จำนวนธุรกรรมการชำระเงินผ่านมือถือภายในกัมพูชาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2023

ปริมาณการชำระเงินผ่านระบบมือถือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2023 ตามรายงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยในรายงานระบุเสริมว่าสถาบันบริการชำระเงิน (PSI) 33 แห่ง และสถาบันการเงินและธนาคาร (BFI) 2 แห่ง ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจการชำระเงินในปีที่แล้ว โดยมีผู้ใช้บัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ลงทะเบียนแล้วทั้งหมด 19.7 ล้านราย ซึ่งจำนวนธุรกรรมการชำระเงินผ่านมือถือทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 หรือคิดเป็นจำนวน 601.3 ล้านครั้ง ในปี 2023 โดยมีมูลค่ารวม 75.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ด้าน CheaSerey ผู้ว่าการ NBC กล่าวว่าบริการชำระเงินดิจิทัลมีส่วนช่วยยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ส่งเสริมนวัตกรรม และมอบความสะดวกสบายและความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501432035/cambodias-mobile-payments-continue-to-rise-in-2023/

‘เศรษฐีหญิงชาวเวียดนาม’ ถูกแจ้งข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง เงินกว่า 6% ของ GDP เวียดนาม

เจือง หมี ลาน (Nguyen Thi Phuong Thao) เศรษฐีหญิงชาวเวียดนามที่ร่ำรวยที่สุดในเวียดนาม และยังเป็นประธานกลุ่มบริษัท Wan Sheng Huat ซึ่งเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นในชื่อ “เจ้าสัวอสังหาริมทรัพย์” ได้ถูกรัฐบาลเวียดนามจับกุมเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว ในข้อหาฉ้อโกงหลักทรัพย์ ติดสินบน และการยักยอกทรัพย์สินของบริษัท ทั้งนี้ จากการสอบสวนครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นว่ามหาเศรษฐีหญิงชาวจีน Zhang Meilan ถูกสงสัยว่าจะบ่อนทำลายธนาคาร Saigon Commercial Bank (SCB) และยักยอกเงินของลูกค้าจำนวน 304 ล้านล้านดอง หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 6% ของ GDP เวียดนามในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้

ที่มา : https://www.world-today-news.com/vietnams-richest-woman-arrested-for-fraud-the-amount-actually-accounts-for-6-of-vietnams-gdp/

“สหรัฐฯ” คว่ำบาตรกระทรวงกลาโหมและธนาคารเมียนมา

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุในถ้อยแถลงว่ากองทัพเมียนมาได้อาศัยทรัพยากรจากต่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานของรัสเซียหลังได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร จึงหันไปซื้อและนำเข้าอาวุธ ชิ้นส่วนและยุทธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อทำการผลิตอาวุธและสนับสนุนการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของกองทัพเมียนมา โดยคาดว่าการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ มีมูลค่าอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในปี 2564 ทั้งนี้ ธนาคารการค้าต่างประเทศของเมียนมา (MFTB) และธนาคารการลงทุนและการพาณิชย์เมียนมา (MICB) โดนคว่ำบาตรเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี โฆษกกองทัพของเมียนมาไม่ได้กังวลต่อการคว่ำบาตรครั้งใหม่ และมองว่าไม่เป็นปัญหาหากมีธนาคารของรัฐเมียนมาก่อตั้งใหม่

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/us-places-sanctions-on-myanmars-defence-ministry-banks/

“ผู้เชี่ยวชาญ” ชี้เวียดนามมียอดการชำระเงินผ่านธนาคารสูงถึง 40 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน

คุณฝั่ม แอง ต๋วน (Pham Anh Tuan,) ผู้อำนวยการฝ่ายระบบการชำระเงินของธนาคารแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าการชำระเงินแบบไร้เงินสดในเวียดนามเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 สังเกตได้จากมูลค่าการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารเฉลี่ย 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนามได้ตั้งเป้าว่าบัญชีทั้งประเทศกว่าครึ่งหนึ่งของระบบการเงินจะหันมาใช้วิธีการชำระเงินแบบไร้เงินสดทั้งหมดภายในปี 2568 โดยจัดความสำคัญมาที่การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินให้ครอบคลุม เข้าถึงได้และมีความปลอดภัย เพื่อให้การชำระเงินแบบดิจิทัลเป็นรูปแบบการทำธุรกรรมที่ต้องการสำหรับทุกคน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/average-payments-via-banks-reach-40-billion-usd-a-day-insider/254892.vnp

“Deutsche Bank” เพิ่มการจัดสรรเงินทุนในเวียดนามเกือบ 2 เท่า กว่า 200 ล้านดอลล์

สำนักข่าว The Business Times รายงานว่า Deutsche Bank เพิ่มการจัดสรรเงินทุนในเวียดนามเกือบ 2 เท่า ทำให้เงินอัดฉีดรวมเป็นกว่า 200 ล้านดอลลาร์ Deutsche Bank กล่าวเมื่อวันจันทร์ (29 พ.ค.) ว่าการเพิ่มทุนจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธนาคารในเวียดนาม และช่วยให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้นสำหรับลูกค้า โดยสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากรายได้ของสาขาเอเชียแปซิฟิกของธนาคารเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเวียดนามเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญสำหรับภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ Alexander von zur Muehlen ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Deutsche Bank กล่าวว่าการลงทุนในเวียดนามครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของเราต่อการพัฒนาอย่างรวดเร็วของตลาดนี้และเส้นทางการเติบโตในระยะยาว เวียดนามเป็นตลาดเชิงกลยุทธ์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับลูกค้าของเรา การเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถรองรับแผนการขยายธุรกิจของลูกค้าในประเทศได้ดีขึ้น และเช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจเวียดนามในวงกว้าง

อีกทั้งการพัฒนาของเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก รวมถึง Adani Group ซึ่งมีรายงานว่ากำลังสำรวจความเป็นไปได้ในการลงทุนมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ ในโครงการท่าเรือและพลังงานหมุนเวียนในประเทศ

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/2023/41265/

กัมพูชาคาดญี่ปุ่นจะเป็นพันธมิตรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

ญี่ปุ่นยังคงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกัมพูชาสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต กล่าวโดย Chea Serey รองผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่น ซึ่งความร่วมมือของญี่ปุ่นมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมฟินเทค และอุตสาหกรรมการเกษตรอย่าง AgriTech ที่ยังคงมีโอกาสเติบโตจากการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันบริษัท Soramitsu จากทางญี่ปุ่น ได้ร่วมพัฒนาสกุลเงิน “Bakong” ในการให้หบริการชำระเงินดิจิทัลที่ริเริ่มโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมระหว่างธนาคารง่ายขึ้น และถือเป็นการลดการใช้เงินสด นอกเหนือจาก Soramitsu แล้ว บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งรวมถึง Nippon Express ซึ่งเป็นบริษัทด้านขนส่งและโลจิสติกส์, Oji Group บริษัทบรรจุภัณฑ์ และ บริษัทต่างๆ ยังได้ดำเนินกิจการในกัมพูชาและมีความพร้อมในการให้ความร่วมมือกับทางการในการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาให้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501298087/japan-key-partner-in-digital-economy-drive/

Credit Suisse หนี ‘Lehman Moment’ ยันเวียดนามไม่กระทบ

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าการช่วยเหลือครั้งประวัติศาสตร์ของตลาดการเงินโลกในครั้งนี้ ธนาคาร UBS กลุ่มธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ได้บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) มูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อป้องกันวิกฤตธนาคารที่จะลุกลามไปยังยุโรปและทั่วโลก โดยก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เข้ามาจัดการกับปัญหาการล่มสลายของธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) และธนาคาร Signature Bank และธนาคารรายใหญ่สหรัฐฯ บางรายต้องอัดฉีดเงิน 30 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ (FRB) ในขณะเดียวกัน นาย Michael Kokalari หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุน VinaCapital แสดงความคิดเห็นว่าการล่มสลายของธนาคาร SVB และ Signature Bank และวิกฤต Credit Suisse จะไม่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเวียดนาม และมองว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงต่อความสามารถในการทำกำไร หรือความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคารเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/credit-suisse-escapes-lehman-moment-vietnam-unaffected-post1009172.vov

การล่มสลายของแบงก์ SVB ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเวียดนาม

Michael Kokalari หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากกองทุนเพื่อการลงทุน VinaCapital กล่าวว่าการล่มสลายของธนาคารซิลิคอนวัลเลย์แบงก์ (Silicon Valley Bank: SVB) จะไม่สร้างผลกระทบต่อตลาดหุ้นและเศรษฐกิจเวียดนาม และยังไม่พบความเสี่ยงจากเหตุการณ์ข้างต้นที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการทำกำไรหรือความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคารในเวียดนาม ทั้งนี้ ธนาคารเวียดนามส่วนใหญ่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลอยู่งบแสดงฐานะการเงิน และราคาพันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง 15% ตั้งแต่กลางปี ​​2564 และอัตราผลตอบแทนพุ่งสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม อยู่ที่ราว 6% ของสินทรัพย์รวมของธนาคาร

นอกจากนี้ การล่มสลายของธนาคาร SVB ไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจเวียดนาม แม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 20% ของ GDP

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1500329/silicon-valley-bank-collapse-not-to-impact-vn-vinacapital.html

กสิกรไทย บุก เวียดนามเต็มขั้น ตั้งเป้าเป็น 1 ใน 20 ธนาคารใหญ่ที่สุด ภายในปี 2570

กสิกรไทยพร้อมขยายธุรกิจในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จอีกขั้น ด้วยการเติบโตเป็นธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ติดอยู่ใน 20 อันดับแรกในประเทศเวียดนาม หวังเป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ (Transactional Ecosystem) ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มองค์กร บริษัทขนาดกลาง กลุ่มค้าปลีก และลูกค้ารายย่อย ตั้งเป้าหมายรายได้สุทธิถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.32 หมื่นล้านบาท มียอดสินเชื่อคงค้างที่ 1.8 แสนล้านบาท และมีฐานลูกค้าเวียดนาม 8.4 ล้านรายภายในปี 2570

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/2023/27969/

“ธนาคารยูโอบี” ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP เวียดนาม ปี 65 โต 8.2%

ธนาคารยูโอบี (United Overseas Bank : UOB) ปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปีนี้ ขยายตัว 8.2% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 7% ในขณะที่ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3/65 ขยายตัว 13.7% ถือเป็นครั้งแรกที่เวียดนามมีอัตราการเติบโตที่สูงเป็นประวัติการณ์และแซงหน้าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินเดีย (13.5%) ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงสุดในเอเชีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/uob-upgrades-2022-growth-forecast-for-vietnam-to-82-post975342.vov