กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เร่งการส่งออก

ในขณะที่รัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเพิ่มการส่งออก กระทรวงพาณิชย์และสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาจึงร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงภาคการส่งออก โดยเมื่อวันที่ 20 เมษายน มีการส่งออกข้าวโพดจำนวน 12,700 ตันผ่านทาง The Myanmar Terminal – TMT (เดิมชื่อ Bo Aung Kyaw Jetty) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ในวันที่ 21 เมษายน ข้าวโพดจำนวน 6,600 ตันจะถูกส่งออกจากท่าเรือ Ahlon International Port Terminal 3 ในวันที่ 22 เมษายน ข้าวโพด 2,700 ตันจากท่าเรือ Min Htet Min และอีก 7,150 ตันจากท่าเรือเมียนมา ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/commerce-ministry-boosts-export/#article-title

เมียนมาจัดส่งข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยัง 3 ประเทศ

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยังต่างประเทศ 3 ประเทศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 จากการที่เมียนมาเร่งความพยายามในการสนับสนุนการส่งออกเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ เมียนมาจึงส่งข้าวโพด 25,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ทางเรือ (MV Manta Hatice) ผ่านท่าเรือ No 6 Sule Wharf ส่งออก 12,700 ตันถึงไทยทางเรือ (MV Tay Son 4) ผ่านทางท่าเรือ TMT และ 2,700 ตัน ทางเรือ (MV MCL 20) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM และส่งออกไปยังอินเดียทางเรือ 27,500 ตัน (MV Seiyo Harmony) ผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา 2 และ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ตามลำดับ  อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังประเทศไทยครั้งละ 5,400 ตันโดยเรือ 2 ลำ (MV MCL 8 และ MV MCL 7) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM เมื่อวันที่ 9 เมษายน และมีกำหนดส่งออกข้าวโพด 6,600 ตันไปยังฟิลิปปินส์โดยเรือ (MV. RAINBOW SYMPHONY) ผ่าน AIPT-3 วันที่ 10 เมษายน นอกจากนี้ เมียนมายังจัดส่งข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในฤดูข้าวโพดปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งมายังประเทศไทย และส่วนที่เหลือไปยังจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้าวโพดปลูกในรัฐฉาน กระฉิ่น คะยา และคะยิน รวมถึงภูมิภาคมัณฑะเลย์ สะกาย และมะเกว ซึ่งเมียนมามีฤดูข้าวโพด 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม ผลผลิตข้าวโพดของเมียนมาต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-around-80000-tonne-corn-to-3-countries/#article-title

อุปสงค์จากต่างประเทศที่ซบเซาส่งผลให้ราคาข้าวโพดลดลง

ตามข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา รายงานว่า เนื่องจากความต้องการในตลาดข้าวโพดลดลง ราคาข้าวโพดจึงขยับลงไปที่ประมาณ 1,000 จ๊าดต่อviss ในช่วงปลายเดือนมีนาคม หลังจากที่แตะ 1,200 จ๊าดต่อviss ในต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 โดยเมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยผ่านทางชายแดน และส่งออกผ่านช่องทางเดินเรือ ไปยัง จีน อินเดีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยที่ถือเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดชั้นนำของเมียนมา อนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้อัตราภาษีเป็นศูนย์ (พร้อมแบบฟอร์ม D) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคม โดยที่ประเทศไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 73 สำหรับการนำเข้าข้าวโพด เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ปลูกหากข้าวโพดนำเข้าในช่วงฤดูข้าวโพดของประเทศไทย นอกจากนี้ จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ระบุว่า เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปทั่วโลกจำนวน 934,883 ตัน ในปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยมีมูลค่ารวม 279.042 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยลงมากหากเทียบกับฤดูข้าวโพดปี 2565-2566 ที่เมียนมาส่งออกข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sluggish-foreign-demand-drives-corn-prices-down/

‘เวียดนาม’ กลายเป็นผู้นำเข้าผลผลิตทางการเกษตรรายใหญ่ที่สุดของอาร์เจนตินา

หนังสือพิมพ์ออนไลน์ชื่อดังของอาร์เจนตินา ‘Infobae’ และ ‘Acercando Naciones’ ได้อ้างข้อมูลจากตลาดสินค้าเกษตรอาร์เจนตินา พบว่าเวียดนามกลายมาเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดและผงถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดของอาร์เจนตินาในปีที่แล้ว มีปริมาณรวมสูงถึง 5.3 ล้านตัน มูลค่าราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 ซึ่งนับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่เวียดนามแซงหน้าจีนจนขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุด

นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติในปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่าอาร์เจนตินาที่เป็นผู้ส่งออกธัญพืชและผลิตภัณฑ์แปรรูปรายใหญ่ ส่งออกได้เพียง 56 ล้านตัน ลดลงเกินกว่า 37 ล้านตัน หรือประมาณ 40% เมื่อเทียบกับปี 2565 ถือเป็นผลผลิตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 สาเหตุมาจากภาวะแล้งที่รุนแรงและยืดเยื้อ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-becomes-biggest-importer-of-argentine-farm-produce/279298.vnp

‘เมียนมา’ เผยราคาข้าวโพดดิ่งลงฮวบ

ตามข้อมูลของหอการค้าและอุตสาหกรรมของเขตย่างกุ้ง เปิดเผยว่าราคาข้าวโพด (FOB) ในปัจจุบัน อยู่ที่ 270-290 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาข้าวโพดในประเทศ อยู่ที่ 1,130-1,150 จ๊าตต่อ viss ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา (MCIA) ระบุว่าเมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังตลาดจีนและไทยผ่านเส้นทางชายแดน และยังส่งออกไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ผ่านทางทะเล นอกจากนี้ ประเทศไทยอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดแบบฟอร์มดี (Form D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ.-31 ส.ค. อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุด 73% เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-prices-in-steep-decline/#article-title

‘เมียนมา’ ส่งออกข้าวโพดจากรัฐฉานไปยังจีน เดือน ต.ค. กว่า 6 หมื่นตัน

สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดแห่งเมียนมา (MCIA) ระบุว่าเมียนมาจะส่งออกข้าวโพดที่มาจากรัฐฉาน (Shan state) ไปยังตลาดจีนในเดือน ต.ค. อยู่ที่ 60,000 ตัน ผ่านการค้าข้ามพรมแดน ภายใต้โครงการเพาะปลูกฝิ่นทดแทนของรัฐบาลจีน ทั้งนี้ การค้าข้าวโพดระหว่างเมียนมาและจีนที่เป็นไปตามกฎหมาย เริ่มขึ้นเมื่อปี 2565 มีบริษัทเมียนมาจำนวนกว่า 112 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกต่างประเทศ นอกจากนี้ นายอู มิน เค็ง ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดแห่งเมียนมา กล่าวว่าข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตัน จะส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าในฤดูเพาะปลูกข้าวโพด ปี 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-export-60000-tonnes-of-corn-from-shan-state-to-china-in-oct/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาข้าวโพดในประเทศ ขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ตามข้อมูลของหอการค้าและอุตสาหกรรมในเมืองย่างกุ้ง ณ วันที่ 6 เม.ย. เปิดเผยว่าราคาข้าวโพดปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 1,200 จั๊ตต่อ viss ผู้ค้าข้าวโพดรายหนึ่งกล่าวว่าความต้องการข้าวโพดที่แข็งแกร่งและราคาข้าวโพดที่สูงขึ้นในตลาดไทย โดยตลาดไทยเป็นผู้ซื้อหลักข้าวโพดจากเมียนมาและยังได้ผลักดันราคาให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปจีนและไทยผ่านด่านพรมแดน ตลอดจนส่งออกข้าวโพดไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ผ่านทางเรืออีกด้วย นอกจากนี้ ประเทศไทยอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 31 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ 73% สำหรับการนำเข้าข้าวโพด เพื่อปกป้องสิทธิของผู้เพาะปลูกในประเทศ หากมีการนำเข้าข้าวโพดในช่วงฤดูข้าวโพดของประเทศไทย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-price-moves-slightly-up-in-domestic-market/#article-title

“เมียนมา” เผยแนวโน้มราคาข้าวโพดในประเทศปรับตัวลดลง

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งภูมิภาคย่างกุ้ง เปิดเผยข้อมูล ณ สิ้นเดือน ม.ค. พบว่าราคาข้าวโพดอยู่ในระดับทรงตัวที่ 1,300 จัตต่อ viss และได้ปรับตัวลดลงเหลืออยู่ที่ 1,200 จัตต่อ viss ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาระบุว่าในปัจจุบัน เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยผ่านชายแดน และยังส่งออกไปทางเรือไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยประเทศไทยได้รับอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 31 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ 73% สำหรับในกรณีที่มีการนำเข้าข้าวโพดในช่วงฤดูข้าวโพดของไทย นอกจากนี้ อู มิน ข่าย ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพด เมียนมา กล่าวว่าทิศทางการส่งออกข้าวโพดไปยังต่างประเทศจะเกินกว่า 2 ล้านตัน ในปี 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-price-on-downward-trend-in-domestic-market/#article-title

เดือนม.ค.66 เมียนมาส่งออกข้าวโพดทางทะเล ทะลุ 77,000 ตัน โกยเงินเข้าประเทศกว่า 23.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย เดือนมกราคม 2566 เมียนมาส่งออกข้าวโพดทางทะเลไปแล้วกว่า 77,620 ตัน คิดเป็นมูลค่า 23.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังไทย 22,130 ตัน รองลงมาคือเวียดนาม 19,490 ตัน, ฟิลิปปินส์ 16,980 ตัน, จีน 10,760 ตัน, บังคลาเทศ 8,100 ตัน, บรูไน 120 ตัน และที่เหลือส่งออกไปยังอินเดียและเนปาล แต่เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมาพบว่าลดลงถึง 70,000 ตัน ปัจจุบันการปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่อยู่ในรัฐฉาน รัฐกะฉิ่น, รัฐกะยา, รัฐกะเหรี่ยง, เขตมัณฑะเลย์, ภาคซะไกง์ และภาคมะกเว โดยมีฤดูในการเพาะปลูกถึง 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูมรสุม ส่วนผลผลิตข้าวโพดต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.6 ล้านตัน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (เดือนสิงหาคม 2565 ถึง เดือนมกราคม 2566) เมียนมาส่งออกข้าวโพดทางทะเลไปแล้วกว่า 770,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pockets-23-3-mln-from-over-77000-tonnes-of-corn-exports-in-seaborne-trade-last-month/#article-title

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกข้าวโพดกว่า 2 ล้านตัน ในฤดูกาลผลิตปี 66

สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดแห่งเมียนมา เผย ปี 2566 เมียนมามีผลผลิตข้าวโพดรวมทั่วประเทศ 3 ล้านตัน โดยมีเป้าส่งออกมากกว่า 2 ล้านตัน และเก็บไว้บริโภคภายในประเทศอีก 1 ล้านตัน ซึ่งตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ไทย จีน อินเดีย เวียดนาม ในปัจจุบันราคาข้าวโพดพุ่งสูงสุดถึง 1,280 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จากความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตัน ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังไทย และบางส่วนส่งออกไปยัง จีน อินเดีย และเวียดนาม ปัจจุบันการปลูกข้าวโพดของเมียนมาส่วนใหญ่อยู่ในรัฐฉาน รัฐกะฉิ่น รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ภาคมัณฑะเลย์ ภาคซะไกง์ และภาคมะกเว โดยมีฤดูกาลปลูกอยู่ 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูมรสุม ส่วนผลผลิตข้าวโพดต่อปีอยู่ที่ 2.5-3 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-sets-over-2-mln-tonnes-of-corn-export-target-this-season/#article-title