กัมพูชา-เกาหลี ร่วมลงนามในข้อตกลงหวังอำนวยความสะดวกด้านแรงงานระหว่างประเทศ

กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพได้ลงนามในข้อตกลงกับหน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้การจัดหาแรงงานชาวกัมพูชาภายใต้ระบบใบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) ของเกาหลี เพื่ออำนวยความราบรื่นด้านการจ้างงานระหว่างประเทศ หลัง Heng Sour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีวศึกษา เข้าพบ Lee Woo Yong หัวหน้าหน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงการจ้างงานและแรงงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (HRDK) ในการประชุมเมื่อวันที่ 19 เม.ย. โดยเกาหลีกำลังกลายเป็นตลาดแรงงานที่น่าสนใจสำหรับแรงงานกัมพูชา ซึ่งโครงการริเริ่มใหม่นี้ร่วมกับเกาหลีจะไม่เพียงมุ่งเน้นไปที่การสรรหาบุคลากรเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างทักษะการจ้างงานของคนงานชาวกัมพูชาในอนาคตร่วมด้วย ด้านระบบใบอนุญาตการจ้างงานของเกาหลี (EPS) อนุญาตให้นายจ้างในเกาหลีที่ไม่สามารถจ้างคนในท้องถิ่น จ้างแรงงานต่างชาติได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งอุตสาหกรรมบางประเภทในเกาหลีที่กำลังเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน ได้แก่ เกษตรกรรม การประมง การก่อสร้าง และการผลิต เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476322/ministry-signs-agreement-with-korea-for-ease-of-overseas-recruitment/

‘บ.เกาหลีใต้’ เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดเวียดนาม เหตุจากการเข้ามาของทุนจีน

สำนักข่าวญี่ปุ่น นิคเคอิเอเชีย (Nikkei Asia) เผยแพร่บทความบอกเล่าถึงบริษัทเกาหลีใต้รายใหญ่ของโลกที่ทำธุรกิจในเวียดนาม เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งจากจีน ในขณะที่ตามรายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลี (KCCI) เปิดเผยว่าบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้รายใหญ่ ได้แก่ บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) และบริษัทแอลจี (LG) เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปี ส่งผลให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก และนักลงทุนเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ มูลค่า 85.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แซงสิงคโปร์และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี คู่แข่งจากจีนเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น สาเหตุมาจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม รวมถึงค่าแรงงานที่ถูกกว่า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้นทุนแรงงานจะเพิ่มขึ้นในเวียดนามเช่นกัน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/korean-firms-in-vietnam-face-growing-competition-from-china-post1087897.vov

แรงงานสัญชาติ สปป.ลาว เดินทางทำงานยังเกาหลีใต้มากขึ้น

รัฐบาล สปป.ลาว คาดส่งแรงงานไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น เพื่อทำงานในภาคเกษตรและประมง โดยหวังว่าแรงงานจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์และได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในภาคการเกษตรของเกาหลี เพื่อให้สอดคล้องกับความตั้งใจของรัฐบาลในการส่งเสริมภาคการเกษตร ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมร่วมกับจังหวัด Gyeongsangnam-do ของเกาหลี ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนแรงงานภาคเกษตร โดยสิ่งนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพและคุณภาพการผลิตทางการเกษตรใน สปป.ลาว ซึ่งทางการ สปป.ลาว ตั้งเป้าส่งแรงงาน 1,500-2,000 คน ไปทำงานยังเกาหลีในแต่ละปีภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว โดยปัจจุบันทางการ สปป.ลาว รายงานว่ามีแรงงาน สปป.ลาว เดินทางไปทำงานยังเกาหลีอย่างน้อย 2,800 คน ด้วยการทำสัญญาระยะสั้นระหว่างปี 2022-2023 จนถึงขณะนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้แรงงานตามฤดูกาลกับ 28 เมืองในเกาหลีใต้ ซึ่งแรงงานทำงานเป็นเวลา 90 วัน หรือ 5 เดือน ในภาคเกษตรกรรมและการประมง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten117_More_y23.php

เกาหลีมอบเงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาชนบทภายใน สปป.ลาว

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งเกาหลี (KOICA) มอบเงินสนับสนุนให้แก่ สปป.ลาว ในการพัฒนาชนบทมูลค่า 12.5 ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ เวียงจันทน์ เชียงขวาง และบอลิคำไซ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนผ่านโครงการสนับสนุนดังกล่าว ซึ่งกำหนดกรอบระยะเวลาในการสนับสนุนตั้งแต่ปี 2021-2025 ใน 14 หมู่บ้าน และ 7 แขวง ของแขวงเชียงขวาง บอลิคำไซ และเวียงจันทน์ โดยจุดมุ่งหมายของโครงการคือการสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการเกษตร ป่าไม้ และการพัฒนาชนบท พร้อมเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและระดับท้องถิ่นในการดำเนินการตามแผน สำหรับ KOICA ยังได้ให้การสนับสนุน สปป.ลาว ผ่านโครงการต่างๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นทางด้านสุขภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ และการเกษตร ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_SKorea69.php

FTA กัมพูชา-เกาหลี มีผลบังคับใช้ 1 ธ.ค. นี้

สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีได้ประกาศยืนยันว่าข้อตกลงการค้าเสรี กัมพูชา-เกาหลี (CKFTA) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2022 หลังเข้าร่วมพูดคุยกับกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา (MFAIC) ขณะที่ Nguon Mengtech อธิบดีหอการค้ากัมพูชา (CBC) กล่าวว่า บริษัทเอกชนภายในประเทศต่างแสดงความยินดีจากการที่ข้อตกลง CKFTA กำลังจะเริ่มมีผลบังคับใช้ เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับภาคเอกชนในการขยายการส่งออกไปยังต่างประเทศ ภายใต้ข้อตกลง CKFTA กัมพูชาคาดว่าจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากเกาหลีใต้มากกว่าร้อยละ 95 ด้าน Pen Sovicheat ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเสริมว่า CKFTA จะให้ประโยชน์เพิ่มเติม นอกเหนือจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยสินค้าสำคัญของกัมพูชาที่จะมีการส่งออก ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าทางการเกษตร, เครื่องนุ่งห่ม, สิ่งทอ, รองเท้า, และสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501162478/cambodia-korea-fta-to-come-into-force-from-december-1/

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวถึง FTA ระหว่างเกาหลี

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชากับเกาหลี (FTA) คาดจะขยายศักยภาพการส่งออกข้าวของกัมพูชาตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ที่เกิดขึ้นในการประชุมปรึกษาหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ณ กระทรวงพาณิชย์ โดยการปรึกษาหารือมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมข้อมูลจากภาคเอกชนเพื่อสร้างรากฐานสำหรับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชากับเกาหลี ซึ่งนอกจากการหารือถึงการขยายตลาดเพิ่มแล้วยังหมายถึงการสร้างการรับรู้ของข้าวที่ทำการปลูกและผลิตภายในประเทศกัมพูชาโดยเฉพาะข้าวอินทรีย์และข้าวกล้องให้เกิดการยอมรับในตลาดโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50754722/rice-federation-upbeat-about-cambodia-korea-fta/

เกาหลีสนับสนุนการพัฒนาตลาดระหว่างธนาคาร

ธนาคารแห่งชาติของกัมพูชาและเกาหลีเริ่มการสัมมนาขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการปรับปรุงตลาดระหว่างธนาคารในประเทศ โดยธนาคารกลางกำลังทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมตลาดระหว่างธนาคารของกัมพูชาโดยใช้ประสบการณ์ของประเทศเกาหลีเป็นแบบอย่างในการพัฒนา ซึ่งความร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ NBC-BOK ในปี 2019 โดยในปีนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลและธนาคารแห่งชาติกัมพูชาได้ทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับ “การพัฒนาตลาดระหว่างธนาคาร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำแก่ NBC เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน โครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มที่สามารถช่วยในการพัฒนาตลาดระหว่างธนาคาร ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและตลาดเชื่อมโยงระหว่างธนาคารที่ส่งเสริมการทำงานของตลาดที่ดีขึ้นและการใช้ทรัพยากรในระบบธนาคารให้ดีขึ้นเพื่อลดต้นทุนในการระดมทุนและบรรลุความมั่นคงด้านราคา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50658938/korea-supporting-development-of-interbank-market/

สปป.ลาว – เกาหลีเป็นพันธมิตรในระบบพลังงานสะอาด

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานระหว่างสปป.ลาว – ​​เกาหลีในหัวข้อ“ ความร่วมมือในภาคพลังงาน” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานสามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศทั้งสองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบพลังงานและอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและการบ่อแร่ กล่าวว่าได้กำหนดเป้าหมายการบัญชีพลังงานทดแทน 30 % ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 68 และมุ่งเน้นความพยายามในการทำความสะอาดระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น ขณะนี้สปป.ลาวและเกาหลีวางแผนที่จะขยายความสัมพันธ์ด้านพลังงานของพวกเขาไปยังระบบพลังงานสะอาดและอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ เช่น ระบบการกักเก็บพลังงาน สมาร์ทกริดและรถพลังงานไฟฟ้า รัฐบาลเกาหลีได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าจาก 7% เป็น 20% ภายในปี 73

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-korea-partner-clean-energy-systems-105365