต่อกระสอบภายในช่วง 2 สัปดาห์ ในขณะเดียวกัน การสต็อกข้าวเก่ามีปริมาณลดลง ทำให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-prices-rebound-in-domestic-markets/#article-title

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกหัวหอม ปีงบฯ 66-67 ทะลุ 100,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาตั้งเป้าในปีงบประมาณ 2566-2567 จะส่งออกหัวหอม 100,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีแผนในการส่งออก ดังนี้ เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 จำนวน 300,000 ตัน เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 จำนวน 15,000 ตัน เดือนตุลาคมและธันวาคม  2566 จำนวน 20,000 ตัน และเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 จำนวน 35,000 ตัน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ เวียดนาม ไทย บังกลาเทศ และจีน ด้านราคาหัวหอมในประเทศจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 1,750 จัตต่อ viss จากความต้องการในประเทศลดลงทำให้ราคาตลาดดิ่งลงอย่างมาก ทั้งนี้ จากสถิติของกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน ในปีงบประมาณ 2561-2562 การเพาะปลูกหัวหอมในเมียนมาครอบคลุมพื้นที่กว่า 170,000 เอเคอร์ มีผลผลิตเฉลี่ย 3,600 viss ต่อเอเคอร์ โดยภาคมัณฑะเลย์มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 36 ของผลผลิตหัวหอมทั้งประเทศ รองลงมาคือภาคซะไกง์ ร้อยละ 32 และภาคมะกเว ร้อยละ 26

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-export-100000-tonnes-of-onions-in-fy-2023-2024/#article-title

ราคายางพาราเมียนมา พุ่งแตะ 1,300 จัตต่อปอนด์

ราคายางพาราในรัฐมอญ พุ่งแตะ 1,300 จัตต่อปอนด์ โดยที่ผ่านมาราคาเคยพุ่งไปถึง 1,600 จัตต่อปอนด์ ในเดือนกันยายน ปี 2565  เป็นผลมาจากความต้องการยางพาราและผลผลิตจากทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งผลให้ราคายางในตลาดเมียนมามีความผันผวน ซึ่งจากข้อมูลปี 2561-2562 เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกยางพารา 1.628 ล้านเอเคอร์ ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง ภาคตะนาวศรี ภาคพะโค และภาคย่างกุ้ง มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 300,000 ตันต่อปี โดยร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมดส่งออกไปยังจีน ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้จากการส่งออกยางมากกว่า 449 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-hits-k1300-per-pound-in-domestic-market/

เมียนมาส่งออกถั่วทะลุ 1 ล้านตันในช่วง 8 เดือนของปี 65

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา  8 เดือนของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน-เดือนพฤษจิกายน 2565) เมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์มากกว่า 1.05 ล้านตัน เป็นการส่งออกทางทะเล 897,499 ตันผ่านเส้นทางทะเล และทางบก153,311 ตัน จากข้อมูลของสมาคมพ่อค้าถั่ว ถั่วพัลส์ และงาของเมียนมา พบว่า การส่งออกถั่วและงาของประเทศนั้นสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกและสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์มากกว่า 249,245 ตัน มูลค่า 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถั่วเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ของเมียนมา รองจากข้าว และคิดเป็นร้อยละ 33 ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดของประเทศ ทั้งนี้ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน อินเดีย และประเทศในแถบยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-brings-in-over-826-mln-from-pulses-exports-in-eight-months/

“เวียดนาม” ยกระดับเพาะปลูกข้าวคุณภาพสูง

เมื่อวันที่ 22 ก.ย.ได้มีการประชุมเพื่อหารือทบทวนเกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตรในฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว ปี 2665 และแผนการดำเนินงานของพืชผลฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิในปี 2565-2566 ทางตอนใต้ของประเทศ โดยประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) กล่าวว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ มีปริมาณ 4.38 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.7% และ 9.89% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ และคาดว่าจะส่งออกได้ราว 6.3-6.5 ล้านตันในปีนี้ ทั้งนี้ การส่งออกข้าวของเวียดนามมุ่งไปที่ข้าวที่มีคุณภาพสูงและมีกลิ่นห่อม โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ Dai thom 8, OM 5451 และ OM 18 นอกจากนี้ ข้าวหอมมะลิ มีสัดส่วนราว 41.2% ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ปริมาณ 6.2 ล้านตันในปีที่แล้ว ขณะที่ข้าวขาวและข้าวเหนียวคุณภาพสูง คิดเป็น 37.63% และ 16.37% ตามลำดับ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-steps-up-high-quality-rice-cultivation-in-winter-spring-crop/

กัมพูชาส่งออกยางเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2022

กัมพูชาส่งออกยางแห้งจำนวน 61,839 ตัน ในช่วงไตรมาสแรก (Q1) ของปี 2022 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 98.5 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 1.3 จากมูลค่า 99.8 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของ General Directorate of Rubber ซึ่งปัจจุบันยางแห้งหนึ่งตันมีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,594 ดอลลาร์ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 42 ดอลลาร์ โดยกัมพูชาส่งออกยางแห้งไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์และจีนเป็นหลัก ในแง่ของการผลิตปัจจุบันกัมพูชาเพาะปลูกต้นยางบนพื้นที่ทั้งหมด 404,044 เฮกตาร์ ซึ่งต้นยางบนพื้นที่กว่า 310,193 เฮกตาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 77 สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501059622/cambodias-rubber-export-slightly-up-in-q1-hut-value-drops/