นักการทูตจีนเยือนกัมพูชา พร้อมดันโครงการ BRI

รัฐมนตรีต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างรัฐบาล (ICC) ครั้งที่ 7 ระหว่าง จีน-กัมพูชา ซึ่งมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่วันที่ 21-23 เมษายน นำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธานร่วมในการประชุม ซึ่งการปรากฏตัวของรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการบูรณาการทางด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน เช่นเดียวกับการยึดมั่นในพันธกรณีของจีนในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เผชิญหน้าประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501475828/top-chinese-diplomat-in-kingdom-to-push-bri-projects/

ผู้เชี่ยวชาญไทยชี้ BRI หนุนความร่วมมือ ‘อาเซียน-จีน’หลากหลาย

ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยแสดงทัศนะว่าแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีนเสริมสร้างความร่วมมือด้านกำลังการผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงไทย และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนในด้านต่างๆ เช่น การค้าและการผลิตให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวเมื่อไม่นานนี้ว่ากลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่มากมาย และมีโอกาสสำคัญที่จะร่วมมือกับจีนทั้งด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและความร่วมมือด้านกำลังการผลิต

ทั้งนี้ จีนเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญที่สุดของกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะการยกระดับทางอุตสาหกรรมและการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงของจีนส่งอิทธิพลต่อกลุ่มประเทศอาเซียนในวงกว้าง ด้านความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน ได้ส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.naewna.com/inter/763294

กัมพูชา-จีน พร้อมกระชับความสัมพันธ์ผ่านโครงการ BRI

Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา กล่าวว่า โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ได้เปิดฉากทัศน์ใหม่ สำหรับการสารสัมพันธ์ความเป็นมิตรภาพระหว่าง จีน-กัมพูชา ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเน้นไปที่การก้าวข้ามอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ด้วยการเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางและการขนส่งระหว่างประเทศสมาชิค โดยคาดว่าจะดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลา 10 ปี ซึ่งกัมพูชาถือเป็นหนึ่งในผู้ได้รับการสนับสนุนกลุ่มแรกๆ สำหรับในช่วงเริ่มของโครงการ

ด้านเอกอัครราชทูตจีนยังได้กล่าวเสริมว่าความคิดริเริ่มดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คน และเพิ่มความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในด้านกำลังการผลิต การค้า การลงทุน การเกษตร และโครงสร้างพื้นฐาน สะท้อนจากความสำเร็จของโครงการสำคัญต่างๆ อาทิเช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ ทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ เสียมราฐ สนามบินนานาชาติอังกอร์ สนามกีฬาแห่งชาติโมโรดอกเตโช และสถานีไฟฟ้าพลังน้ำเซซัน 2 ในตอนล่าง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501376482/bri-strengthens-china-cambodia-ties/

“จีน” ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของกัมพูชา

นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนปีนี้ สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) อนุมัติโครงการลงทุนไปแล้ว 191 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์ โดยจีนยังคงรักษาตำแหน่งผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชา สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ CDC อนุมัติโครงการลงทุนใหม่เพิ่มขึ้น 41 โครงการ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับเป็นเม็ดเงินลงทุนของจีนในกัมพูชามากกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาเป็นการลงทุนจากนักลงทุนในท้องถิ่นชาวกัมพูชาอยู่ที่สัดส่วนร้อยละ 12 โดยในเดือนกันยายน CDC อนุมัติโครงการใหม่ 27 โครงการด้วยเงินลงทุนรวม 1.6 พันล้านดอลลาร์ สร้างโอกาสในการจ้างานให้กับคนในท้องถิ่นมากกว่า 30,000 ตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการลงทุนเกี่ยวกับระบบการขนส่ง การผลิตไฟฟ้า ผลิตเหล็ก และภาคส่วนอื่นๆ ด้านกัมพูชากำลังเร่งจัดทำกลยุทธ์เพื่อหวังดึงดูดนักลงทุนชาวจีนผ่านการเข้าร่วมโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501373387/china-remains-largest-investor-in-cambodia/

หลังเส้นทางรถไฟสาย “สปป.ลาว-จีน” เริ่มดำเนินการ ได้ทำการขนส่งสินค้ากว่า 26.8 ล้านตัน

หลังจากเส้นทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน เริ่มดำเนินการเป็นระยะเวลารวม 22 เดือน มีการขนส่งสินค้าบนเส้นทางรถไฟปริมาณรวมมากกว่า 26.8 ล้านตัน ตามการรายงานของ China Railway Kunming Group Co., Ltd. โดยการรถไฟรายงานเสริมว่าการขนส่งสินค้าครอบคลุมสินค้ากว่า 2,700 ประเภท ซึ่งเน้นไปที่การขนส่งผักและผลไม้ ในปริมาณกว่า 83,500 ตัน มูลค่ากว่า 2.2 พันล้านหยวน (306.4 ล้านดอลลาร์) สำหรับในปีนี้ปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นปริมาณรวมกว่า 14 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยโครงการรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ถือเป็นโครงการสำคัญที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2021 โดยมีระยะทางรวม 1,035 กม. เชื่อมระหว่างคุนหมิงกับเมืองเวียงจันทน์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_ChinaLao195_23.php

นายกฯ สปป.ลาว ให้คำมั่น พร้อมร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการสนับสนุนโครงการ BRI

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (17 ก.ย.) นายกรัฐมนตรี Sonexay Siphandone ของ สปป.ลาว แสดงความพร้อมในการสนับสนุนโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) อย่างใกล้ชิด โดยได้กล่าวไว้ในระหว่างพิธีเปิดงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 20 ณ เมืองหนานหนิง เมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งกล่าวว่า สปป.ลาว พร้อมที่จะรักษาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนและสมาชิกประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน และมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามข้อริเริ่มดังกล่าว ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานของทั้งสองประเทศกำลังก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ที่เริ่มให้บริการแล้วในปัจจุบัน ส่งเสริมทั้งภาคการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว เป็นอย่างมาก

ที่มา : http://en.people.cn/n3/2023/0918/c90000-20073122.html

กัมพูชาและจีน หวังใช้ กลยุทธ์ 5 ประการ ร่วมกับยุทธศาสตร์ BRI

รัฐบาลกัมพูชา (RGC) และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) ได้ตกลงที่จะนำกลยุทธ์ 5 ประการ มาปรับใช้ ร่วมกับยุทธศาสตร์ Bridge and Road Initiative (BRI) ซึ่งเป็นแผนหลักในการกระชับความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีน โดยคำแถลงการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศ โดยคาดว่าการนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาปรับใช้จะช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและจีน ในการส่งเสริมการลงทุนและเสริมกำลังการผลิตให้แก่กัมพูชา เพื่อเปลี่ยนพระสีหนุให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีความอเนกประสงค์ เป็นต้นแบบเขตอุตสาหกรรม และเกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีในกัมพูชา สำหรับยุทธศาสตร์ทั้งสองฉบับมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ปลา ข้าว ผลไม้เมืองร้อน ผัก และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึงปุ๋ยและอาหารสัตว์ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นลำดับแรก ซึ่งการปรับยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังคาดว่าจะขยายกรอบความร่วมมือภาคพลังงานในรูปแบบต่างๆ ร่วมด้วย เพื่อการพัฒนาพลังงานสีเขียว ให้มีความยั่งยืน รวมถึงตอบสนองต่อประเทศที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501361712/cambodia-china-agree-to-adopt-pentagonal-bri-strategies/

อุปทูตจีนคนใหม่เข้าพบไทยสร้างไทย หารือเรื่องรัฐบาลใหม่ มุ่งสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ-การค้า

วันที่ 9 มิ.ย.66 Mr. Wu Zhiwu อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และคณะ ได้เข้าพบพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคฯ โดยได้หารือร่วมกันถึงประเด็นเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ความร่วมมือไทย-จีน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ และเส้นทางสายไหมทางทะเล ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือด้านอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ จากการพูดคุย คุณหญิงสุดารัตน์ให้ความเชื่อมั่นว่าพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค ตั้งเป้าหมายในการสร้างบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ โดยยึดหลักการของสหประชาชาติ มุ่งเน้นสันติภาพถาวร และประโยชน์จากทำเลที่ตั้งเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของโลก โดยหลังจากเริ่มต้นโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) เมื่อปี 2556 มี 149 ประเทศ และ 32 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม ส่งผลให้ปริมาณการค้าระหว่างจีนและประเทศบนเส้นทาง BRI มีมูลค่าสะสมถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์ มีการลงทุนโดยตรงกว่า 161.3 พันล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ จีนถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยกว่าทศวรรษ โดยในปี 2565 มีมูลค่าการค้า 105,404.29 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.53 แม้จะอยู่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม ในขณะที่การค้าระหว่างอาเซียน-จีนในปี 2564 มีมูลค่ากว่า 660,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.04

ที่มา : https://www.naewna.com/politic/736440

ปริมาณการค้าผ่าน SEZ กัมพูชา พุ่ง 38% ในช่วงครึ่งปีแรก

ปริมาณการค้าทั้งการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชา ซึ่งดำเนินการผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) มีมูลค่ากว่า 1.37 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการเติบโตในช่วงครึ่งแรกของปีนี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นหลังได้รับผลกระจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้านปลัดกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาและโฆษก Penn Sovicheat กล่าวเสริทว่า SSEZ ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญจากความร่วมมือภายใต้กรอบ Belt and Road Initiative (BRI) ซึ่งคาดว่าจะเป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมเศรษฐกิจของกัมพูชาในยุคหลังการแพร่ระบาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501115409/chinese-invested-economic-zone-in-cambodia-registers-trade-increase-of-38-pct-in-h1/

รถไฟจีน-สปป.ลาว” มองโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย

โดย Marketeer Team

รถไฟจีน-สปป.ลาว จะเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยรถไฟสายนี้เชื่อมคุนหมิงของจีนกับเวียงจันทน์ของ สปป. ลาวเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) มีระยะทาง 1,020 กิโลเมตร (แบ่งเป็นระยะทาง 598 กิโลเมตรในจีน และ 422 กิโลเมตรใน สปป. ลาว) สามารถวิ่งทำความเร็วขนส่งผู้โดยสารได้ถึง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสำหรับการบรรทุกสินค้าสามารถวิ่งได้ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยจะเน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก สะท้อนจากจำนวนขบวนขนส่งสินค้าต่อวันที่สูงกว่าขบวนขนส่งผู้โดยสาร

การค้าระหว่างไทยกับจีนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกของไทยไปยังจีนผ่านทางถนนซึ่งมีสัดส่วนราวร้อยละ 20 ของการส่งออกไปยังจีนทั้งหมด มีการขยายตัวขึ้นอย่างน่าจับตาในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ มิติใหม่ของการขนส่งด้วยรถไฟไปจีนผ่านช่องทาง จ. หนองคาย จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าไทยด้วยความสามารถในการช่วยลดระยะเวลา และต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน จึงนับว่ารถไฟที่เกิดขึ้นสายนี้เป็นเสมือนช่องทางขนส่งใหม่อีกทางที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟยังบรรจบกับเส้นทางหลักของไทยที่ใช้ขนส่งสินค้าไปยังนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ซึ่งก็คือ เส้นทาง R3A ผ่านทาง จ. เชียงราย ที่เมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สปป. ลาว ดังนั้น รถไฟสายใหม่นี้จึงน่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้าไทยผ่านช่องทางดังกล่าวขึ้นไปอีก

ทั้งนี้ ในระยะเวลาอันใกล้ รถไฟจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการส่งออกของไทยไปยังจีน ด้วยรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งจะขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนให้เร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ยูนนานจะเป็นประตูที่เปิดโอกาสสำหรับสินค้าไทยสู่จีนตะวันตก โดยเฉพาะไปยังนครเฉิงตูและนครฉงชิ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตใหม่ (New Production Hub) และรัฐบาลจีนตั้งเป้าให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจผ่านนโยบายการพัฒนาความเป็นเมือง นอกจากนี้ ยูนนานยังสามารถเชื่อมต่อกับเมืองใหญ่หลายแห่งในจีนด้วยรถไฟความเร็วสูง

ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันจีนมีเส้นทางขนส่งสินค้าทางรางไปยังเอเชียกลาง รัสเซีย และยุโรป ดังนั้น ในระยะข้างหน้า การขนส่งทางรางจะเป็นโหมดการขนส่งศักยภาพของสินค้าไทยไปยังตลาดสำคัญอย่างยุโรปซึ่งเดิมมีการขนส่งทางเรือเป็นหลักเท่านั้น และอาจจะเป็นช่องทางในการแสวงตลาดใหม่อย่างเอเชียกลางได้ในอนาคต

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/239559