เวียดนามประเมินผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท ที่มีศักยภาพในตลาดยุโรป

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่า 5 รายการสินค้าของเวียดนามที่มีศักยภาพในการเข้าตลาดยุโรป ได้แก่ อาหารทะเล ผลไม้ เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า และเครื่องแต่งกาย เป็นต้น เนื่องมาจากการลดภาษีศุลกากร โดยเป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนามกับอียู (EVFTA) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว ได้มีการลงนามในวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา นับว่าเป็นครั้งแรกที่สหภาพยุโรปได้ลงนามกับประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเชีย และทางกระทรวงฯ แนะนำให้ผู้ส่งออกเวียดนามให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยเฉพาะกฎข้อบังคับแหล่งกำเนิดสินค้า และความปลอดภัยทางด้านอาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เวียดนามเป็นคู่ค้าสำคัญของสหภาพยุโรป โดยในปี 2561 มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป อยู่ที่ 55.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/five-products-to-see-stronger-export-to-eu-ministry/157288.vnp

เวียดนามนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกา พุ่งสูงขึ้น

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการนำเข้าสินค้าของเวียดนาม 8.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หากจำแนกรายสินค้านำเข้าสำคัญของเวียดนาม ระบุว่าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 ตามมาด้วยฝ้าย มูลค่า 978 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 พลาสติก ส่วนประกอบเครื่องจักรกล อาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ในขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าเวียดนามนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523601/vn-imports-of-us-goods-shoot-up.html

หนี้สินเมียนมาพุ่ง 38,000 ล้านจัต

ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคมของปีนี้เมียนมามีหนี้รวม 38,117 พันล้านจัต รวมถึงหนี้สินต่างประเทศ 9.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 54-55 หนี้ในประเทศ 9,938 พันล้านจัตและหนี้ต่างประเทศ 6,635 พันล้านจัต ในปี 55 – 56 หนี้สินในประเทศ 10,824 ล้านจัตและต่างประเทศ 7,301 พันล้านจัต ปี 55-56 และ 12,014 พันล้านในหนี้สินในประเทศ และหนี้ต่างประเทศจำนวน 9,561 พันล้านจัต ในปี 2556-2557 มีตราสารหนี้ในประเทศ 12,487 พันล้านจัตในและต่างประเทศ 9,545 พันล้านจัต และในปี 58-59 มีหนี้สินในประเทศ 15,724 พันล้านจัต หนี้ต่างประเทศ 12,246 พันล้านจัต นับตั้งแต่รัฐบาลพรรค NLD เข้ารับตำแหน่งมีหนี้ในประเทศปี 59-60 ในประเทศ 18,020 พันล้านจัตและหนี้ต่างประเทศ 10,841 พันล้านจัต ในปีงบประมาณ 2559-2560 ตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย. ปี 62 นี้มีหนี้สินในประเทศ 22,787 พันล้านจัตส่วนต่างประเทศมี 15,330 พันล้านจัต ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการวางแผนและการคลังกำลังวางแผนเพื่อรับมือกับปัญหานี้อยู่

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-has-over-ks38000-billion-in-total-debt

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาวจะรับนักเรียนมากกว่า 8,000 คนในปีนี้

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาวในเวียงจันทน์จะรับนักศึกษาประมาณ 8,100 คนเพื่อศึกษาใน 13 คณะในปีการศึกษาถัดไป นักเรียนถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก (กลุ่ม A) ทำการทดสอบในวิชาคณิตศาสตร์ วรรณคดี ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา กลุ่มที่สอง (กลุ่ม B) ได้รับการทดสอบ วิชาวรรณคดี คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ กลุ่มที่สาม (กลุ่ม C) ได้ทำการทดสอบในวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์และวรรณคดี มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อกำหนดคำถามการสอบและอีกส่วนหนึ่งเพื่อตรวจสอบนักเรียนระหว่างการสอบ มหาวิทยาลัยยังได้จัดทำระบบออนไลน์เพื่อให้ผู้สมัครสามารถลงทะเบียนสอบผ่านกระบวนการง่ายๆ ผลการสอบเข้าจะมีการประกาศในปลายเดือนนี้ การลงทะเบียนหลักสูตรจะเริ่มในเดือนกันยายนและชั้นเรียนจะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคมปีนี้ ่ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_National.php

กระทรวงสปป.ลาวอนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้มากขึ้น

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้แก้ไขรายการผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับอนุมัติสำหรับการส่งออกเพื่อให้ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในสปป.ลาวสามารถขายสินค้าของตนได้ง่ายขึ้นในตลาดท้องถิ่นและต่างประเทศ กระทรวงฯ ได้ระบุผลิตภัณฑ์ไม้ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้ที่ปลูกผลิตภัณฑ์จากไม้ธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์หวายและไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ทำจากไม้สวนสามารถส่งออกได้ รวมถึงสินค้าที่ผ่านการแปรรูปและไม่แปรรูปตามรายการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ไม้ (หมายเลข 0939 / MoIC) ไม้กฤษณาควรส่งออกในรูปแบบของไม้บดหรือบิ่น ในขณะที่ไม้ที่ปลูกในเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ควรดำเนินการตามขนาดที่กำหนดภายใต้คำแนะนำของกระทรวงก่อนส่งออก กระทรวงแสดงความหวังว่าการตัดสินใจครั้งใหม่จะช่วยผู้ขายไม้และผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในสปป.ลาวส่งออกผลิตภัณฑ์ของตนได้ง่ายขึ้น ลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะผู้ซื้อชาวจีนยังคงแสดงความสนใจในผลิตภัณฑ์ไม้และเฟอร์นิเจอร์ แต่ขนาดของสินค้าส่งออกที่กำหนดโดยรัฐบาลไม่ตรงกับความต้องการ ปัญหานี้กลายเป็น ปัญหาใหญ่ เพื่อแก้ปัญหานี้สมาคมเฟอร์นิเจอร์สปป.ลาวได้ขอให้รัฐบาลปรับปรุงกฎและข้อบังคับ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-ministry-allows-more-wood-products-export-101523

กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรปร่วมมือกับกัมพูชาปลดล็อกการท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวและสำนักงานพัฒนาแห่งฝรั่งเศส (AFD) ร่วมมือกันจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว 3 จังหวัดในกัมพูชา ได้แก่เมือง กำปอต ,พระตะบอง และกระแจะ โดยพยายามพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งในระหว่างการประชุม AFD ได้รับคำแนะนำจากกระทรวงมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการซึ่งจะจัดทำโดยหน่วยงานของฝรั่งเศส โดยทั้ง 3 เมืองข้างต้นมีแหล่ง ท่องเที่ยวที่ดีคือแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่ยังด้อยพัฒนาอยู่ ซึ่งทั้ง กำปอต ,พระตะบอง ,และกระแจะ มีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมเพราะเคยเป็นเมืองอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวมาเยือนทั้ง 3 จังหวัดถึง 2.6 ล้านคน และนอกเหนือจากการช่วยเหลือในด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลฝรั่งเศสผ่าน AFD แล้วรัฐบาลฝรั่งเศสยังช่วยกัมพูชาในด้านการพัฒนาภาคการประมง ,การเกษตร ,พลังงาน และด้านสุขภาพอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50630273/ministry-afd-team-up-to-unlock-provinces-tourism-potential/

องค์กรใหม่เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างญี่ปุ่นและกัมพูชา

องค์กรที่พยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ทางธุรกิจและวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งระหว่างญี่ปุ่นและกัมพูชาเปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีรายงานว่า Mr.Kimura ตัดสินใจจัดตั้ง JCBC หลังจากมีการหารือกับMr.Rachana หลังจากที่เขาไปเยี่ยมกัมพูชาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีองค์กรมิตรภาพในกัมพูชา – ญี่ปุ่นอย่างน้อย 3 องค์กร ได้แก่ สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น – กัมพูชา (JCA) ,สมาคมมิตรภาพโทยามะ – กัมพูชา (TCFA) และสมาคมมิตรภาพมิตรภาพญี่ปุ่น – กัมพูชา (WJCFA) การเปิดตัว JCBC นั้นคาดว่าจะสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งความช่วยเหลือและการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดสำหรับกัมพูชา ซึ่งมีบริษัทญี่ปุ่นกว่า 1,500 บริษัท ดำเนินงานอยู่ในประเทศกัมพูชา และได้มีการช่วยเหลือจากทางญี่ปุ่นไปยังกัมพูชาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมากว่า 720 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50630252/new-organisation-to-boost-japan-cambodia-business-ties/