เยอรมนีหนุนความพยายามของสปป.ลาวในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เยอรมนีสนับสนุนความพยายามของสปป.ลาว ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เยอรมนีตกลงที่จะมอบเงินกว่า 487 พันล้านกีบ (50 ล้านยูโร) เพื่อกระชับความร่วมมือกับสปป.ลาว ในขณะที่กำลังดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่ง 20 ล้านยูโร เป็นโครงการความร่วมมือทางการเงินในการพัฒนาพื้นที่ชนบทและการจัดการที่ดินอีก 20 ล้านยูโร จะถูกจัดสรรให้กับโครงการความร่วมมือทางวิชาการ และมีการมอบเงินพิเศษจำนวน 10 ล้านยูโร เพื่อการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในแขวงอัตตะปือ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Germany_backs_51.php

1/03/62

กระทรวงพาณิชย์ประณามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐคว่ำบาตรการค้า

ผู้อำนวยการบริหารพันธมิตรแรงงานและสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า GSP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจกัมพูชาพร้อมกับโครงการ Everything But Arms (EBA) ของสหภาพยุโรปซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ดังนั้น เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์อาวุโสเรียกร้องให้สหรัฐฯพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของการคว่ำบาตรทางการค้าที่มีต่อกัมพูชาต่อระเบียนสิทธิมนุษยชน

ที่มา : https://www.voacambodia.com/a/commerce-ministry-slams-us-congressman-over-trade-sanctions-bill/4807957.html27/02/62

1/03/2562

เวียดนามกัมพูชาจริงจังในการสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่ง

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ได้เดินทางเยือนรัฐอย่างเป็นทางการไปยังประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 25-26 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีกับกัมพูชา ในการสานสัมพันธ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจริงจังของฮานอยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนมเปญเพราะมันเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลของเวียดนามด้วยการเป็นเจ้าภาพการประชุมสหรัฐอเมริกา – เกาหลีเหนือครั้งที่สอง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50582853/vietnam-cambodia-more-serious-in-building-strong-bilateral-ties/

1/03/62

ออสเตรเลียต้องการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าผ่านองุ่นบริโภคสด

เวียดนามถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับองุ่นบริโภคสด (Table grapes)ของออสเตรเลีย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรชาวเวียดนามชนชั้นกลาง การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ รวมถึงกำลังซื้อของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น โดยประเทศเวียดนามนับเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อยู่ที่อันดับ 7 ของมูลค่าการส่งออกของออสเตรเลียไปยังทั่วโลก นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกขององุ่นบริโภคสดของออสเตเลียไปยังเวียดนามถึง 7,000 ตัน ในปี 2562 ซึ่งปริมาณนี้สูงกว่าในปี 2559 เกือบ 5 เท่า และทางการออสเตรเลียหวังว่าจากความสัมพันธ์ทางการค้านี้ จะทำให้ออสเตรเลียสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังเวียดนามที่หลากหลายมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/506280/australia-to-boost-vn-trade-ties-through-table-grapes.html#ABcW5BrdGHPUBkoU.97

1/3/2562

UN และ ญี่ปุ่นขยายความร่วมมือยะไข่ให้กับคะฉิ่นรัฐฉาน

ญี่ปุ่นและหน่วยงานสหประชาชาติลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือและพัฒนาด้านมนุษยธรรมสำหรับรัฐคะฉิ่นและรัฐยะไข่ของเมียนมา เงินจำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2561 ถูกใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชนราวครึ่งล้านคนในรัฐยะไข่ ข้อตกลงดังกล่าวจะเอื้อต่อการกลับมาของผู้ลี้ภัยชาวยะไข่ทางตอนเหนือและสนับสนุนความเทียมของผู้หญิง โดยเริ่มเดือนเมษายน 2562 ใช้ระยะเวลา 1 ปี UNHCR กล่าวว่าภายใต้การระดมทุนครั้งใหม่ เงินจำนวน 5.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการพลัดถิ่นและสาเหตุในยะไข่ ทั้งนี้ญี่ปุ่นจะใช้เงิน 2.2 พันล้านเยน (19.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในแก้วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมในยะไข่คะฉิ่นและฉานตอนเหนือ ด้านมนุษยธรรมและความช่วยเหลือด้านการพัฒนาในยะไข่ 1.5 พันล้านเยน นอกจากนี้งบ 540 ล้านเยน ใช้ในการสร้างบ้านและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้ลี้ภัย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/un-japan-extend-rakhine-cooperation-kachin-shan.html

27/02/62

เมียนมามีแผนเพิ่มโควตาส่งออกข้าวไปจีน

เมียนมาและจีนเตรียมหารือถึงการเพิ่มโควตาข้าวที่สามารถส่งออกไปจีน จากในปี 2559 ที่ 100,000 ตันและพยายามเพิ่มให้ได้โควตา 300,000 ตัน ภายในปีนี้ ในการส่งออกข้าวไปยังจีนผ่านการค้าชายแดน แต่ไม่เป็นทางการและรัฐบาลจีนเรียกเก็บภาษีนำเข้าข้าวจากพม่าอย่างเข้มงวด ในอนาคตโครงการ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) เมียนมาเห็นว่าจีนควรลดภาษีนำเข้าหากต้องการทำให้การค้าเป็นทางการและสร้างความเข้มแข็งให้กับการค้าระหว่างประเทศ เมียนมาส่งออกข้าว 1.7 ล้านตัน มูลค่า 578 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนเมษายนถึงธันวาคมปีที่แล้ว ทางเรือ 52% ในขณะที่มีการค้าชายแดนไปยังจีนได้ลดลงหนึ่งในสามจาก 2.5 ล้านตัน มูลค่า 780 ล้านดอลลาร์สหรัในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สาเหตุคือความต้องการบริโภคลดลง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-seeks-higher-export-quotas-china-rice-year.html

27/02/62