จีนผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเมียนมา

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักไปยังจีน ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะจีนและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ นำเข้าข้าวคิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออกทั้งหมด มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกไปยัง 58 ประเทศและ 88.606 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวหักไปยัง 28 ประเทศของปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.61 – 14 มิ.ย.62) มีรายรับรวม 512.475 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีผู้นำเข้าหลัก 5 อันดับ ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ แคเมอรูน ไอวอรี่โคสต์ และกานา เมียนมาส่งออกข้าวหักมากกว่า 1.68 ล้านตันไปยัง 88 ประเทศ และส่งออกไปยังประเทศจีนมากกว่า 36% จากสถิติพบว่าปีงบประมาณนี้มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวมากกว่า 1.35 ล้านตันและข้าวหักไป 54 ประเทศ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 16.6 ล้านเอเคอร์ที่เก็บเกี่ยวได้ในปี 60 – 61 จากพื้นที่นาข้าวมากกว่า 17.6 ล้านไร่

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/china-and-regional-countries-top-rice-and-broken-rice-buyers-list

ครึ่งปีหลัง 2562 ภาคเกษตรเวียดนามขยายตัว

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมในครึ่งปีแรกของปีนี้ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่มีศักยภาพเป็นแรงขับเคลื่อนในการส่งออก ได้แก่ อาหารทะเล สินค้าที่ทำมาจากไม้ และการประมง ซึ่งอุตสาหกรรมประมงและป่าไม้ มีส่วนสำคัญในการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หากจำแนกรายสินค้าส่งออกสำคัญของการประมง พบว่า กุ้งมีส่วนสำคัญของการส่งออกขยายตัวในครึ่งปีแรกของปีนี้ ส่วนอุตสาหกรรมป่าไม้จะเน้นการผลิตที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ตามความต้องการไม้แปรรูป และการส่งออก ในขณะเดียวกัน การลงนามการค้าเสรี (Vietnam-EU) จะทำให้สร้างโอกาสของธุรกิจเวียดนามในการค้าขายกับกลุ่มประเทศยุโรปอย่างมาก ดังนั้น ทางหน่วยงารรัฐฯ ต้องดำเนินการทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้คุณภาพของสินค้า และราคาที่เหมาะสม เป็นต้น ที่มา:https://vietnamnews.vn/economy/522345/agriculture-sector-will-boost-seafood-forestry-production-in-h2.html#3L4cCpMfxoeJ9cJJ.97

เวียดนามมาแรง ส่งออกปีนี้จ่อแซงไทย

เวียดนามเสือติดปีก เบิ้ลเครื่องส่งออกจ่อแซงไทยปีแรก หลังทุนนอกทะลักหวังใช้แต้มต่อ 2 เอฟทีเอใหม่ “EVFTA-CPTPP” พ่วงจีนหนีสงครามการค้า เพราะที่ผ่านมามีการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (FDI) และการเป็นฐานการผลิตเพิ่มการส่งออกและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (จีดีพี) ผ่านความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ ปัจจุบันมีเอฟทีเอกับประเทศคู่ค้าที่มีผลบังคับใช้แล้ว 11 ฉบับ และกำลังจะมีผลบังคับใช้อีก 2 ฉบับ ได้แก่ เอฟทีเอสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (CPTPP) ในปีนี้มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปทั่วโลกมีโอกาสจะแซงหน้าไทยเป็นปีแรก สัญญาณจากในปี 2561 รวมถึงช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกเวียดนามขยับเข้ามาใกล้ไทยมาก สิ่งที่ไทยต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้เสียเปรียบ ต้องเร่งดึงการลงทุนในอีอีซีในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ที่จะช่วยผลักดันสู่ยุค 4.0 และการเจรจาทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป (อียู)

ที่มา: http://www.thansettakij.com/content/404668

ณ WTO นายกรัฐมนตรี “ฮุนเซน” สนใจด้านการสนับสนุน

เมื่อวานนี้นายกรัฐมนตรีฮุนเซนเข้าประชุมที่องค์การการค้าโลกในกรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มประเทศสมาชิกและหุ้นส่วนด้านการพัฒนาสนับสนุนเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LCDs) โดยกัมพูชาเป็นสมาชิกตั้งแต่ช่วงปี 2004 ในกลุ่มประเทศนี้เช่นกัน ซึ่งกัมพูชาประสบความสำเร็จในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละ 7.7% และผ่านจากประเทศที่มีรายได้ต่ำไปสู่ประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางในปี 2015 ซึ่งมีการลดลงของอัตราความยากจนจาก 53.2% ในปี 2004 เป็นต่ำกว่า 10% ในปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งของความสำเร็จมาจากความหลากหลายของตลาดการผลิตและการส่งออกภายในประเทศ มูลค่าการส่งงออกขยายตัวจาก 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 13 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 โดยเริ่มขยายการผลิตไปในหลายอุตสาหกรรมและหลากหลายประเทศมากขึ้น รวมถึงได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มประเทศสมาชิก และขอให้ WTO ช่วยสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50620482/at-wto-hun-sen-appeals-for-support/

ผู้ตรวจฯ 5 ชาติผนึกตั้งองค์กร

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า จากการที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไทยได้เป็น เจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Ombudsman Dialogue เมื่อวันที่ 2-3 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีคณะผู้แทนจาก 5 องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เข้าร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมมีฉันทามติดำเนินการจัดตั้งเวทีผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อว่า “South East Asian Ombudsman Forum” (SEAOF) โดยการจัดตั้ง SEAOF เป็นการแสดงถึงจุดยืนขององค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมิได้มุ่งให้ความเป็นธรรมหรือดูแลเฉพาะประชาชนทุกคนที่พำนักในประเทศตนเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชาชนของตนที่พำนักในประเทศสมาชิกอื่นด้วย เป็นการดูแลซึ่งกันและกัน โดยปัจจุบันองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน

ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 6 ก.ค. 2562

HSBC คาดว่าในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อเวียดนามอยู่ในระดับร้อยละ 2.7

จากรายงานของธนาคาร HSBC คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้อยู่ในระดับร้อยละ 2.7 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนที่ผ่านมาลดลงมาอยู่ในระดับร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY) แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามขยายตัวช้าที่สุดในรอบกว่า 3 ปี โดยหากจำแนกหมวดหมู่ได้ ดังนี้ ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ส่วนต้นทุนอาหารยังทรงตัวอยู่ในระดับร้อยละ 0.1 และราคาด้านการรักษาพยาบาลไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เป็นต้น โดยรวมแล้ว อัตราเงินเฟ้อเวียดนามยังมีแนวโน้มลดลง ตามอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ถึงแม้ว่าราคาอาหารทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และต้นทุนค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ที่ตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าร้อยละ 4

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522233/viet-nams-inflation-to-moderate-to-27-in-2019-hsbc.html#dHjIHemzoduK6sP3.97

จีนมีแผนลงทุนเพาะพ่อแม่พันธุ์วัวเพื่อส่งออก

คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมาร์ (MIC) ได้อนุญาตให้ China’s Kangrui Agriculture & Livestock Development Company ของจีนลงทุนในการเลี้ยงโค ด้วยเงินลงทุน 37 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยฟาร์มเพาะพันธุ์จะอยู่ในเมืองมะไลง์ เขตมัณฑะเลย์ Kangrui ถือหุ้น 90% โดย Shanghai Penghe และ10%เป็นของDehong Penghe Agriculture Development ซึ่งเป็นบริษัทจีนแห่งแรกที่เข้ามาลงทุนเลี้ยงโคในเมียนมา ตั้งแต่ ต.ค. 60 เป็นต้นมากระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้เพาะพันธุ์เพื่อการส่งออกเพื่อป้องกันการลักลอบส่งออกอย่างผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาการส่งออกส่วนใหญ่จะผ่านชายแดนมูที่เชื่อมถึงไทย ตั้งแต่ ธ.ค.60 – เม.ย.62 มีการส่งออกมากกว่า 500,000 ตัว ขณะที่กลุ่ม CP ของไทยลงทุนเป็นมูลค่ามากกว่า 78 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ในฟาร์มไก่และฟาร์มหมูในเมืองย่างกุ้ง โรงงานอาหารสัตว์ในมัณฑะเลย์ คาดว่าจนถึงตอนนี้มีการลงทุนจากต่างชาติในภาคปศุสัตว์และประมงเพื่อขยายธุรกิจในเมียนมาป็นจำนวนเงินรวม 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/chinese-cattle-breeder-invests-myanmar-plans-export.html

รถไฟของจีน – สปป.ลาวสร้างโอกาสในการทำงาน

รถไฟจีน – สปป.ลาวจะสร้างงานในท้องถิ่นหลายพันตำแหน่งเมื่อโครงการเริ่มเปิดให้บริการในปี 2564 เจ้าหน้าที่รัฐบาลสปป.ลาวกล่าว ดังนั้นรัฐบาลสปป.ลาวกำลังวางแผนที่จะสร้างวิทยาลัยเทคนิคอาชีวศึกษารถไฟสปป.ลาว ด้วยความช่วยเหลือ จากจีนในการฝึกอบรมและจัดหาบุคลากรรถไฟมืออาชีพ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาของฮ่องกงบอกกับสื่อว่าวิทยาลัยอยู่ในขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งการก่อสร้างโครงการจะเริ่มขึ้นในปลายปีนี้ โดยการก่อสร้างจะใช้เวลา2ปี กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาของสปป.ลาวได้ส่งอาจารย์กว่า 30 คนมาฝึกอบรมที่ประเทศจีนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวิทยาลัยเทคนิคอาชีวศึกษารถไฟแห่งสปป.ลาว โดย 1 กิโลเมตรของทางรถไฟจะต้องมีคน 15 คน รวมถึงวิศวกรและช่างเทคนิคสำหรับบริการภายในและคอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคนิคอาชีวะจะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานที่มีทักษะและช่วยให้มั่นใจว่าคนในท้องถิ่นสามารถทำงานในโครงการรถไฟที่จะเชื่อมโยงเมืองหลวงสปป.ลาวกับชายแดน สปป.ลาว-จีน

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-07/04/c_138198778.htm