ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน

ในปัจจุบัน การทำธุรกิจในเวียดนามผ่านทาง “E-Commerce” มีศักยภาพสูงและเป็นทางเลือกหนึ่งในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในเวียดนาม โดยเฉพาะทางภาคใต้ เนื่องจากคนเวียดนามชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูง ซึ่งในช่วงปี 2559-2563 ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563 โดยจำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ใน 4 เมืองใหญ่ในเวียดนามเพิ่มขึ้น 8.8% จาก 5.4% ในปี 2560 ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจมาลงทุนด้าน E–Logistics ทั้งนี้ 5 อันดับสินค้าและบริการออนไลน์ส่วนใหญ่ที่ขายดีในเวียดนาม ได้แก่ เครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ความงาม รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัวเรือน การจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน และอุปกรณ์สำนักงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกชำระเงินปลายทางเนื่องจากการชำระเงินด้วยเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่แพร่หลาย สะดวกและเชื่อถือได้มากที่สุด ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วิธีการและขั้นตอนการชำระเงินและรับสินค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยกับเวียดนาม มีบริบทแตกต่างกัน นับว่าเป็นประเทศที่กระแสด้านอีคอมเมิร์ซแรงมากอีกประเทศ ด้านผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซของไทยควรศึกษาโอกาส เพื่อดูลู่ทางทำการค้าในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17759

เชื่อมั่นผู้บริโภคก.พ.แตะ 82.0 ฟื้นต่อเนื่องเดือนที่ 2

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้า เผย ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.พ.อยู่ที่ 82.0ฟื้นต่อเนื่องเดือนที่ 2 เหตุนักท่องเที่ยวจีนช่วยหนุนและเม็ดเงินสะพัดเลือกตั้ง 3-5 หมื่นล้าน จับตา จีดีพี โตต่ำกว่า 4% ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนก.พ.62 เท่ากับ 82.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 2 เป็นผลจากปัจจัยบวก คือ มีการประกาศวันเลือกตั้ง นักท่องเที่ยวจีนฟื้นกลับมา และสัญญาณการเจรจาระหว่างสหรัฐและจีนมีทิศทางที่ดี แต่ยังกังวลราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เทรดวอร์ยังยืดเยื้อ และเบร็กซิตไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า การเลือกตั้งในเดือนมี.ค.จะทำให้มีเม็ดเงินสะพัด 3-5 หมื่นล้านบาท แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามากระทบ เช่น ส่งออกเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์จากสงครามการค้าสหรัฐและจีนที่มีการเก็บภาษีสินค้าไปก่อนหน้านี้ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 62 อาจโตต่ำกว่า 4%

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/582983

12/03/62

บ้านเรือนประมาณ 130,000 หลัง ถูกทิ้งร้างในมัณฑะเลย์

จากการสำรวจคณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2561 พบว่ามีบ้านประมาณ 130,000 หลังในพื้นที่เพราะไม่เสียภาษีหรือไม่ต้องจ่ายภาษี จากข้อมูลของกรมสรรพากรของ คาดว่าจะเก็บภาษีทรัพย์สินได้ 1.8 พันล้านจ้าด ในหกเมืองของมัณฑะเลย์ของปีงบประมาณ 2561-2562 และจะเพิ่มเป็นสองเท่าในปีงบประมาณหน้า หลังจากเสร็จสิ้นการสำรวจ 98% พบบ้านราว 260,000 หลัง ซึ่งจ่ายภาษีอสังหาริมทรัพย์ไปแล้ว การสำรวจได้ดำเนินการในหกเมืองในมัณฑะเลย์เพื่อดูข้อเท็จจริงหรือข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงจำนวนบ้านที่ต้องชำระภาษีหรือธุรกิจขนาดเล็กที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

ที่มา : https://www.mmbiztoday.com/articles/around-130000-houses-left-untaxed-mandalay

12/03/62