เมียนมาอนุญาตต่างชาติลงทุนกว่า 300 ล้านเหรียญฯ ในโครงการก่อสร้างพื้นฐาน

เร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) เปิดเผยว่าคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) อนุญาตให้โครงการลงทุนจากต่างประเทศในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 290.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนจากสิงคโปร์ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการท่าเรือและตู้คอนเทนเนอร์ บนพื้นฐานการสร้างปฏิบัติการการโอนถ่าย (BOT) คาดว่าจะมีจ้างงาน 1,176 สำหรับคนในท้องถิ่นนั้น ครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2561-2562 มีการลงทุนจากต่างประเทศ 1.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 139 โครงการ พบว่าภาคการขนส่งและการสื่อสารมีการลงทุนกว่า 680 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสิงคโปร์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยเงินลงทุนกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2019-04/27/c_138015205.htm

เวียดนามส่งเสริมผลิตภัณฑ์สู่ตลาดแอฟริกาใต้ผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต

จากรายงานของกรมตลาดแห่งเอเชีย-แอฟริกา กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าทางหน่วยงานรัฐบาลเวียดนามมีการส่งคณะผู้แทนไปยังแอฟริกาใต้ในวันที่ 8-16 พฤษภาคม เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปสู่ร้านค้าท้องถิ่น โดยผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็นหลายประเภทสินค้า ได้แก่ ข้าว กาแฟ เครื่องดื่ม ของใช้ในบ้าน เครื่องแต่งกาย เป็นต้น นอกจากนี้ จากสถิติการค้าระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าแอฟริกาใต้เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยในปี 2561 เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังแอฟริกาใต้กว่า 724 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือและส่วนประกอบ เครื่องจักร เครื่องแต่งกาย เป็นต้น ในขณะเดียวกัน เวียดนามมีมูลค่าการนำเข้าจากแอฟริกาใต้ 386 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ วัสดุพลาสติก เหล็ก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์เคมี เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/519103/vietnamese-firms-to-introduce-products-at-south-african-supermarkets.html#aDTCRiWYBodvhFJF.97

การปฏิรูปการธนาคาร การกระตุ้นการลงทุน มีส่วนผลักดันการเติบโตมากขึ้น

จากรายงานของธนาคารโลก (World bank) จีดีพีของเมียนมาคาดว่าจะเพิ่มเป็น 6.5% ในปี 2562-2563 โดยได้รับแรงส่งจากการลงทุนภาครัฐและการเลือกตั้งในปี 2563 หลังจากนั้นจะขยายตัว 6.6% แต่ในปีนี้คาดว่าจะเติบโต 6.2% จาก 6.8% ในปี 2018 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ต้นทุนสูงขึ้น การนำเข้าสินค้าทุนวและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง ล่าสุดเมียนมาได้กระตุ้นนักลงทุนต่างชาติ โดยอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศขยายและปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจท้องถิ่นและประกอบธุรกิจประกันภัยได้ ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะโต 6.4% ซึ่งต่ำกว่า 6.8% ในปี 2561 และมองว่าศักยภาพอยู่ในระดับต่ำเพราะการก่อสร้างที่ลดลงและปัญหาสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่นอกจากนี้ยังพบความเสี่ยงจากการถอนสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้ารายสำคัญ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/banking-reforms-higher-investments-will-drive-better-growth-world-bank.html

ภายในห้าเดือนราคาเชื้อเพลิงเมียนมาจาก 17% เป็น 29%

ราคาเชื้อเพลิงในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 140 จ้าด เป็น 205 จ้าด ต่อลิตรในช่วงห้าเดือนที่ผ่านมา ผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งถึง 66 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เช่น ราคาสูงสุดคือ 995 จ้าดต่อลิตสำหรับน้ำมันดีเซล 1,005 จ้าดต่อลิตรสำหรับดีเซลพรีเมียม ฯลฯ หลังจากราคาสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2561 พบว่าราคาน้ำมันสำหรับดีเซลพรีเมียมเพียง 850 จ้าดต่อลิตร และน้ำมันดีเซลราคาอยู่ที่ 855 จ้าดต่อลิตร ถึงแม้ว่าน้ำมันราคาดอลลาร์เมื่อเทียบกับจ๊าดของเมียนมาลดลงในช่วงมกราคม 2019 แต่ราคาน้ำมันทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นราคาน้ำมันจึงเพิ่มจาก 25 จ้าด เป็น 60 จ้าดต่อลิตร เดือนกุมภาพันธ์ราคา 40 ต่อลิตร และในเดือนมีนาคมจาก 55 จ้าดเป็น 80 จ้าดต่อลิตร

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/local-fuel-prices-increase-by-17-to-29-in-nearly-five-months

ธุรกิจสามแห่งในสปป.ลาว ได้รับการยอมรับในโครงการเร่งรัดการเริ่มต้นการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำโขง (MIST)

MIST เป็นโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวในภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งโครงการริเริ่มธุรกิจแม่น้ำโขง (MBI) และสำนักงานประสานงานการท่องเที่ยวแม่น้ำโขง (MTCO) ได้ประกาศว่าการเริ่มต้นการท่องเที่ยวเชิงนวัตกรรมสามธุรกิจจากสปป.ลาวได้รับการยอมรับสำหรับโครงการเริ่มต้นการเริ่มต้นการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำโขง

ที่มา : https://laotiantimes.com/2017/04/24/three-lao-startups-accepted-mekong-innovative-startup-tourism-mist-startup-accelerator-program/

ธนาคารสปป.ลาว จับมือกันเพื่อเพิ่มระบบการชำระเงิน

ธนาคารใหญ่ 7 แห่งในสปป.ลาวได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 22 เมษายนเพื่อจัดตั้งบริษัท the Lao National Payment Network (LAPNet) เพื่อการชำระเงินที่รวดเร็วเชื่อถือได้และสะดวกสบายมากขึ้น โดย LAPNet ถูกตั้งค่าให้ใช้ระบบประมวลผลสินเชื่อ ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งสปป.ลาว ดังนั้นลูกค้าสามารถใช้บัตรเครดิตและเงินฝากในการทำธุรกรรมผ่านระบบ ATM และ CDM รวมถึงการตรวจสอบยอดเงินในบัญชีถอนเงินสดหรือโอนเงิน ในระยะยาวบริษัทมีเป้าหมายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินสำหรับธุรกรรมระหว่างธนาคารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น QR Code และ Internet-Mobile Bankingจากข้อมูลของ BOL พบว่าการใช้เงินสดใน ท้องถิ่นประสบปัญหาในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เพิ่มขึ้น การใช้เงินสดถือเป็นสาเหตุของปัญหาสังคม เช่นการโจรกรรมและการทุจริต การจัดตั้ง LAPNet คาดว่าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/lao-banks-join-hands-to-boost-payment-system/151566.vnp